หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มุมมองชาวต่างชาติที่มีต่อเชึยงใหม่

โพสท์โดย ไอ้คิ้วสวย

มีคำถามมากมายหลายหลากว่าทำไมผู้คนต่างชาติต่างภาษาต่างพากันหลงใหลในเสน่ห์ของเชียงใหม่จนถึงกับต้องย้ายรกรากมาฝังตัวอยู่ยาวนานในเมืองแอ่งกระทะขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่แห่งนี้ ว่ากันว่าเชียงใหม่มีทุกสิ่งครบพอจะตอบสนองชีวิตและความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ทั้งนี้หมายรวมถึงมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ผู้ยังเสพติดความเป็นเมืองและโหยหาธรรมชาติไปในขณะเดียวกัน และอาจกินความรวมไปถึงมนุษย์ผู้ต้องการความสงบเพื่อปลีกวิเวก ก็ยังมองเห็นเมืองนี้เป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต COMPASS ฉบับนี้จะพาไปสัมผัสแง่มุมต่างๆ จากใจชาวต่างชาติผู้หลงรักเชียงใหม่อย่างถอนตัวไม่ขึ้น



หากวัดความรักจากระยะเวลาที่อยู่ที่นี่ เชื่อว่าหลายคนในที่นี้คงไม่เป็นสองรองใคร เริ่มที่คุณลุงไอโสะ (Shinzato Aizo)หลายคนคงยังจำภาพคุณลุงผมสีดอกเลาชาวญี่ปุ่นดีดเครื่องดนตรีโบราณที่ถนนคนเดินได้ดี แต่วันนี้ภาพคุณลุงเปลี่ยนเป็นคุณตาวัย ๗๐ ที่แม้จะต้องไปไหนมาไหนบนรถเข็นแต่ยังคงความน่ารักไว้เหมือนเดิม สิ่งที่อยู่ข้างกายไม่เคยห่างคือสุนัขสองตัวชื่อทาโร่กับป๊อบปี้ (ที่ดูจะหวงแหนเจ้านายเป็นพิเศษ) เพราะทำท่าเหมือนจะคอยเป็นองครักษ์พิทักษ์คุณลุงเสมอ

ไอโสะในวัยหนุ่มฉกรรจ์รอนแรมเดินทางมาหลายประเทศ และพอได้มีโอกาสมาเชียงใหม่ก็ไม่เปลี่ยนใจที่จะเดินทางไปที่ไหนอีก คุณตาไอโสะบอกกับเราว่าเพราะเชียงใหม่มีลักษณะใกล้เคียงกับจังหวัดโอกินาว่าบ้านเกิด ซึ่งเป็นเกาะทางใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น คุณตาเล่าว่า “เบื่อทะเลแล้ว ชอบภูเขามากกว่า แต่เชียงใหม่ก็มีทะเลเล็กๆ นะ อย่างแม่น้ำปิงก็พอแล้ว ผมชอบวัด ชอบพระ ชอบทำบุญ และชอบที่เชียงใหม่มีดอกไม้ ต้นไม้เยอะ”

“ผมอยู่เชียงใหม่มานาน นี่ก็เข้าปีที่ 10 แล้ว หลายคนมักจะถามว่าไม่คิดถึงบ้านที่ญี่ปุ่นเหรอ ผมก็จะหัวเราะและตอบว่า ‘ไม่คิดถึงแล้ว’...ไม่ใช่ว่าผมไม่รักญี่ปุ่น แต่เพราะที่นี่ก็คือบ้านของผมเหมือนกัน ที่นี่มีเพื่อน ผมชอบเชียงใหม่ และอยากจะขออยู่ที่นี่ไปจนวันตาย"

“It’s nearly 10 years for me now living in Chiang Mai. Somebody asked me: ‘Do I miss Japan?’ I said: ‘I don’t’. Not because I didn’t love Japan but this is also my home. I have friends here and I like Chiang Mai. I’ll stay here for the rest of my life.”
Shinzato Aizo


คนที่เดินทางท่องเที่ยวและทำงานไปทั่วทุกทวีปในโลกนี้อย่างคุณ Mo Tejani ก็มีความเห็นเช่นกันว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่พอดีที่สุด
ชายชาวอินเดียผู้นี้เกิดที่ทวีปแอฟริกา ในประเทศอูกันดา ใช้ชีวิตช่วงหนึ่งที่นั่น ก่อนจะต้องโยกย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลทางการเมืองและเดินทางไปทั่วโลกทั้งยุโรป อเมริกา และเอเชีย จนมาลงหลักปักฐานที่เมืองไทยและเลือกเชียงใหม่เป็นแหล่งพำนักถาวร



“ผมอยู่มา 9 ปีแล้วชอบที่นี่ ที่อื่นแค่ไปเยี่ยม ไปเที่ยว แม้แต่อินเดียก็แค่ไปเยี่ยม ที่นี่คนเป็นมิตร ไปไหนมาไหนง่าย รู้จักกันหมด หน้าหนาวก็หนาว ผมว่าที่นี่ถือเป็น artist colony เพราะที่เชียงใหม่มีศิลปินอยู่เยอะ ทั้งจิตรกร นักเขียน ทุกวันนี้ผมเกษียณตัวเองแล้วทำงานเป็นนักเขียนอย่างเดียว”

“I’ve been here for nine years and never moved to other countries, except for a vacation or visits. People here are friendly and it’s easy to get to know them. The weather is nice in winter. Chiang Mai is an artistic colony. There are painters, writers, and sculptures all living in one place. Right now, I’m retired and work as a freelance writer.”

Mo Tejani

หนังสือเล่มแรกที่คุณโมเขียนนั้นได้รับรางวัล ชื่อเรื่องว่า A Chameleon’s tale พูดถึงแง่มุมต่างๆ ที่ได้พบเจอมาจากการไปอยู่ที่ต่างๆ (สนใจดูได้ที่ www.motejani.com)





ข้ามฝั่งมาฟังหญิงสาวจากยุโรปบ้าง Nienke Parma บอกกับเราว่า "ฉันชอบภูเขาและอุทยานแห่งชาติมากๆ"

หญิงสาวชาวเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ อดีตเคยเป็นนักพัฒนาป่าไม้ ปัจจุบันเป็นเจ้าของศูนย์ฝึกสุนัข Lucky Dogs ที่ใช้ชีวิตมีความสุขกับสุนัขกว่า 20 ตัว เธอเลือกที่จะปักหลักอยู่ที่เชียงใหม่เป็นเวลา 15 ปีมาแล้ว เพราะเธอชอบที่เชียงใหม่มีภูเขาและธรรมชาติเยอะ ตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่นี่เธอกลับบ้านเกิดเพียงปีละครั้ง และตั้งใจไว้ว่าจะอยู่ที่นี่ตลอดไป เมื่อเราถามออกไปว่าเธออยากทำอะไรให้เชียงใหม่บ้าง เธอตอบกลับมาได้น่าประทับใจอย่างยิ่งว่า  "จริงๆ แล้วอยากทำกิจกรรมของกลุ่มเฟรนด์กรุ๊ป เขามีกิจกรรมมากมาย อย่างอาทิตย์ก่อนก็ไปปลูกต้นไม้กัน ฉันอยากทำเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะว่าฉันทำงานกับสัตว์" ความปรารถนาดีที่เธอมีต่อเมืองของเราฉายแววออกมาอย่างแรงกล้าในคำตอบของเธอ



“I really want to join friend’s group’s activities. They have lots of social activities such as a tree-planting campaign. I care about nature and the environment, as I work with animals.”

Nienke Parma


อีกหนึ่งหนุ่มผู้หลงใหลในเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมอย่างเชียงใหม่ Jan De Vleeschauwer อาจารย์ชาวเบลเยี่ยม ที่พกเอาความรู้ทางด้านศิลปะจากประเทศเบลเยี่ยมมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เธอชอบท่องเที่ยวไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มาถูกใจเมืองไทยมากที่สุด จึงพยายามหางานทำที่เมืองไทย โดยเฉพาะเชียงใหม่ที่เธอใฝ่ฝันจะมาอยู่ให้ได้ เริ่มต้นจากกการเป็นอาจารย์สอนภาษาที่โรงเรียนยุพราช วัดสวนดอก วัดอุโมงค์ ก่อนจะได้รับการทาบทามให้มาเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะวิจิตรศิลป์ อาจารย์แจนอยู่เชียงใหม่มายี่สิบกว่าปี เพราะรักในบรรยากาศของเมืองนี้ แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ก็ยังคงชีวิตสบายๆ เป็นกันเอง ไม่ต้องเร่งรีบอะไรมาก เธอบอกกับเราว่า “แม้ว่าเชียงใหม่จะมีหอศิลป์ไม่มากเท่าเบลเยี่ยม แต่ก็ยังดีที่ผู้คนยังให้ความสนใจในศิลปะค่อนข้างมาก”


“Though Chiang Mai doesn’t have as many art galleries as Belgium, it’s good that people see the importance of the arts.”

Jan De Vleeschauwer



ไม่ใช่แต่จะมีคนที่อยู่ที่นี่นานเท่านั้น แต่กับคนรุ่นใหม่บางคนที่เพิ่งย้ายมาที่นี่ได้ไม่กี่ปีต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เชียงใหม่เป็นเมืองในฝันของเขา  

ไซมอน แลมเบิร์ท อาจารย์หนุ่มชาวอังกฤษประจำโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพผู้รักในศิลปะแนว สมัยใหม่ ชื่นชอบ กีฬาเอ็กตรีมอย่างการขี่จักรยาน BMX และมีงานอดิเรกคือทำกราฟิกดีไซน์  หากมองผ่านๆก็ไม่ใครจะรู้ว่าเขาคน นี้เป็นผู้ที่หลงใหลในศิลปะเป็นอย่างมาก ด้วยระยะเวลาที่อยู่ในเชียงใหม่มาเกือบ 5 ปีทำให้ไซม่อนพูดภาษาไทยและคำเมืองได้เป็นอย่างดี เขามาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วยเหตุผลที่ว่า ชอบคนเชียงใหม่ ชอบอากาศและที่นี่มีร้านอาหารเจเยอะ (ไซม่อนเป็นมังสวิรัติ แม้กระทั่งรองเท้ายังเลือกใส่เฉพาะหนังเทียมเท่านั้น) เมื่อถามถึงสิ่งที่ไม่ชอบในบ้านเรา คำตอบที่แทบจะโพล่งออกมาทันใดคือ การจราจรและความไม่มีวินัยในการขับรถของคนเชียงใหม่บางคน  ไซม่อนมีแผนว่าจะกลับไปเยี่ยมบ้านกับแฟนเดือนตุลาคมนี้เพราะตั้งแต่มาอยู่ประเทศไทยยังไม่เคยกลับไปเยี่ยมบ้านเลย

“ผมอยู่ที่นี่ได้สอนหนังสือ แต่ก็ยังมีเวลาเหลือสำหรับทำงานศิลปะที่ตัวเองรัก ไม่มีเหตุผลหรอกว่าทำไปทำไม รู้แต่ว่าผมอยากทำ ผมรักที่จะแสดงผลงานให้คนดูและหวังว่าจะได้แสดงผลงานให้คนได้ดูอีกในอนาคต”


“I teach here, but in my spare time do arts and graphic design. There’s no particular reason, I just want to. I love showing people my work and hope to have more exhibitions in the future.”

Simon Lambert


อีกหนึ่งหนุ่มชาวเมืองผู้ดี ที่ตกหลุมมนต์เสน่ห์ของเชียงใหม่จนไม่คิดจะย้ายไปที่ไหนอีก โทมัส คอร์นวอลล์ หรือทอม ปัจจุบันทำงานเป็น Events coordinator ให้กับโรงเรียนนานาชาตินครพายัพ บอกกับเราว่า “เหตุที่ผมเลือกมาอยู่ที่นี่ก็เพราะผมไม่อยากใช้ชีวิตที่อยู่ห่างจากความสะดวกสบายแบบตะวันตกมากนัก จริงๆ ผมก็ชอบกรุงเทพฯ นะ แต่ที่นั่นไม่น่าอยู่เท่าไร ในขณะที่เชียงใหม่บรรยากาศดี มีร้านอาหารดีๆ และคนทางเหนือก็เป็นคนง่ายๆ สบายๆ”

ทอมย้ายมาอยู่เชียงใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ก่อนจะมาเมืองไทย ทอมทำงานเกี่ยวกับช่างยนต์มาก่อน แต่หลังจากที่ได้มาเยี่ยมเพื่อนที่เชียงใหม่ เขาก็บอกกับตัวเองว่า อยากจะลองย้ายมาใช้ชีวิตที่นี่ดูสักระยะ รู้ตัวอีกทีก็ผ่านมาเกือบสามปีแล้ว หนุ่มคนนี้พูดภาษาไทยได้พอตัว เขาบอกว่าหากคิดจะใช้ชีวิตอยู่ในประเทศใด ก็ควรจะทำความเข้าใจในวัฒนธรรมและภาษาของที่นั่นให้ดีที่สุด

“สิ่งที่ผมอยากจะเห็นในเชียงใหม่ก็คือ การที่ไม่มีช้างมาเดินอยู่บนถนน อีกสิ่งที่อยากให้มีก็คือการกระตุ้นให้คนเชียงใหม่เลิกใช้ภาชนะพลาสติก เช่น ตอนที่เราซื้ออาหารกลับบ้าน อาจจะใช้ภาชนะจากกระดาษรีไซเคิลแทนกล่องโฟม ซึ่งผมว่ามันน่าจะดีกว่าปล่อยให้ขยะพวกกล่องโฟมเกลื่อนกลาดอยู่ตามที่ต่างๆ นะครับ”  



“I would like to see the elephants taken off the streets. Considering their importance in Thai culture they are treated poorly. Also I'd like to see more of a drive to encourage recycling and to reducing the use of Styrofoam by street vendors and other home-delivery food companies. Let's start using recycled paper bags and not rely on plastic so much.”

Thomas Cornwall


สำหรับคนที่ทำงานใกล้ชิดธรรมชาติอย่างราฟา สาวอิตาเลียนผู้อุทิศชีวิตเพื่อช้าง สิ่งหนึ่งที่เธอมองเห็นว่าสำคัญมากสำหรับเชียงใหม่ก็คือธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กว่า 5 ปีที่อยู่ที่นี่ ราฟาได้พบได้เห็นอะไรมามากมายรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับช้างและสิ่งแวดล้อมในเชียงใหม่ที่เธอแสดงความห่วงใยออกมาว่า

“หากทำได้ฉันอยากจะขอให้ชาวเชียงใหม่หยุดสร้างบ้านปูน แต่ให้ใช้ไม้เป็นวัสดุในการก่อสร้างแทน และอยากให้ใช้จักรยานสัญจรไปมาแทนการใช้รถยนต์ คนไทยชอบคิดว่าคนขี่จักรยานเป็นคนจน และชอบโชว์รถใหญ่ๆ สวยๆ ซึ่งยิ่งทำให้เกิดปัญหาจราจร และอีกอย่างหนึ่งที่ฉันไม่ชอบเลยก็คือสายไฟที่ระโยงระยางตามท้องถนน มันรก ไม่สวยเอาเสียเลย”          


“If somebody will listen, I would beg Chiang Mai people to stop building concrete house and return to wooden house. I wish people would use a bicycle instead of a car. Thai people think riding a bicycle makes you look poor and they like to show off their expensive car which causes more and more traffic problems. One more thing I don’t like is phone and electric wires along streets. That looks awful.”

Raffaela Marongiu


นอกจากชาวตะวันตกที่รักในความเรียบง่ายของเชียงใหม่ที่หาไม่ได้ในสังคมเมืองใหญ่ ก็ยังมีสาวเกาหลีคนนี้ที่ชื่นชอบความเป็นเชียงใหม่อย่างมาก อาจารย์ เฮเรี่ยน หงษ์ (Hyeryon Hong) อิมพอร์ตมาจากกรุงโซลโดยตรง จบปริญญาเอกด้านการสอนภาษาเกาหลีให้คนต่างชาติ เฮเรี่ยนทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ 11 ปี และได้มีโอกาสเที่ยวเมืองไทยในหลายๆ จังหวัด แต่หลังจากได้มาเชียงใหม่ก็ติดใจอยากจะอยู่ที่นี่ จนได้มาทำงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มาถึงวันนี้ก็ล่วงเลยมาสองปีแล้ว

“ฉันชอบอากาศ ธรรมชาติ วัฒนธรรมล้านนา ซึ่งไม่อยากให้เชียงใหม่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัฒนธรรมของต่างชาติมากนัก อยากให้เมืองนี้รักษาวัฒนธรรมที่ดีอยู่แล้ว เป็นตัวของตัวเอง ชอบตึกที่ไม่สูงของเชียงใหม่ อยากอยู่ที่นี่นานๆ แต่ติดตรงที่ว่า เวลาไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทำไมต้องเก็บค่าเข้าของต่างชาติแพงกว่า อยากให้รัฐบาลดูแลให้ทัดเทียมหน่อย”

“I like the weather, nature and Lanna culture, so I wish Chiang Mai would not become too Western. The city’s unique culture is very nice to preserve. I love buildings that are not too high. I wish I could stay here long-term. One thing I mind is the entrance fee when visiting some tourist places. Why do they have to charge foreigners so much more? Please, somebody should take a close look at this matter.
Hyeryon Hong


นอกจากจะเป็นอาจารย์แล้ว เขายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงติดต่อกับทางสมาคมต่างๆ ของเกาหลี ในการทำกิจกรรมให้เด็กๆ ได้เข้าค่ายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทยกับเกาหลีอยู่เสมอๆ อีกด้วย  
               
สำหรับขาช้อปตลาดหน้ามช.คงเคยผ่านตากันบ้างกับร้านที่มีรูปภาพสินค้าจากเกาหลีมากมายให้สั่งจองและแม่ค้าชาวเกาหลีคนสวยที่พูดไทยยังไม่คล่อง แต่ก็พยายามจะสื่อสารกับลูกค้าอย่างตั้งอกตั้งใจ
Alicia (JI Soo Kim) เดินทางมาเที่ยวเชียงใหม่ตามคำชักชวนของน้องสาวซึ่งเป็นครูสอนภาษาเกาหลี เพียงแค่พบกันครั้งแรก เธอก็ตกหลุมรัก ‘เชียงใหม่’ อย่างหัวปักหัวปำ
“ฉันมาจากกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ อารมณ์ก็คล้ายๆ กับกรุงเทพ มีตึกสูงมากมาย ผู้คนหนาแน่น ซึ่งฉันมาเชียงใหม่ครั้งแรกในฤดูหนาว อากาศกำลังสบายๆ มีต้นไม้สูงๆ เยอะ ที่นี่ต่างจากเมืองที่ฉันอยู่ เลยตั้งใจไว้ว่าจะต้องกลับมาอีกให้ได้”


“Seoul, the place where I come from, is similar to Bangkok: crowded, rushing with life and high-rise buildings. The first time I came here was in winter and the weather was very nice. I love the tall trees in Chiang Mai and this city is different from the city I lived in before. So, I said to myself that I must come back. And I did.”

Alicia (JI Soo Kim)


“ฉันย้ายมาอยู่ที่นี่อย่างจริงจังเมื่อสองปีที่แล้ว มาเริ่มทำธุรกิจเล็กๆ คือร้านขายเสื้อผ้าเกาหลี ที่ตลาดหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และร้านขายเสื้อผ้าผู้ชาย ที่โครงการ JIRAWASA นิมมานฯ ซอย 13 ซึ่งก็ไปได้ดีนะคะ ฉันเช่าบ้านอยู่ เพราะชอบทำสวน ชอบปลูกต้นไม้ หากมีเวลาว่างก็จะไปพักผ่อนที่เขื่อน:-)ัดค่ะ ถ้าถามว่าอยากให้เปลี่ยนอะไรที่เชียงใหม่ ก็คืออยากให้มีมาตรฐานเดียวกันสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติค่ะ ฉันเคยโดนชาร์จค่าโดยสารตุ๊กตุ๊กแพงมาก แต่โดยรวมแล้วฉันชอบเชียงใหม่มากค่ะ ยังตอบไม่ได้ว่าจะอยู่ที่นี่ไปนานแค่ไหน แต่อยากใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ไปเรื่อยๆ อีกนานๆ ค่ะ”

ได้ฟังแง่มุมต่างๆ จากชาวต่างชาติที่มาอยู่เชียงใหม่แล้วอาจทำให้พวกเราชาวเชียงใหม่ฉุกคิดได้ว่าเรามีสิ่งที่ดีที่สุดในมืออยู่แล้ว แต่เราดูแลมันดีที่สุดหรือยัง และลองมองย้อนดูตัวเราในตอนนี้ว่า เราเห็นคุณค่าของเมืองที่เราอยู่มากน้อยเพียงใด เราพอใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ไปวันๆ ร่ำร้องอยากมีอยากเป็นเหมือนอารยะประเทศ แต่ไม่ดูแล ไม่เอาใจใส่ แถมไม่เคยหยิบยื่น และไม่เคยคิดเสียสละความสะดวกสบายส่วนตัวเพื่อเมืองของตัวเองเลย
เราจะภูมิใจกับชีวิตแบบนี้แล้วหรือ

ที่มา: ที่มา....
http://www.compasscm.com/issue/Aug10/module_back.asp?content=Aug10/scoop2&lang=TH


จากคุณ : p_rapeephan
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ไอ้คิ้วสวย's profile


โพสท์โดย: ไอ้คิ้วสวย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568วันสุดท้ายแล้วสำหรับงานกาชาด 2567 ร้อนแรงทะลุสวนลุม! "ตำรวจตกน้ำ" ไฮไลต์เด็ดที่ทุกคนต้องไม่พลาดสั่งพักงานยกชุด! 18 ตำรวจจราจร ปมตั้งโต๊ะจับปรับ 'เจอจ่ายจบ'"น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่นชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสียเชน ธนา การเงินวิกฤตหนัก ตัดใจประกาศขายออฟฟิศ 3 ตึก ราคารวมเกือบร้อยล้านโบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี แห่งไซบีเรีย ซึ่งเต็มไปด้วยปริศนาที่รอคำตอบคลิปไวรัล คุณยายวัย 95 ปี หัวเราะจนหงายหลัง ชาวเน็ตเเห่ถามคุณยายเป็นอะไรBaby V.O.X เกิร์ลกรุ๊ประดับตำนานของเกาหลี คัมแบ๊กในรอบ 14 ปี นำโดย 'ยุนอึนเฮ'"เหมือนเป๊ะ! แตงโมจัดเต็มโคฟเวอร์ 'เจ๊มิ่ง' แซ่บเวอร์ทุกดีเทล"ชั่วขณะสุดท้ายของชีวิต หากถูกประหารด้วยกิโยติน เราจะรู้สึกอย่างไร?ฮือฮาเหนือท้องฟ้าประเทศไทยหลายพื้นที่! แห่สงสัย มนุษย์ต่างดาว?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อย่าท้าทายระบบ! "สารวัตรแจ๊ะ" เผยสาเหตุที่ต้องใส่แมสก์ และสวมหมวกตลอดเวลาสั่งพักงานยกชุด! 18 ตำรวจจราจร ปมตั้งโต๊ะจับปรับ 'เจอจ่ายจบ'"ร่วมส่งใจ อาเป็ด เชิญยิ้ม แอดมิตด่วน เจอพิษ “โนโรไวรัส” ยังไม่มียา-วัคซีน ชวนป้องกัน กินสุกลดเสี่ยง ล้างมือบ่อย #ลดเสี่ยงโรคโบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี แห่งไซบีเรีย ซึ่งเต็มไปด้วยปริศนาที่รอคำตอบชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสีย
ตั้งกระทู้ใหม่