กินนร ในป่าหิมพานต์ เรื่องเล่าขับขาน ตำนานลึกลับ น่าค้นหา
กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรี-กินนรด้วยเช่นกัน
ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด ต่อมานางอิลา คือ ท้าวอิลราชถูกสาป และบริวารที่มาเล่นน้ำอยู่ใกล้อาศรมของพระพุธ เมื่อพระพุธเห็นนางเข้าก็ชอบ รับนางเป็นชายา และเสกให้บริวารของนางกลายเป็น กินรี โดยบอกว่าจะหาผลาหารให้กิน และจะหากิมบุรุษให้เป็นสามี แสดงว่า กิมบุรุษ หรือ กินนร และกินรีมีต้นกำเนิดมาจากการเสกของพระพุธ
ในหนังสือของ พี.ธอมัส กล่าวว่าที่เชิงเขาเมรุเป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ กินร และสิทธิ์ และว่าคนธรรพ์กับกินนรเป็นเชื้อสายเดียวกัน ส่วนในภัลลาติชาดก กล่าวว่า กินนรมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และธรรมดากินนรนั้นย่อมกลัวน้ำเป็นที่สุด ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับอุปนิสัยกินนรในเรื่องพระสุธน เพราะนางมโนห์ราชอบไปเล่นน้ำที่สระกลางป่าหิมพานต์ จึงถูกพรานบุญดักจับตัวได้
และในกัลลาติชาดก ยังได้แบ่งพวกกินนรออกเป็น 7 ประเภท คือ
- เทวกินนร เป็นพวกเทพกินนร ครึ่งเทวดาครึ่งนก เป็นประเภทที่คนไทยคุ้นเคย
- จันทกินนรา จากนิทานชาดก เรื่องจันทกินรี มีรูปกายเป็นคน แต่มีปีก
- ทุมกินนรา น่าจะเป็นพวกอาสัยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้
- ทัณฑมาณกินนรา ชนิดนี้น่าจะมีอะไรคล้ายๆ นกทัณฑิมา ซึ่งเป็นนกปากยาวดุจไม้เท้าอยู่บนใบบัว
- โกนตกินนรา - ยังไม่ทราบว่ามีลักษณะใด
- สกุณกินนรา - เป็นกินนรที่มีร่างท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นนก แต่ไม่เป็นเทวดาเหมือนประเภทที่ 1
- กัณณปาวรุณกินนรา - ยังไม่ทราบว่ามีลักษณะใด
ในงานจิตรกรรมไทยนิยมวาดภาพกินร และกินรีไว้ในที่ต่างๆ ในฉากของป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังมีการปั้นรูปกินรและกินรีประดับไว้ในสถานที่สำคัญด้วย
บัดนี้ กินนร ได้ออกมาเล่นน้ำอีกครั้ง และมีผู้บันทึกภาพไว้ได้ด้วย
เรื่องเล่าขับขาน ตำนานลึกลับ น่าค้นหา....กินนรในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาส
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B5
















