หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การเเต่งกายของชาวไทในยุคนครวัด

โพสท์โดย JAIJAINOI

 

ในภาพ การเเต่งกาของชาวไทลุ่มน้ำกก ที่เชียงราย ที่มาเดินทัพสวนสนามที่นครวัด

 

เครื่องแต่งกายจากภาพสลัก ที่ปราสาทนครวัด
จากข้อเขียนของ จิตร ภูมิศักดิ์
เครื่องแต่งตัวขบวนเสียมกุก บนภาพสลักที่ปราสาทนครวัดราว พ.ศ. 1650 (ก่อนมีรัฐสุโขทัย ราว 100 ปี)
จิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายไว้ในหนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม (มูลนิธิโครงการตำราฯ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2519 หน้า 130-150) จะคัดอย่างสรุปย่อๆ สั้นๆ เอาแต่สาระสำคัญ แล้วปรับย่อหน้าโดยขึ้นหัวข้อย่อยใหม่ให้อ่านง่าย ดังต่อไปนี้
เครื่องแต่งกาย ไม่ตายตัวแข็งทื่อ ในสังคมที่มีการพัฒนาทางศิลปและวัฒนธรรม การแต่งกายย่อมแปรผันไปเสมอขึ้นอยู่กับผลสะท้อนของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชาติ. จะไปให้มันตายตัวแข็งทื่ออยู่เหมือนสังคมที่ห่างไกล ล้าหลัง ขาดการติดต่อกับนานาชาติหาได้ไม่.
เสียมกุก ภาพชาวเสียม (สฺยา) ในระเบียงนครวัดนั้น ร่างใหญ่ แข็งแรง ใบหน้ายาว. จมูกยาว โด่งกว่าจมูกภาพชาวเขมร บางคนก็มีหนวดมีเคราด้วย.
ทุกคนใส่ตุ้มหูห่วงกลมเหมือนจักรวงเขื่อง ไว้ผมยาว เกล้าทรงสูงลดชั้นขึ้นไปกลางกบาล บนยอดประดับดอกไม้ไหวเป็นช่อสูง เมาลีที่เกล้าดูเหมือนจะมีเครื่องรัด (คือที่ไทยโบราณเรียกเกี้ยว, เกี้ยว ภาษาไทยโบราณและภาษาลาวบัดนี้แปลว่ารัด). ผมตอนล่างของกบาล คือบริเวณท้ายทอยจรดหูปล่อยปรกลงประบ่า มีพวงดอกไม้แซมผมรอบท้ายทอยเป็นระย้า. ทรงผมนี้ผิดกับทัพชาวเขมรและละโว้ทั้งหมด ซึ่งพวกนั้นสวมเทริดยอดเป็นรูปหัวสัตว์ต่างๆ, ไม่ปล่อยผมประบ่าเลย
เสื้อ เสื้อแขนสั้น ไม่มีคอ คือเจียนผายขึ้นไปเลย บ้างก็เป็นเสื้อเรียบๆ บ้างก็เป็นเสื้อแพรลายดอกไม้เป็นดวงๆ (ที่ว่าเป็นเสื้อแพรก็เพราะผ้าไหม, ผ้าฝ้ายของไทยไม่มีทอเป็นลายดอกไม้อย่างนั้น ลายอย่างนั้นมีแต่ทาในแพร) ปลายแขนเสื้อและชายเสื้อมีขลิบริมลวดลาย.
โสร่ง โสร่ง มีทั้งเป็นผ้าพื้นเรียบและทั้งลายแบบผ้านุ่งลาวโส้ง (ผู้ไท) ซึ่งนุ่งให้เชิงผ้าข้างล่างผายนิดๆ เหมือนโสร่งมอ-พะม่า แต่สังเกตว่าไม่ได้เพลาะชายผ้าให้เป็นถุง หากเป็นผืน และนุ่งพันแบบมลายู. รอบเอวมีดอกไม้ห้อยเป็นระย้าลงมาเป็นสายยาวเกือบจรดเข่าเหมือนระย้าประดับเอวระบาฮาวาย. มือถือหอกหรือทวน และดั้ง.
พวกอื่น พวกเสียมกุกนี้ ผิดจากรูปของพวกเขมร, ละโว้ และทัพเมืองอื่นๆ ในขบวนเดียวกันนั้นทั้งหมด.
พวกอื่นๆ นั้นถอดเสื้อล่อนจ้อน มีบางคนจึงสวมเสื้อ อาภรณ์ที่นุ่งคือเตี่ยวทิ้งชายบังก้นนิดเดียว แต่ชายนั้นแผ่อ้อมรอบตะโพกและยาวเฉลียงลงมาบังต้นขา. ใบหน้าก็แบะใหญ่ จมูกแบน หูยาน รูโตยาว แต่ไม่ใส่ตุ้มหู. มีพวกกองหน้าสุด คือกองของนักราชการพลธนูแห่งเมืองเชิงฌาลเท่านั้น ที่มีแปลกกว่าใครนิดหนึ่งตรงที่มีผ้าห้อยจากสะดือลงมาบังหน้าเป็นชายไหว (ไม่มีชายแครงขนาบ) ดูคล้ายพวกข่าระแดเชื้อชวามลายูนุ่งกันเดี๋ยวนี้.
เจ้านาย ตัวนายทัพเสียมกุก แต่งตัวสวมเสื้อ นุ่งโสร่งแบบเดียวกันกับไพร่พล ต่างแต่มีผ้าคาดอก เอวเหน็บกริชอันเบ้อเร่อ ยืนโก่งธนูอยู่บนหลังช้าง.
เฉพาะผมนั้น เกล้าลดชั้นขึ้นไป และมีดอกไม้ไหวประดับเป็นช่อเช่นกัน ต่างแต่ว่าพวงดอกไม้ห้อยแซมผมที่รอบท้ายทอยนั้นมากกว่าของพวกไพร่พลจนดูเป็นแผงซ้อนกันทีเดียว.
ร่ม เครื่องสูงที่ใช้ประดับยศผู้นำบนหลังช้างนั้น เป็นร่มใหญ่คล้ายกลด แต่หลังคาลาดตรง ไม่คุ่ม มีเชิงระบายหลุบมนลงมานิดหน่อย, คันยาว ถือชูบังคนที่ยืนบนหลังช้างได้สบาย และใช้ประดับเป็นหมู่หลายๆ คัน.
ร่มที่ว่านี้เป็นแบบเดียวกับของพวกเขมร สังเกตดูจากภาพสลักเขมรที่อื่นๆ แล้ว ได้ความว่าร่มชนิดนี้เป็นแบบฉบับของร่มยศเขมรโบราณ ยิ่งผู้นั้นมียศสูงก็ยิ่งประดับมากคัน, เช่น ตัวกษัตริย์ศรีสูรยวรรมันที่ 2 ในภาพตอนนั่งทำพิธีเคลื่อนพลอยู่บนยอดเขานั้น มีร่มที่ว่านับสิบคันทีเดียว.
เข้าใจว่าเป็นอย่างเดียวกับที่ในกฎมณเฑียรบาลของไทยสมัยต้นกรุงศรีอยุธยาเรียกพรรณนาไว้ในเครื่องประดับยศเจ้านายและขุนนางว่า “ร่มทงยู”
ทงยูเป็นคำภาษาเขมร. เขมรปัจจุบันเขียน ทางยู, ออกเสียง เตียงยู. แปลว่า ร่มกระดาษ; ร่มผ้าเรียกฉัตร. ไทยเราคงจะขอยืมคำนี้มาใช้พร้อมด้วยร่มชนิดนั้นตั้งแต่โบราณ.
ร่มทงยูที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลเห็นจะมีรูปร่างอย่างร่มประดับยศของภาพสลักที่นครวัดนั้นเอง คือคันใหญ่ ด้ามยาว และไม่ใช่ทำด้วยผ้า, อาจทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษก็ได้.
ผ้าคาดอก นอกจากเสื้อแล้ว ตัวนายของทัพเสียมกุกบนหลังช้างยังมีผ้าคาดอกเป็นแถบใหญ่.
อันนี้แปลกดี, ปรกติผ้าของไทยยุคหลังๆ มักจะคาดพุง. แต่ในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งมีปรากฏชัดว่าตัวขุนเจืองเวลาแต่งตัวขึ้นช้างก็คาดผ้าดอกลายเครือวัลย์งดงามทีเดียว.
นุ่งผ้าผืน พวกเสียมกุกทั้งตัวนายที่ยืนบนหลังช้างและทั้งไพร่พลก็นุ่งผ้าเป็นผืน แต่พันรอบตัวให้เชิงผายนิดๆ เหมือนโสร่งมอ. (ไม่ได้นุ่งกางเกงขาก๊วยอย่างที่ใครคิดว่าน่าจะเป็น หากนุ่งโสร่งแบบมอญ!)
ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมเช่นนี้ก็เป็นอย่างเดียวกับที่ไทยศรีอยุธยาก็ไม่นุ่งกางเกงขาก๊วย หากนุ่งผ้าโจงกระเบนแบบขอมหรือเขมร (ซึ่งได้อย่างมาจากชนชั้นปกครองที่มาจากอินเดียใต้อีกทอดหนึ่ง).
ตุ้มหู ภาพสลักรูปเสียมกุกใส่ตุ้มหูห่วงกลมกระชับรู ค่อนข้างโต มีลายเป็นจักๆ นั้น อันนี้ตรงกับในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งเผงทีเดียว. พวกผู้ชายใส่ตุ้มหูห่วงด้วย ซึ่งในหนังสือวรรณคดีเรียกว่า กะจอนต้าง (ต้าง ภาษาลาวหมายถึงติ่งของใบหู และหมายถึงตุ้มหูห่วงขนาดใหญ่ด้วย).
เกล้าผม ตามรูปนครวัดนั้น เห็นจะเป็นแบบหนึ่งของการเกล้ากลางกบาลที่เรียกว่า เกล้าโจรงโขดง, และที่มีแซมดอกไม้ไหวบนยอดเมาลีนั้น ได้พบว่าตกถึงสมัยอยุธยา ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลว่าการแซมดอกไม้ไหวบนมวยยังเป็นเครื่องประดับยศอย่างหนึ่งของพวกเจ้านายผู้หญิงและเมียขุนนาง. และตัวขุนนางเองก็มีการสรวมเครื่องประดับศีรษะและไว้ผมมวยมีเกี้ยวรัดทองคำ
มีที่น่าสนใจคือการปล่อยผมรอบท้ายทอยให้ยาวประบ่า แถมมีพวงดอกไม้ห้อยประดับลงมาเป็นสายๆ ยิ่งของตัวนายละเป็นแผงฟูทีเดียว.
ตามความรู้สึกของเรา การร้อยดอกไม้ห้อยระย้าแซมผมเช่นนี้น่าจะเป็นของ ผู้หญิง, แต่ที่ไหนได้ตรวจดูในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งแล้ว ปรากฏว่าตัวขุนเจืองเองก็มีห้อยพวงดอกไม้ประดับแซมผม. และชอบพูดถึงบ่อยๆ เสียด้วย, บางแห่งก็บอกชัดทีเดียวว่าร้อยดอกไม้ประดับแซมเข้ากับช้องสาหรับประดับผม (ช้อง = ผมสาหรับเสริมผมให้ยาวและใหญ่-พจนานุกรม) เช่น ตอนท้าวฮุ่งหรือขุนเจืองเดินทัพผ่านป่า, หุมแพงพี่เลี้ยงก็กรองดอกไม้ (ร้อยดอกไม้) ประดับช้องถวาย
ตัวนายทัพเสียมกุกที่ห้อยดอกไม้รอบท้ายทอยจนฟูเป็นแผงหลายชั้นนั้น เป็นช้องเสริมผมชั้นดีซึ่งหนากว่าของพวกไพร่พล, ในนั้นคงมีผมปลอมแซมอยู่ด้วย
ชาวสยาม ภาพสลักศิลานูนต่ำที่นครวัดนั้น นายช่างจงใจสลักภาพชาวเสียม อย่างบรรเจิดบรรจง และพยายามถ่ายทอดภาพให้ใกล้เคียงความจริงอย่างที่สุด. และด้วยเหตุนี้ ภาพชาวเสียมกุกจึงผิดจากภาพของพวกละโว้และพวกเขมรใดๆ ทั้งหมดอย่างเห็นได้ชัด, ไม่ว่าจะเป็นเค้าหน้า เรือนร่าง หรือเครื่องแต่งกาย.
เราต้องเชื่อช่างสลักฝีมือดีของเขมรโบราณที่ทำงานสลักชิ้นนี้. เขาภูมิใจในผลงานของเขาเพียงใด จะเห็นได้จากคำที่เขาจารึกบอกไว้สั้นๆ ว่า เนะ สฺยากุก (นี่เสียมกุก)!

 

ภาพจำลองการเเต่งกายชาวเสียมกุก

 

ที่มา: พันทิป
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
JAIJAINOI's profile


โพสท์โดย: JAIJAINOI
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
58 VOTES (4.1/5 จาก 14 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง, แสร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวจีนดองงูตัวเป็นๆไว้ในเหล้า 3 เดือน เปิดมาอีกทีโดนกัดเกือบตุย!มันบังเอิญไปมั๊ย..เจอรูปตัวเองกลายเป็นผ้าปูโต๊ะกับระเบิดในกัมพูชา มีแม้กระทั่งบนต้นไม้"ดีเจต้นหอม" โพสต์โดนใจ..ทำไมถึง "อย่ามีลูก"ชาวต่างชาติ นิยมทำงานในร้านสะดวกซื้อที่ญี่ปุ่นส่อง 2 ไอเท็มล่าสุดของลิซ่ารู้หรือไม่ แมลงสาบนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
8 ท่าออกกำลังกาย ช่วยหน้าอกกระชับซื้อกิน VS ทําอาหารกินเอง อันไหนประหยัดเงินมากกว่ากัน ?3 ราศี ที่ชอบซ่อนความรู้สึกนกแต้วแร้วแปดสี: นกสวยงามที่ใกล้สูญพันธุ์
ตั้งกระทู้ใหม่