ศิลปะป้องกันตัวของจีนและวัดเส้าหลิน
การพนมมือข้างเดียวของพระวัดเส้าหลิน
การพนมมือ เป็นวิธีแสดงมารยาทในพุทธศาสนา แต่พระวัดเส้าหลินกลับใช้มือข้างเดียว เหตุผลก็คือเพื่อระลึกถึงเสินกวง เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของวัดเส้าหลินพระโพธิธรรมาเถระ (ตั๊กม้อ) ได้พูดกับเสินกวงว่าจะรับเป็นศิษย์ ถ้ามีวันที่หิมะเป็นสีแดง ซึ่งก็คือคำปฏิเสธนั่นเอง แต่ว่าวันหนึ่งที่หิมะตก เสินกวงได้ตัดแขนซ้ายของตัวเอง ทำให้หิมะชุ่มเลือดจนเป็นสีแดง พระโพธิธรรมาเถระรู้สึกประทับใจในความมุ่งมั่นของเสินกวง จึงยอมรับเป็นศิษย์ และแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 หลังจากนั้นพระวัดเส้าหลินจึงพนมมือข้างเดียวเพื่อระลึกถึงเสินกวงที่สูญเสียแขนและยังห่มจีวรสีแดงเพื่อแสดงถึงเลือดที่ไหลรินด้วย
โรงเรียนสอนกังฟูเส้าหลิน
เด็กกว่า 70,000 คน ได้มาเข้าศึกษาต่อที่วัดเส้าหลิน ที่นี่เป็นโรงเรียนประจำเด็กๆได้รับความรู้ทางวิชาการครบถ้วนจนถึงระดับมัธยมปลาย และยังได้เรียนกังฟูเส้าหลินเพื่อช่วยฝึกให้ร่างกายและจิตใจแข็งแกร่ง ถึงค่าเทอมจะแพง แต่ก็ได้รับความนิยมมาก ในโรงเรียนจะเห็นเด็กใส่ชุดพละมากกว่าใส่ชุดนักเรียน
ศิลปะป้องกันตัวต่างๆของจีน
ไทเก็ก
ไทเก๊กหรือวิชามวยไท้เก๊ก เป็นศิลปะป้องกันตัวอันดับ 2 ของจีนต่อจากศิลปะป้องกันตัวเส้าหลิน ปัจจุบันเป็นศิลปะป้องกันตัวที่มีคนฝึกมากที่สุดในโลก ไท้เก๊กเน้นการกำหนดลมหายใจ และการออกท่วงท่าที่ช้าและนุ่มนวล แตกต่างจากศิลปะป้องกันตัวอื่นที่เน้นความว่องไว ไท้เก๊กในปัจจุบันจึงคล้ายการบริหารดูแลสุขภาพ ไท้เก๊กยังช่วยป้องกันและรักษาโรคต่างๆ โรงพยาบาลในจีนถึงกับกำหนดให้มีคอร์สฝึกไท้เก๊กให้กับคนไข้อีกด้วย
หวิงชุน
หวิงชุน เป็นศิลปะป้องกันตัวชนิดแรกที่คิดค้นโดยผู้หญิง เน้นการป้องกันตัวและจู่โจมระยะสั้นที่รวดเร็ว แอร์โฮสเตสของสายการบินของจีนต้องเรียนศิลปะป้องกันตัวนี้ด้วย คนที่นำหวิงชุนไปใช้จนรู้จักไปทั่วโลกมากที่สุดก็คือ บรูซ ลี และมู่เหรินจวง อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกหวิงชุน
ตี้ซู วัฒนธรรมใหม่เพื่อสุขภาพของชาวจีน
ตี้ซู คือการเขียนอักษรจีนลงบนพื้นดินโดยใช้ไม้เท้ายาวประมาณ 1 เมตร ทำเป็นพู่กัน พันสำลีที่ปลายไม้เท้า จุ่มน้ำแล้วเขียนตัวหนังสือลงบนพื้นดิน เหตุผลที่เขียนบนดินก็เพื่อสุขภาพของผู้อ่าน ผู้อ่านจะได้รับ อากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้าไปด้วย ในสวนสาธารณะของจีนตอนเช้า เราจะเห็นผู้คนเราไท้เก๊กและตอนบ่ายจะเห็นผู้คนเขียนตี้ซู
โพสท์โดย: I sea u