Sleeping Beauty
โรคเจ้าหญิงนิทรา (Sleeping Beauty Syndrome)
โรคเจ้าหญิงนิทรา มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Kleine-levin Syndrome” หรือเรียกสวยๆ กันว่า “Sleeping Beauty Syndrome” โรคโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาททำให้ระบบการรับรู้ระยะเวลาในการนอนหลับของร่างกายผิดเพี้ยนไปเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคนี้สามารถนอนหลับได้หลายวัน หรือบางรายอาจจะเป็นสัปดาห์เลยทีเดียว โดยผู้ป่วยจะตื่นขึ้นมาเป็นระยะๆ เพื่อทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เข้าห้องน้ำ หรือทานข้าว โดยที่เจ้าตัวจะไม่มีความทรงจำ ณ ช่วงเวลาที่ตื่นขึ้นมาทำธุระเหล่านั้นเลยสักนิดเดียว และในช่วงเวลานั้นผู้ป่วยจะมีลักษณะนิสัยที่เปลี่ยนไปจากเดิม บ้างก็กร้าวร้าว บ้างก็งอแงคล้ายกลับไปเป็นเด็กก็มี และโรคนี้สามารถเป็นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย
ถึงเมื่อถึงเวลาตื่นนอน (หลังจากหลับไปเต็มที่ ในสถิติผู้ป่วยบางรายอาจจะเกือบๆ 2 สัปดาห์) ผู้ป่วยจะมีลักษณะสับสน ไร้เรี่ยวแรง ไร้อารมณ์ ซึม เหมือนคนยังตื่นไม่เต็มตา หรือในทางกลับกันบางกรณีผู้ป่วยจะมีอาการไม่ต่างจากคนปกติทั่วไป แต่เมื่อถึงระยะเวลาที่จะหลับก็กลับมาซึม ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่สดชื่น ก่อนจะหลับเป็นเจ้าหญิง หรือเจ้าชายนิทรา
ไม่มีการระบุที่ชัดเจน บ้างก็ว่าเกิดจาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด บ้างก็ว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ และอุณหภูมิร่างกายแต่อย่างใด แต่จะส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตประจำวันดั่งเช่นคนปกติทั่วๆ ไป ยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นโรคติดต่อ หรือสืบทอดทางพันธุกรรมค่ะ และเนื่องจากอยู่ในระหว่างการค้นคว้า และศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคนี้ 40 คนได้พบว่าของเหลวที่อยู่ในไขสันหลังของผู้ป่วยจะมีสารเคมีชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถพบได้จากส่วนอื่นใดในร่างกาย แต่สารตัวนี้ส่งผลต่อ GABA-A receptor ซึ่งเป็นหน่วยรับความรู้สึกเหนื่อย หรือความรู้สึกง่วง และยังพบได้อีกว่ามันมีลักษณะการทำงานคล้ายกับการที่เราทานยานอนหลับนั่นเอง
ส่วนในการรักษาโรคโรคนี้ยังไม่มีการค้นพบยา หรือวิธีการรักษาแบบให้หายขาด จึงเรียกได้ว่าเป็นการบำบัดซึ่งอาจจะได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง โดยแพทย์จะให้ตัวยา ‘Flumanezil’ คือยาที่ทำหน้าที่ต่อต้านการกินยานอนหลับเกินขนาดจึงส่งผลให้เกิดอาการง่วงน้อยลง มีสมาธิมากขึ้น ตื่นตัวมากขึ้น แต่ส่งผลในระยะชั่วคราวเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับยาอยู่เป็นประจำ ซึ่งตามที่ได้กล่าวได้แล้วว่า ... ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง แต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเองเมื่อเวลาผ่านไปได้สัก 8-12 ปี
ผู้ป่วยในภาพข้างบนนี้ คือ นางสาวลุยซ่า บอล (Louisa Ball) ชาวอังกฤษ ในขณะนั้นอายุ 15 ปี ที่นอนหลับได้ตลอดวันเป็นอาทิตย์ๆ โดยที่พ่อกับแม่ของเธอต้องคอยปลุกขึ้นมาเพื่อให้รับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำ ด้วยเพราะเกรงว่าเธอจะอดอาหารจนเสียชีวิตนั่นเอง อาการของโรคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2008 หลังจากที่เธอฟื้นตัวจากอาการเป็นไข้หวัด
(หากซ้ำก็ขออำภัยค่ะ ... )