หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

ต้องบอกว่านี่คือสาระ ที่ผมได้ไปค้นหาข้อมูล แปลความหมาย แล้วนำมาเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย และเรียนรู้ถึงความเป็นมาของเรื่องราวเหล่านี้

โดยผมจะดูแลควบคุมให้มีเนื้อหาเหมาะสมให้ได้มากที่สุด หากมีเนื้อหาที่ที่ดูล่อแหลม หรือเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดมากขึ้นมาก็ตาม

ผ้าเตี่ยวที่ถือว่าเป็นต้นตำหรับ ที่ยังมีคนนิยมนุ่งอยู่ และมีอิทธิพลไปทั่วโลก นั่นคือ "ฟุนโดชิ"  Fundoshi (ふんどし)

ถือว่าผ้าเตี๋ยวชนิดนี้มีที่มาชัดเจน ซึ่งสวมใส่กันมานับ 1,000 ปีตั้งแต่สมัยเอโดะ ก่อนจะถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

โดยในสมัยโบราณ ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถสวมใส่ได้ แต่ในปัจจุบันผู้หญิงก็สามารถสวมใส่ได้เช่นเดียวกัน

ฟุนโดชิในยุคแรกๆ จะใช้ผ้าผืนใหญ่ๆ ความกว้าง 1 ชาคุ (34 เซนติเมตร) ยาว 6 ชาคุ (2.3 เมตร) โดยประมาณ

มีขั้นตอนการนุ่งที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน แต่เชื่อได้ว่าการนุ่งในลักษณะดังกล่าวจะมีความกระชับ และมีโอกาสน้อยมากที่ผ้าทั้งผืนจะหลุด

ซึ่งฟุนโดชิชนิดนี้เรียกว่า "โรคุชาคุ ฟุนโดชิ" (Rokushaku Fundoshi)

ตัวอย่างฟุนโดชิแบบโรคุชาคุ

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

วิธีการนุ่งห่ม

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

ฟุนโดชิในยุคหลังๆ ได้มีการพัฒนารูปแบบการนุ่ง เพื่อลดความยุ่งยากในการสวมใส่ ที่เห็นกันบ่อยๆ ก็จะเป็น "เอชชุ ฟุนโดชิ" (Ecchu Fundoshi)

ฟุนโดชิประเภทนี้จะมีส่วนประกอบติดกันเป็นผืนเดียว การนุ่งนั้นก็แค่ผูกเชือกคาดเอว ย้ายส่วนแถบผ้าไปไว้ด้านหลัง

แล้วดึงแถบผ้าลอดระหว่างขามาข้างหน้า ปกปิดจุดสำคัญของร่างกาย จากนั้นนำเอาผ้าส่วนที่เหลือลอดขึ้นเชือกผูกเอว

ดึงให้ตึงๆ กระชับ แล้วปล่อยลง ก็เป็นอันเสร็จ ย่นระยะเวลาการนุ่งได้ครึ่งหนึ่งก็ว่าได้

ตัวอย่างฟุนโดชิแบบเอชชุ

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

วิธีนุ่งห่ม

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

นอกเหนือจากโรคุชาคุ หรือเอชชุแล้ว ฟุนโดชิยังมีรูปแบบอื่นๆ ที่นิยมนุ่งอีกมากมาย
 
ทั้งนี้เพราะการพัฒนาเครื่องแต่งกายของชาวญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลหลักๆ ของการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป
 
จวบจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบันเช่นเดียวกัน ซึ่งก็จะมี
 
มอคคุ ฟุนโดชิ (Mokko Fundoshi)
วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น
 
คุโระเนโกะ ฟุนโดชิ (Kuroneko Fundoshi) หรือฟุนโดชิหูแมว
 
วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น 
 
ซึ่งฟุนโดชิ 2 ชนิดนี้คือต้นแบบที่ชาวยุโรปยุคล่าอาณานิคม นำไปพัฒนาเป็นกางเกงชั้นในอย่าง G-Sting และ Thongs
 
(บ้านเราเรียกกางกางในโชว์เอว หรือกางเกงในเส้นเชือก...) ในเวลาต่อมานั่นเอง
 
บทบาทสำคัญของเครื่องนุ่งห่มอย่างฟุนโดชินี้คือนิยมนุ่งในเทศกาลต่างๆ อย่างเทศกาลฮาดากะ (Hadaka Matsuri)
 
หรือการแข่งขันมวยปล้ำอย่างซูโม่ (Sumo Wrestling) ที่ต้องส่วมใส่เข้ากับมาวาชิ (Mawashi) เพื่อความกระชับที่มากขึ้น
 
เป็นเรื่องปกติของชาวอาทิตย์อุทัยมากๆ สำหรับวัฒนธรรมการแต่งกาย ซึ่งพวกเขานั้นยังสามารถรักษาเอาไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา
 
ไม่ต่างจากชุดประจำชาติอย่างกิโมโน หรือเครื่องแต่งกายพื้นเมืองอื่นๆ เลยทีเดียว
 
ดังจะเห็นได้จากสารคดี หรือการ์ตูนเอนิเมะบางเรื่องที่สอดแทรกเนื้อหาการแต่งกายนี้ไปด้วย
 
ตัวอย่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นนุ่งผ้าเตี่ยว
 
วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

เทศกาลนี้จัดที่ศาลเจ้ามิมุสุบิ ในจังหวัดชิบะครับ จากคาวาซากิ

บ่อสี่เหลี่ยมตรงกลางนี่เป็นแปลงปลูกข้าวศักดิ์สิทธิ์ครับ  เทศกาลเขาจัดตอนบ่ายโมงถึงบ่ายสามครับ

พอถึงเวลา เราก็ได้ยินเสียงคนวิ่งมาจากบนเขา และแล้วก็แห่กันลงมา เหล่าผู้ร่วมงานที่มีตั้งแต่รุ่นหนุ่มๆ ไปจนถึงลุงๆ

ก็ทยอยกันวิ่งลงไปกันจนหมด แล้วก็ปีนขี่หลัง แบ่งทีมเล่นเกมกันกลางบ่อนั่นแหละ เกมก็เล่นกันง่ายๆ คือให้จับคู่ขี่หลังกัน

แบ่งเป็นสามทีม แล้วก็ตะลุมบอนกันตรงกลางบ่อ แล้วก็อัดกันนัวเนียจนไม่รู้ว่าจะแบ่งทีมไปทำไม

เขาเชื่อกันว่าการเล่นแบบนี้ เป็นเหมือนการสวดอ้อนวอนเทพเจ้าไปในตัว ให้พืชผลปีนี้อุดมสมบูรณ์ 

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

เหล่าชาวเตี่ยวทั้งหลายที่สาดโคลนรอบแรกกันเสร็จแล้ว วิ่งกลับขึ้นเขาที่ศาลเจ้า แล้วก็วิ่งลงเขากลับไปทำพิธีในบ่อโคลนกันใหม่อีกรอบ

พอเหนื่อยแล้วก็วิ่งกลับขึ้นมาผิงไฟอีก แล้วก็กลับลงไปเรื่อยๆ หลายรอบอยู่เหมือนกัน

วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น

มีทีมงานทีวีมาสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงานด้วยครับ แอบฟังอยู่ข้างๆ เขาถามผู้ชายคนข้างล่างนี้ว่า

หลังจากที่ได้มาลองเข้าร่วมดูแล้ว (คงมาครั้งแรกมั้ง) รู้สึกเข้าใจจุดประสงค์ของงานนี้ขึ้นมารึเปล่า

ซึ่งพี่แกก็พยายามตอบแต่เสียงสั่นมาก ต้องคัทแล้วคัทอีก เพราะอากาศตอนนั้นเพียง 10 องศาเอง

 

http://vachalenxeon.exteen.com/20111030/entry-1

http://simpskwan.exteen.com/20120229/japan-ch-1

ที่มา:
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ทิมมี่ ทิมมี่'s profile


โพสท์โดย: ทิมมี่ ทิมมี่
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
48 VOTES (4/5 จาก 12 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบันCIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาทหลวงพี่เขมรแนะชาวเขมร ว่า..“ไทยเอาคำว่า‘สงกรานต์‘ไปแล้ว งั้นเขมรเราใช้คำว่า ’มหาอังกอร์สงกรานต์‘ ดีไหม? เพราะคำนี้มันใหญ่กว่าสงกรานต์ธรรมดา”ยิ้มอ่อนกับเขมรรายวัน : สื่อและคนเขมรดราม่ากันเอง อยากให้มีการจัดสงกรานต์ แต่อยากจะแบนไม่ให้มีการเล่นปืนฉีดน้ำกัน เนื่องจากปืนฉีดน้ำ เป็นการแสดงวัฒนธรรมไทย (What?)รวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้า
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ยิ้มอ่อนกับเขมรรายวัน : สื่อและคนเขมรดราม่ากันเอง อยากให้มีการจัดสงกรานต์ แต่อยากจะแบนไม่ให้มีการเล่นปืนฉีดน้ำกัน เนื่องจากปืนฉีดน้ำ เป็นการแสดงวัฒนธรรมไทย (What?)รวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้าประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีมูลค่าการส่งออกทองคำมากที่สุด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด เกย์
ใช้ "ห่วงรัด" จนได้เรื่องผมเคยกับเพื่อนสนิทมิก ภูมิภัส หนุ่มหล่อหน้าใส ดีกรีหมอ ที่มีความขาวออร่ากระชากใจสุดๆดุ๊ก ชนกันต์ นายแบบหนุ่มหล่อมาดเข้ม สไตล์ไทยแท้
ตั้งกระทู้ใหม่