หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หลุมดำขนาดยักษ์ พ่นโมเลกุลแก๊สออกจากกาแล็กซีใกล้ความเร็วแสง

Share แชร์โพสท์โดย mata

 

หลุมดำขนาดยักษ์ พ่นโมเลกุลแก๊สออกจากกาแล็กซีใกล้ความเร็วแสง

Seyfert galaxy IC 5063 has a giant black hole, spewing gas at over 625,000 miles per hour. For the first time, astronomers know what is driving this massive acceleration. 
(Photo : NASA/JPL-Caltech)

นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (University of Sheffield) เปิดเผยว่า สามารถหาคำตอบที่เป็นปริศนามายาวนานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของกาแล็กซี ทำให้เข้าใจสภาพบั้นปลายกาแล็กซีทางช้างเผือกได้ นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ Very Large Telescope ของหอสังเกตการณ์ท้องฟ้าซีกใต้ยุโรป (European Southern Observatory: ESO)สังเกตการณ์โมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนที่อยู่รอบๆ ใจกลางกาแล็กซี่ IC 5063 (Seyfert galaxy) 

หลุมดำขนาดยักษ์ พ่นโมเลกุลแก๊สออกจากกาแล็กซีใกล้ความเร็วแสง

ภาพแก๊สที่ถูกพ่นออกจากบริเวณใจกลางกาแล็กซีโดยลำอนุภาคพลังงานสูง (Jet) ที่ปล่อยจากหลุ่มดำขนาดยักษ์ในกาแล็กซี IC 5063 

          ซึ่งเป็นนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (Active galactic nucleus) พบว่าโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนที่อยู่รอบๆ ใจกลางกาแล็กซีนี้ กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วอย่างน่าอัศจรรย์คือประมาณ 1,000,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วระดับนี้ทำให้โมเลกุลแก๊สหลุดออกจากกาแล็กซีทำให้ดูคล้ายกับว่ากาแล็กซีนี้กำลังพ่นแก๊สออกมา การค้นพบนี้มีความสัมพันธโดยตรงกับวิวัฒนาการของกาแล็กซีเพราะแก๊สที่ปล่อยออกมานี้เป็นแก๊สเย็น (Cold gas) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการก่อกำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ เมื่อแก๊สเหล่านี้หลุดออกจากกาแล็กซี ส่งผลให้กาแล็กซีมีการสูญเสียแก๊สไฮโดรเจนเย็นจำนวนมาก ทำให้อัตราก่อกำเนิดดาวดวงใหม่ในกาแล็กซีมีจำนวนจำกัด  ผลการวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature ฉบับวันที่ 6 กรกฏาคม 2557หลุมดำขนาดยักษ์ พ่นโมเลกุลแก๊สออกจากกาแล็กซีใกล้ความเร็วแสง

         ศาสตราจารย์ Clive Tadhunter หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า การศึกษาในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ค้นพบหลักฐานโดยตรงว่าแก๊สเย็นที่ถูกพ่นออกมานั้นถูกเร่งโดยอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสงจากลำอนุภาคพลังงานสูง (Jet) ที่ปล่อยจากหลุ่มดำขนาดยักษ์  สิ่งที่น่าฉงนคือ แก๊สที่ถูกขับออกมานี้ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปโมเลกุลซึ่งแตกหักได้ง่ายที่อุณหภูมิไม่สูงมาก แต่นี่ผิดปกติที่โมเลกุลแก๊สเหล่านี้ยังคงรักษาความเป็นโมเลกุลได้ แม้จะอยู่บริเวณใกล้กับใจกลางกาแล็กซีซึ่งเป็นบริเวณที่ร้อนและถูกพลาสมาที่วิ่งด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสงชนก็ตาม

         การค้นพบนี้ยังทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใจช่วงสุดท้ายของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกที่อาจชนกับกาแล็กซีเพื่อนบ้านอย่างกาแล็กซีแอนโดรเมดาอีกประมาณ 5,000 ล้านปีข้างหน้าได้ เมื่อมีการชนกันแล้ว แก๊สส่วนใหญ่จะตกไปยังบริเวณใจกลางของระบบ ลำอนุภาคพลังงานสูง (Jet) ที่ปล่อยจากหลุ่มดำขนาดยักษที่อยู่ใจกลางของระบบนั้นจะขับแก๊สออกจากระบบคล้ายกับที่เกิดขึ้นในกาแล็กซี IC 5063 แก๊สที่ถูกขับออกจากระบบนี้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการกำเนิดดาวดวงใหม่ๆ ในกาแล็กซี ส่งผลให้ระบบใหม่นี้ก่อกำเนิดกาแล็กซีใหม่ที่แปลกไปจากกาแล็กซีเดิม

เรียบเรียงโดย  ตอริก เฮ็งปิยา

เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
72 VOTES (4/5 จาก 18 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้ารวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้“กางเกงท้องถิ่นไทย” คุณประโยชน์ด้าน Sustainable Fashion
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อ่านนิยายไร้สาระจริงหรือ"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขัง9 โรงเรียนหญิงล้วนที่น่าสนใจในประเทศไทย
ตั้งกระทู้ใหม่