รถไฟไทย : รถโดยสารสำหรับคนพิการ การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดัดแปลงรถนั่งชั้น 3 รุ่น JR-West เป็นรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 สำหรับผู้พิการ โดยได้ดำเนินการดัดแปลงจำนวนทั้งหมด 10 คัน (แล้วเสร็จให้บริการแล้วบางส่วน) ซึ่งการปรับปรุงนั้น ได้ดัดแปลงระบบไฟฟ้าใหม่ ไม่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในตัว แต่จะใช้การแชร์ไฟจากรถปรับอากาศคันอื่น พร้อมติดตั้งลิฟท์ไฮดรอลิกส์สำหรับยกวีลแชร์ขึ้นบนรถไฟด้วย โดยเปิดตัวให้บริการเชิงพาณิชย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555
สำหรับขบวนที่มีตู้รถนั่งปรับอากาศชั้น 2 สำหรับผู้พิการ ให้บริการ มีดังต่อไปนี้
สายเหนือ
- ขบวนรถด่วนพิเศษนครพิงค์ที่ 1/2 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
- ขบวนรถด่วนที่ 67/68 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนที่ 69/70 กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ
และในอนาคตเมื่อมีการดัดแปลงครบ 10 คัน จะมีการพ่วงในขบวนรถสายใต้อีก 4 ขบวน
ทั้งนี้สำหรับที่นั่งในตู้โดยสารนั้น จะมี 30 ที่นั่ง โดยจะแบ่งสัดส่วนดังนี้
ที่นั่งหมายเลข 1-6 : ที่นั่งสำหรับผู้พิการ (มีพื้นที่กว้างขวาง)
ที่นั่งหมายเลข 7-12 : ที่นั่งสำหรับผู้ดูแลคนพิการ
ที่นั่งหมายเลข 13-27/30 : ที่นั่งสำหรับบุคคลทั่วไป
ที่นั่งหมายเลข 28-29 : ที่นั่งสำรองสำหรับเจ้าหน้าที่ประจำตู้เพื่ออำนวยความสะดวก
ในกรณีผู้พิการนั้นจะได้รับสิทธิ์ส่วนลดค่าโดยสาร 50%(ไม่รวมค่าธรรมเนียม) โดยใช้หลักฐานเป็นบัตรประจำตัวผู้พิการ และผู้ดูแลจะได้รับสิทธิ์ส่วนลดค่าโดยสาร 25% (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)