ตึกสูง & ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว
เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อำพาน จังหวัดเชียงรายระดับ 6.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราตระหนักว่าภัยธรรมชาติชนิดนี้ไม่ได้เป็นเรื่อง ไกลตัวสำหรับประเทศไทยอีกต่อไป และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือความกังวลเรื่องความปลอดภัยในการอยู่อาศัย โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมหรือตึกสูงๆ ที่มักได้รับความเสียหายรุนแรง ข้อมูลที่รวบรวมและความเห็นจากผู้รู้เหล่านี้อาจพอทำให้เห็นภาพและคลายความ สงสัยได้ระดับหนึ่ง
พื้นที่เสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย
“บริเวณเฝ้าระวัง” หมายถึงพื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลาและสุราษฎร์ธานี
“บริเวณที่ 1” หมายถึงพื้นที่หรือบริเวณที่เป็นที่ดินอ่อนมาก ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร
“บริเวณที่ 2” หมายถึงพื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่น ดินไหว ได้แก่ กาญจนาบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปางและลำพูน
อาคารที่ต้องออกแบบให้รับแรงแผ่นดินไหว
ส่วน ใหญ่เป็นอาคารที่จะสร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อคนหมู่มาก เช่น สถานศึกษา สถานพยาบาล ท่าอากาศยาน โรงไฟฟ้า โรงผลิตและเก็บน้ำประปา อาคารสาธารณะ อาคารที่มีผู้ใช้ตั้งแต่ 5,000 คนขึ้นไป อาคารที่มีความสูงมากกว่า 15 เมตร เขื่อนหรือฝายที่สูงเกิน 10 เมตร รวมทั้งสะพานหรือทางยกระดับที่มีช่วงระหว่างตอม่อเกิน 10 เมตรขึ้นไป
ลักษณะอาคารที่สามารถต้านแผ่นดินไหวได้ดี
ตำแหน่ง เสาต้องสมมาตรในแกนหลักทั้งตามยาวและตามขวางของอาคาร อาคารสูงควรมีกำแพงรับแรง (Shear Wall) หลายชิ้นในตำแหน่งที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอตลอดผังอาคาร เพื่อต้านทานและถ่ายเทแรงที่กระทำกับอาคารสู่ฐานราก ทั้งจากแรงลม แรงจากน้ำหนักบรรทุก หรือแรงจากแผ่นดินไหว ส่วนเสาอาคารต้านทานควรมีขนาดใหญ่พอ แข็งแรงมีปริมาณเหล็กเสริมตามยาวของเสามาก และมีปริมาณเหล็กปลอกในเสาเพียงพอ
อาคารที่เสี่ยงเกิดความเสียหาย
อาคาร ที่มีลักษณะไม่สม่ำเสมอ (lrregularity) ในแปลน เช่น รูปตัว L รูปตัว T อาคารที่มีส่วนที่แข็ง เช่น ปล่องลิฟต์วางเยื้องศูนย์มาก อาคารที่มีเสาเล็กเกินไปประเภทเสาสั้น หรืออาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงมากในระนาบดิ่ง คือระดับความสูงของเสาชั้นล่างสูงมากกว่าเสาชั้นสองขึ้นไปมาก หรือมีจำนวนเสาน้อยกว่าในชั้นสูงขึ้นไป (มักพบทั่วไปในอาคารที่ทำชั้นล่างเป็นพื้นที่จอดรถ หรือทำชั้นล่างให้มีพื้นที่ใช้สอยกว้าง)
คอนโดฯในเมืองไทย รับแรงแผ่นดินไหวได้ 6 ริกเตอร์
อาคาร สูงในประเทศไทยส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้สามารถป้องกันแผ่นดินไหวในระดับ 6 ริกเตอร์ ในขณะที่สถิติการเกิดแผ่นดินไหวล่าสุดที่เกิดขึ้นมีระดับความรุนแรงมากกว่า ทั้งนี้หากไม่อยู่ในบริเวณจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวก็ไม่น่าจะได้รับความเสีย หายมาก
ตึกเตี้ยน่าห่วงกว่าตึกสูง
นายกสมาคม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า โดยทั่วไปอาคารสูง 20-30 ชั้นไม่น่าห่วง เนื่องจากได้มีการออกแบบโดยคำนึงถึงแผ่นดินไหวและแรงลมไว้เรียบร้อย ส่วนอาคารสูงประมาณ 7-10 ชั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการออกแบบสำหรับต้านทานแรงแผ่นดินไหวและแรงลม
“The Nest” บ้านแห่งอนาคต ประหยัดและสร้างพลังงาน
ออก แบบด้วยแนวคิด Passive Green ให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์สูงสุดจากสภาพภูมิอากาศ ณ ทำเลที่ตั้ง บูรณาการร่วมกับระบายอากาศเชิงกล และระบบ Smart Control เพื่อประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูงสุด และยังสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เองจากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นบ้าน Energy Plus หลังแรกในอาเซียน
เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านทั่วไป The Nest สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าถึง 24% (ลดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้จากเครื่องปรับอากาศ 52% และลดพลังงานจากอุปกรณ์ส่องสว่างในบ้าน 22%) สามารถนำน้ำกลับมาใช้ได้ใหม่ รวมทั้งการนำน้ำฝนและน้ำจาก Condensing Unit ของเครื่องปรับอากาศมาใช้ในระบบ ที่สำคัญมีการใช้น้ำน้อยกว่าบ้านทั่วไปถึง 59%
พบบ้านตัวอย่างจริงได้ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)