Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

10 อันดับ เกี่ยวกับ พรรค ประชาธิปัตย์

โพสท์โดย I sea u

ทีมงาน Topten Thailand ขอนำเสนอ 10 อันดับเกี่ยวกับ พรรค ประชาธิปัตย์

ที่มา :

10. Topten Thailand ขอนำเสนอ หัวหน้าพรรค คนปัจจุบัน ของ พรรค ประชาธิปัตย์

หัวหน้าพรรค คนปัจจุบัน ของ พรรค ประชาธิปัตย์ คือ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นี่คือ ประวัติโดยสังเขป อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลกับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน ในขณะที่อภิสิทธิ์ยังมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธร ระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจากพระยาศรีวิศาลวาจา[16] หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี อภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) จังหวัดนครนายก ระหว่าง พ.ศ. 2530–2531 ได้รับการแต่งตั้งยศร้อยตรี[17] ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง ปริญญานิพนธ์ของนายอภิสิทธิ์ได้รับการยอมรับในระดับดีมาก โดยเทียบได้กับเกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[17] หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย[17] ต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[18] จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[19] และต้นปี พ.ศ. 2554 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[20] และในต้นปี พ.ศ. 2554 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[21] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ นางสาวปราง เวชชาชีวะ และ นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ[22]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยังดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

9. Topten Thailand ขอนำเสนอ จำนวน ส.ส. ทั้งหมดของ พรรค ประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2500 - 2551

ณ การเลือกตั้งวันที่ 26 ก.พ. 2500 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 30 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 15 ธ.ค. 2500 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 39 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 30 ม.ค. 2501 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 13 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 10 ก.พ. 2512 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 55 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 26 ม.ค. 2518 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 72 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 4 เม.ย. 2519 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 114 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 22 เม.ย. 2522 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 35 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 18 เม.ย. 2526 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 56 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 27 ก.ค. 2529 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 100 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 24 ก.ค.2531 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 48 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 22 มี.ค. 2535 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 44 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 13 ก.ย. 2535 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 79 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.ค. 2538 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 86 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 17 พ.ย. 2539 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 123 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 6 ม.ค. 2544 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 130 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 6 ก.พ. 2548 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 96 คน ณ การเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค. 2550 พรรค ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ทั้งสิ้น 164 คน

8. Topten Thailand ขอนำเสนอ รายนามหัวหน้า พรรค ตั้งแต่ อดีตจนถึง ปัจจุบัน

รายนามหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ 1 พันตรี ควง อภัยวงศ์ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2511) พ.ศ. 2489 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 (ถึงแก่อสัญกรรม) • อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย 2 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) พ.ศ. 2511 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 • อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย 3 พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 — ) 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 3 เมษายน พ.ศ. 2525 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ • ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน 4 นายพิชัย รัตตกุล (16 กันยายน พ.ศ. 2469 — ) 3 เมษายน พ.ศ. 2525 26 มกราคม พ.ศ. 2534 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3 สมัย • อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร 5 นายชวน หลีกภัย (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 — ) 26 มกราคม พ.ศ. 2534 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 • อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย • อดีตรมต.หลายกระทรวง 6 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน (7 กันยายน พ.ศ. 2485 — ) 20 เมษายน พ.ศ. 2546 8 มกราคม พ.ศ. 2548 (ลาออก) • อดีตรองนายกรัฐมนตรี • อดีตรมต.หลายกระทรวง 7 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 — ) 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปัจจุบัน • นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน • อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย * อดีต อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [แสดง] ด • พ • ก พรรคประชาธิปัตย์

7. Topten Thailand ขอเสนอ ผลงานของ พรรค ประชาธิปัตย์

จัดตั้ง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย (ครม. คณะที่ 50 (23 ก.ย.35 - 13 ก.ค.38)) จัดทำโครงการขยายถนน 4 ช่องทางจราจรไปทั่วทุกภูมิภาคเป็นครั้งแรก ตามนโยบายหลักของรัฐบาลชวน 1 ที่ขยายถนน 4 ช่องทางจราจรจากกรุงเทพฯ ไปภาคเหนือถึงเชียงราย ไปภาคอีสานถึงหนองคาย ไปภาคตะวันออกถึงตราด และไปภาคใต้ถึงนราธิวาส โครงการเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์และได้ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมหลักของประเทศจนถึงปัจจุบัน จัดทำโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายแรกของประเทศไทยคือ ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี โดยอนุมัติและเริ่มก่อสร้างในสมัยรัฐบาลชวน 1 เมื่อปี พ.ศ. 2537 และเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในสมัยรัฐบาลชวน 2 จัดทำ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย (ครม. คณะที่ 50 (23 ก.ย.35 - 13 ก.ค.38)) ทำให้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใหม่ ที่เป็นการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่นทั่วประเทศ คือ “องค์การบริหารส่วนตำบล” หรือ อบต. ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จัดตั้ง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดย รัฐบาล นายชวน หลีกภัย (ครม. คณะที่ 50 (23 ก.ย.35 - 13 ก.ค.38)) มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 และต่อมาได้จัดทำ พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 ขึ้นในรัฐบาลชวน 2 (ครม. คณะที่ 53 (14 พ.ย.40 - 9 พ.ย.43)) จัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย (ครม. คณะที่ 53 (14 พ.ย.40 - 9 พ.ย.43)) ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกของไทย ที่มอบสิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีแก่เยาวชนไทย โดยรัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย พระราชบัญญัติดังกล่าวจัดทำจนสำเร็จโดยการกำกับดูแลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในขณะนั้น จัดตั้งโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วประเทศ

6. Topten Thailand ขอเสนอ 65ปี ประชาธิปัตย์เคียงคู่ประชาชน บนวิถีทางประชาธิปไตย

พรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันการเมือง ที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติพรรคการเมืองโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 มีพันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น เลขาธิการพรรคคนแรก ตลอดระยะเวลา 65 ปีที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำแนกได้เป็น 5 ยุค คือ ยุคที่หนึ่ง (พ.ศ. 2489-2501) : ยุคแห่งการสร้างพรรคและสร้างประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ในระยะแรกหลังการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยสภาพการเมืองของประเทศไทยมีความผันผวนเนื่องจากอยู่ในช่วงเริ่มต้น การดำเนินการทางการเมืองอยู่ในวงแคบ พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์ ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลรับเชิญของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยมีพันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลแห่งกลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระหว่างปี 2501-2511 บทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยุติลงชั่วคราว เมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจ การปกครอง และเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จในปี 2501 ยุคที่สอง (พ.ศ. 2511-2519) : ยุคแห่งการฟื้นฟูพรรคและเชิดชูประชาธิปไตย ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511ทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 โดยมี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายค้านรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ยุคที่สาม (พ.ศ. 2522-2533) : ยุคแห่งการปรับปรุงนโยบายและเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง ในปี 2521 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522 นับเป็น การเข้าสู่ยุคที่สามของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (1, 2, 3, 4, 5) ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ยุคที่สี่ (ปลายปี พ.ศ. 2533-2544) : ยุคแห่งการเป็นรัฐบาลของประชาชนและฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2533 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หลังจากนั้นได้เกิดผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรง นำไปสู่เหตุการณ์ยึดอำนาจของ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.)” และเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในที่สุด ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางการเมืองในยุคที่สี่นี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามามีบทบาทต่อต้านเผด็จการเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน จนกระทั่งเหตุการณ์สงบและนำไปสู่การเลือกตั้งในเดือนกันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 79 คน และได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลกีภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้เ้ข้า้บริหารประเทศเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง จนถึงกลางปี 2538 เหตุการณ์ทางการเมืองได้เกิดพลิกผันอีกครั้ง และนำไปสู่การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ในครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 86 คน และดำเนินการทางการเมืองเป็นฝ่ายค้านรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพ ติดตามตรวจสอบการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลจนในที่สุดนายบรรหาร ศลิปอาชา ต้องประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 หลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่ โดยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศเป็นระยะเวลา 11 เดือนเศษ ในปี 2540 ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ ที่เกิดจากความล้มเหลวในการปกป้องค่าเงินบาทจนในที่สุด พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในขณะนั้นต้องไปกู้เงินจาก “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)” เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ จึงประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์โดยนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของชาติในครั้งนั้น เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ได้ปฏิบัติภารกิจจนครบวาระของรัฐบาลในปลายปี 2543 และจัดให้มีการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 ยุคที่ห้า (พ.ศ. 2544-2551) : ยุคแห่งการต่อสู้เผด็จการรัฐสภา และต่อต้านการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อผลประโยชน์ทับซ้อน หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยนำโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลบริหาร ประเทศ โดยมีการยุบรวมพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กกว่า อาทิพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรมเข้าด้วย ทำให้พรรคไทยรักไทยมีเสียงในสภาจำนวน 294 เสียง ต่อมาภายหลังมีการยุบรวมพรรคชาติพัฒนาเข้าด้วยอีกทำให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส. ถึง 319 คน เมื่อไปร่วมกับพรรคชาติไทย 24 คน และพรรคความหวังใหม่ที่เหลืออีก 1 คน ทำให้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงในสภามากถึง 344 เสียง คุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด พรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส. เพียง 128 คน ได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านต่อสู้กับระบอบเผด็จการรัฐสภาอย่างเข้มแข็ง เพื่อคัดค้านการใช้กลไกของรัฐสภาในการออกกฎหมายและต่อต้านการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมและเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้อง จนเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน กระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 การเลือกตั้งในปี 2548 ถือเป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทยมีความฮึกเหิมเป็นอย่างยิ่ง การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกครอบงำทั้งโดยอำนาจรัฐและอำนาจเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในขณะนั้น ถูกตั้งข้อ สังเกตในความไม่เ่ป็นกลาง และเอื้อประโยชน์ใ์ห้แ้ก่พรรคการเมืองบางพรรคหลังการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้ง 377 คน พรรคประชาธิปัตย์ 96 คน พรรคชาติไทย 25 คน พรรคมหาชน 2 คน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น คือ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้เลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2548 นอกจากจะคุมเสียงเบ็ดเสร็จในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยังพยายามดึงสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนให้มาเป็นพวกเพื่อสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล มีการแทรกแซงสื่อสารมวลชน องค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในคดีต่างๆ อาทิ คดีซุกหุ้น คดียุบพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ด้วยความเข้มแข็ง ต่อสู้กับอำนาจทั้งในระบบและนอกระบบ อย่างกล้าหาญ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศยุบสภาเพื่อหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่กองทุนเทมาเส็ก และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549 การเมืองในช่วงดังกล่าวมีความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างหนักคดีการเลือกตั้งทุจริตของพรรคไทยรักไทยและคดีการเลือกตั้งในปี 2548 เกิดความไม่เป็นธรรมทั่วประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ประท้วงการเลือกตั้งด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ต่อสู้ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่พรรคไทยรักไทยได้ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จนในที่สุดศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาให้ กกต. ทั้ง 3 คนมีความผิดทางอาญา ลงโทษจำคุก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะและให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่แล้วในที่สุดก็ได้เกิดการรัฐประหารขึ้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า ได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศส่วน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต้องสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ กระทั่งตกเป็นนักโทษในคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจนปัจจุบัน เมื่อรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ บริหารประเทศได้ 1 ปีเศษ ก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคไทยรักไทยซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินและมีคำพิพากษาให้ยุบพรรคได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกครั้งด้วยจำนวน ส.ส.232 คน พรรคพลังประชาชนได้ร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ โดยมีพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีจำนวน ส.ส. 164 คน เป็นฝ่ายค้านการบริหารประเทศโดยรัฐบาลที่เป็นตัวแทนกลุ่มอำนาจเก่า ถูกต่อต้านจากประชาชนเป็นวงกว้างจนเกิดการรวมตัวขึ้นเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อมานายกรัฐมนตรีของรัฐบาลพรรคพลังประชาชน 2 คน ต้องพ้นจากตำแหน่งไป พร้อมๆ กับการถูกยุบพรรคพลังประชาชนอีกครั้งด้วยคดีทุจริตการเลือกตั้ง แล้วเปลี่ยนไปใช้ชื่อพรรคเพื่อไทย เหตุการณ์ทางการเมืองที่ผันผวนทำให้เกิดการแตกแยกอย่างรุนแรงในประเทศ ความไม่ชอบธรรมในการบริหารบ้า้นเมืองของรัฐบาลทำให้เ้กิด วิกฤตนึ้กับประเทศไทยอีกครั้ง แต่ในที่สุดเมื่อพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในขณะนั้นประสบปัญหาจึงได้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ พรรคประชาธิปัตย์โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 17 ธันวาคม 2551จึงนับเป็นการยุติบทบาทการเป็นฝ่ายค้าน 8 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์และกลับเข้าเป็นรัฐบาลของประชาชนเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศชาติในภาวะวิกฤติ มุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมือง และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันนี้

5. Topten Thailand ขอเสนอ ประวัติหัวหน้าพรรคคนแรก ของ พรรค ประชาธิปัตย์

หัวหน้าพรรคคนแรก ของพรรค ประชาธิปัตย์ คือ นาย ควง อภัยวงศ์ นี่คือ ประวัติ โดย สังเขป นายควง อภัยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 ณ จังหวัดพระตะบอง ซึ่งขณะนั้นอยู่ใน มณฑลบูรพา ของราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา) เป็นบุตรของ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการจังหวัดพระตะบอง กับคุณหญิงรอด สมรสกับ คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ นายควงเคยรับราชการเป็น นายช่างผู้ช่วยโท แผนกกองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข นายควงได้รับพระราชทานยศพันตรี ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อคราวร่วมสงครามอินโดจีน พ.ศ. 2484 และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น หลวงโกวิทอภัยวงศ์ แต่ต่อมาได้ลาออกจาก บรรดาศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งในสงครามครั้งนี้ นายควงได้ทำหน้าที่เป็นนายทหารช่างผู้คุมงานก่อสร้างถนนไปเชียงตุง และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานการรับมอบดินแดนมณฑลบูรพาจากอินโดจีนฝรั่งเศสอีกด้วย นายควง อภัยวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 รวมอายุได้ 66 ปี ด้วยโรคทางเดินหายใจขัดข้อง

4. Topten Thailand ขอเสนอ สีประจำพรรค ประชาธิปัตย์

สีประจำพรรค คือ สีฟ้า มีความหมายถึง อุดมการณ์อันบริสุทธิ์

3. Topten Thailand ขอเสนอ ความหมายของ สัยลักษณ์ พรรค ประชาธิปัตย์

สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม มีฟ่อนข้าวประดับอยู่เป็นขอบ โดยมีความหมายว่า พระแม่ธรณีบีบมวยผม หมายถึง การเอาชนะมารหรือความชั่วร้ายต่าง ๆ ฟ่อนข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวมีที่มาจากการที่พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดปราศรัยที่สนามหลวงแล้วฝนเกิดตกลงมา แต่ผู้ที่มาฟังไม่มีใครวิ่งหลบเลย ยังคงนั่งฟังกันต่อ จึงมีผู้ปรารภขึ้นมาว่า น่าจะใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ ต่อมานายควงได้จัดรถช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ภาคเหนือ ที่ข้างรถตู้คันหนึ่งมีสัญลักษณ์รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมติดอยู่ จึงนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์พรรค

2. Topten Thailand ขอเสนอ ประวัติการก่อตั้งพรรค ประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2489 เป็นพรรคการเมืองที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย และยังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

1. Topten Thailand ขอเสนอความหมายของคำว่า ประชาธิปัตย์

คำว่า “ประชาธิปัตย์” หรือ Democrat หมายถึง “ประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย” ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 


โพสท์โดย: I sea u
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สีสันของงานสงกรานต์ไทย ดาวสีลม ชีคนนี้นางมาทุกปี!!สงกรานต์แรกในชีวิต หนุ่มอังกฤษโดนสาดจนตัวเปียก เล่าประสบการณ์ "มันส์กว่าในคลิป"ตร.ทท.กระบี่เจอตัวแล้ว นักท่องเที่ยวอังกฤษวัย 26 หายตัวปริศนากลางพีพี สุดท้ายพบตัวปลอดภัยที่โรงแรมในเมืองกระบี่ผบ.ทหารมะกันเผย "5 แสนคนเสียชีวิต หากเกิดสงคราม ในช่องแคบไต้หวัน"เปิดค่าตัว"โตโน่ ภาคิน"เห็นเรทราคาแล้วต้องร้องว้าวเลยหาดไม้ขาว จุดชมเครื่องบิน unseen ภูเก็ตเรียกรอยยิ้ม..สงกรานต์..สนุกสุขใจ..ในวันที่ฝนตก..ฮาๆ🤣😂เลขใบเขียว งวด 16 เมษายน 2568เมื่อเหล่าตัวละครใน Resident Evil มาเล่นสงกรานต์บ้านเราเกม Marvel Rivals เปิดเผยชุดใหม่ของ Penny Parker กับ หมอแปลก ที่จะมาในวันที่ 17 เมษายนนี้10 อันดับหนังผียอดฮิตตลอดกาล สั่นประสาทคนดูทั่วโลกทหารจีนที่ถูกยูเครนจับออกมาพูดแล้ว!!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สีสันของงานสงกรานต์ไทย ดาวสีลม ชีคนนี้นางมาทุกปี!!เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ขนาด 5.2 แมกนิจูดที่แคลิฟอร์เนียเพชรสังเคราะห์จีน ทำมูลค่าเพชรแท้ทั่วโลกดิ่ง คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีเทียบเพชรจริงเปิดค่าตัว"โตโน่ ภาคิน"เห็นเรทราคาแล้วต้องร้องว้าวเลย
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง