หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หลุมดำขนาดยักษ์ พ่นโมเลกุลแก๊สออกจากกาแล็กซีใกล้ความเร็วแสง

โพสท์โดย mata

 

Seyfert galaxy IC 5063 has a giant black hole, spewing gas at over 625,000 miles per hour. For the first time, astronomers know what is driving this massive acceleration. 
(Photo : NASA/JPL-Caltech)

นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (University of Sheffield) เปิดเผยว่า สามารถหาคำตอบที่เป็นปริศนามายาวนานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของกาแล็กซี ทำให้เข้าใจสภาพบั้นปลายกาแล็กซีทางช้างเผือกได้ นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ Very Large Telescope ของหอสังเกตการณ์ท้องฟ้าซีกใต้ยุโรป (European Southern Observatory: ESO)สังเกตการณ์โมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนที่อยู่รอบๆ ใจกลางกาแล็กซี่ IC 5063 (Seyfert galaxy) 

ภาพแก๊สที่ถูกพ่นออกจากบริเวณใจกลางกาแล็กซีโดยลำอนุภาคพลังงานสูง (Jet) ที่ปล่อยจากหลุ่มดำขนาดยักษ์ในกาแล็กซี IC 5063 

          ซึ่งเป็นนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (Active galactic nucleus) พบว่าโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนที่อยู่รอบๆ ใจกลางกาแล็กซีนี้ กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วอย่างน่าอัศจรรย์คือประมาณ 1,000,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วระดับนี้ทำให้โมเลกุลแก๊สหลุดออกจากกาแล็กซีทำให้ดูคล้ายกับว่ากาแล็กซีนี้กำลังพ่นแก๊สออกมา การค้นพบนี้มีความสัมพันธโดยตรงกับวิวัฒนาการของกาแล็กซีเพราะแก๊สที่ปล่อยออกมานี้เป็นแก๊สเย็น (Cold gas) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการก่อกำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ เมื่อแก๊สเหล่านี้หลุดออกจากกาแล็กซี ส่งผลให้กาแล็กซีมีการสูญเสียแก๊สไฮโดรเจนเย็นจำนวนมาก ทำให้อัตราก่อกำเนิดดาวดวงใหม่ในกาแล็กซีมีจำนวนจำกัด  ผลการวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature ฉบับวันที่ 6 กรกฏาคม 2557

         ศาสตราจารย์ Clive Tadhunter หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า การศึกษาในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ค้นพบหลักฐานโดยตรงว่าแก๊สเย็นที่ถูกพ่นออกมานั้นถูกเร่งโดยอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสงจากลำอนุภาคพลังงานสูง (Jet) ที่ปล่อยจากหลุ่มดำขนาดยักษ์  สิ่งที่น่าฉงนคือ แก๊สที่ถูกขับออกมานี้ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปโมเลกุลซึ่งแตกหักได้ง่ายที่อุณหภูมิไม่สูงมาก แต่นี่ผิดปกติที่โมเลกุลแก๊สเหล่านี้ยังคงรักษาความเป็นโมเลกุลได้ แม้จะอยู่บริเวณใกล้กับใจกลางกาแล็กซีซึ่งเป็นบริเวณที่ร้อนและถูกพลาสมาที่วิ่งด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสงชนก็ตาม

         การค้นพบนี้ยังทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใจช่วงสุดท้ายของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกที่อาจชนกับกาแล็กซีเพื่อนบ้านอย่างกาแล็กซีแอนโดรเมดาอีกประมาณ 5,000 ล้านปีข้างหน้าได้ เมื่อมีการชนกันแล้ว แก๊สส่วนใหญ่จะตกไปยังบริเวณใจกลางของระบบ ลำอนุภาคพลังงานสูง (Jet) ที่ปล่อยจากหลุ่มดำขนาดยักษที่อยู่ใจกลางของระบบนั้นจะขับแก๊สออกจากระบบคล้ายกับที่เกิดขึ้นในกาแล็กซี IC 5063 แก๊สที่ถูกขับออกจากระบบนี้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการกำเนิดดาวดวงใหม่ๆ ในกาแล็กซี ส่งผลให้ระบบใหม่นี้ก่อกำเนิดกาแล็กซีใหม่ที่แปลกไปจากกาแล็กซีเดิม

เรียบเรียงโดย  ตอริก เฮ็งปิยา

เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
72 VOTES (4/5 จาก 18 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
18 บอส 'ดิไอคอน' ถูกดีเอสไอแจ้งข้อหาผิดแชร์ลูกโซ่-กฎหมายขายตรงยอดกฐินวัดดัง 2567 มากกว่าพันล้านอิมาน เคลิฟ นักมวยหญิงชาวแอลจีเรีย ผู้คว้าเหรียญทองโอลิมปิกที่ปารีส ได้รับการยืนยันแล้ว ว่าเป็นเwศชายดราม่าเดือด! ทำแบบนี้เหมาะสมไหมรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่เหมือนจะมีลมหนาวพัดมาบ้างแล้ว ค่อยเหมือนหน้าหนาวขึ้นละเน่อ13 ของว่าง ของกินเล่น พลังงานต่ำ ไม่อ้วน แคลน้อย สำหรับคนลดน้ำหนัก กินแล้วอิ่มนานสลด! นักเรียน ม.4 วิ่งแค่ 200 เมตร วูบล้มดับในคาบพละนัท มีเรีย แจงเหตุ ท้องป่อง ทำหลายคนคิดว่าท้องบุกบ้าน “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดังตี่ลี่” ปิดเงียบชูวิทย์ จับมือ“สันธนะ พูดคุยเคลียร์ใจ คดีหมิ่นประมาทมังคุดคัด 8 ลูก 699 บาท! "พี่เอ ศุภชัย" เจอดราม่า ราคาแรงแซงโค้งผู้บริโภคโวย ‘ฉางอัน’ หั่นราคารถไฟฟ้า DEEPAL S07 เกือบ 3 แสน เพิ่งซื้อได้ 9 วัน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ทนายตั้ม เข้ามากองปราบแล้ว เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ผู้บริโภคโวย ‘ฉางอัน’ หั่นราคารถไฟฟ้า DEEPAL S07 เกือบ 3 แสน เพิ่งซื้อได้ 9 วันอิมาน เคลิฟ นักมวยหญิงชาวแอลจีเรีย ผู้คว้าเหรียญทองโอลิมปิกที่ปารีส ได้รับการยืนยันแล้ว ว่าเป็นเwศชายกัมพูชารับไม่ได้ผ้าขาวม้าไทยจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกต่อUNESCO
ตั้งกระทู้ใหม่