ลายไทย รากเหง้าแห่งศิลปะและวัฒนธรรมไทย
ลายไทย
การเขียนภาพลายไทยนี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิอลปดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก “ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่”
ปฐมกำเนิดลายไทย อันเแบบแผนลายไทยเท่าที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นแบบแผนตายตัว เนื่องด้วยลายไทยได้วิวัฒนาการ ตัวเอง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนสู่จุดสมบูรณ์ กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนถึงทุกวันนี้
ที่จริงในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลายไทยมิได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ จากการค้นคว้าลายรุ่นเก่า บนลายปูนปั้นและลายจำหลักศิลา บนใบเสมารุ่นอู่ทอง และสุโขทัย ซึ่งพบทั่วไปในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของนครเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา ลงไปสุดใต้ที่นครศรีธรรมราช ลายอันปรากฏนั้น มิได้เป็นลายที่สืบต่อมาจากขอม หรือ ทวารวดี หากแต่เป็นลายที่ เกิดขึ้นจากการ "สลัดแอกอิทธิพลอินเดีย" เข้าสู่ความเป็นตนเอง โดยจะมีลักษณะเหมือนธรรมชาติ คือเป็นลายเครือเถา ลายก้านขด ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ รูปนก สัตว์จตุบาท (สัตว์ ๔ เท้า) ทวิบาท (สัตว์ ๒ เท้า) ต่างๆ ซึ่งลายลักษณะนี้ เป็นลายคนละตระกูล กับลายอันมีอิทธิพลจากอินเดีย
ลายไทยนั้นได้มีวิวัฒนาการ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยนับเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ในสมัยอู่ทอง อโยธยา สุโขทัย ลายไทยในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ลายไทยอันสง่างาม เลื่อนไหลเเป็นเปลวไฟ ในสมัยอุธยายาตอนปลาย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน
ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 4หมวด ได้แก่
1. หมวดกระหนก หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
2. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
3.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆ โดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
4.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น และสัตว์ในวรรณคดีที่เกิดจากจินตนาการของช่างเขียนหรือเราเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างประหลาด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ กินรี ครุฑ หงส์ เป็นต้น
Credit ข้อมูล : http://www.g4guys.com/thread-48728-1-1.html
ภาพประกอบ : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=42477
http://phaiboon01.wordpress.com/page/2/
http://www.jitdrathanee.com/School/student/chanok_003.htm#.UxmOQz9_tD0
มือใหม่หัดโพส อยากโพสบ้างง ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ -/\-