เรื่องจริงหรือเล่าอ้าง...ฆ่าพระเจ้าตาก
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช (สมเด็จพระรามาธิบดีที่4) กอบกู้ชาติ แต่ทำไมจุดสิ้นสุดของผู้มีคุณูปการของบ้านเมือง ตามที่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ น่าสงสารมากล่ะครับ อ่านประวัติศาสตร์แล้วเชื่อตามนั้น จะเป็นยังไงครับ เพื่อนรักคนสนิท หักหลัง แล้วทุบด้วยท่อนจันทน์ แล้วนั่งเมืองแทน ??....
ผมจะเริ่มด้วยบทนำของ "หลวงวิจิตวาทการ" ที่เขียนใน "หนังสือใครฆ่าพระเจ้าตาก" ท่านเขียนว่า
เรื่องต่าง ๆ ที่ประมวลมาเป็น “วิจิตรวรรณกรรม” เล่มนี้ จำเป็นต้องมีคำอธิบายบ้าง เรื่องแรกคือ “ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน” เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความสนใจมากเกินกว่าที่ข้าพเจ้าคาดหมายไว้เมื่อแรก เขียน สำนักงาน”เพลินจิตต์” ได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบ ในขณะที่เรื่องนี้ลงใน “เพลินจิตต์รายสัปดาห์” ว่ามหาชนได้แสดงความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างสูง มีจดหมายมากมายหลายฉบับ ถามไปทางสำนักพิมพ์ ว่าเรื่องนี้มีความจริงในประวัติศาสตร์เพียงไร
ยิ่งกว่านั้น เจ้าหน้าที่ทางหอสมุดแห่งชาติเองก็บอกข้าพเจ้าว่า มีผู้ไปสอบถามหลายคน ถึงเรื่องมีผีดุในหอสมุด ว่ามีจริงหรือไม่ และตัวข้าพเจ้าเองก็ถูกถามบ่อย ๆ จากผู้ที่ได้พบปะ ว่าเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน” นั้น เขียนเล่นหรือเขียนจริง
ข้าพเจ้าไม่รู้จะทำอย่างไร การที่จะตอบว่าเรื่องนี้มีความจริงในประวัติศาสตร์เพียงไรก็ดี หรือที่จะตอบว่า ข้าพเจ้าเขียนเล่นหรือเขียนจริงก็ดี เป็นเรื่องที่**ตอบยาก** แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนเรื่องนี้ มีหลังฉากซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่เปิดเผย แต่เมื่อบทประพันธ์นี้ กลายเป็นที่สนใจใหญ่หลวงของมหาชน ข้าพเจ้าจำเป็นต้องเผยออก โดยหวังว่า การเผยหลังฉากนี้จะทำความพอใจให้แก่ท่านผู้อ่านได้บ้าง
เมื่อราวปีหนึ่ง ก่อนเขียนเรื่องนี้ ท่านผู้มีเกียรติผู้หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายตรงจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็ผู้ใหญ่มากพอที่จะไม่พูดอะไรเล่น ๆ กับข้าพเจ้า ท่านยืนยันพร้อมด้วยหลักฐาน** คำบอกเล่าที่ท่านได้ยินได้ฟังและจำจำสืบต่อกัน**ว่า
“สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูก ประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ในวันที่ ๕ เมษายน พศ. ๒๑๒๔ อย่างที่ปรากฏในพงศาวดาร แต่มาสิ้นพระชนม์เมื่อ ๓ ปีภายหลัง และสิ้นพระชนม์ด้วยฆาตกรรม ถูกตีอย่างทารุณในขณะที่ทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในถ้ำ ภายใต้ความคุ้มครองของกาสาวพัสตร์ ส่วนคนที่ถูกประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์นั้น เป็นคนอื่นไม่ใช่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
จาก คำนำ เรื่อง ใครฆ่า พระเจ้ากรุงธนบุรี ของหลวงวิจิตรวาทการ
--------------------------------------------------------------------------------
(ในรูปคือเขาขุนพนมที่ผมและ "รุจ" โดยการนำทางจากความทรงจำของคุณแม่ของรุจในวัยกว่าแปดสิบปี ท่านได้พาผมมาด้วยตัวเองจนถึงจุดที่พระเจ้าตากท่านมาหลบซ่อนตัวที่นครศรี ธรรมราช )
"กษัตริย์ ผู้เกรียงไกร พระเจ้าตากสินมหาราช เป็นกษัตริย์ที่สร้างกรุงธนบุรีหลังจากที่ไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับ พม่า นักประวัติศาสตร์ไทยบางคนกลับไม่เชื่อว่า พระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แต่เสด็จหนีลงเรือมาประทับ ณ วัดเขาขุนพนม ทรงดำรงพระองค์อย่างสมณเพศ ทรงสั่งสอนสมถะวิปัสสนา และทรงรับบิณฑบาตจากราษฎรและสวรรคต ณ ที่ประทับวัดเขาขุนพนม"
เป็นข้อความที่จารึกอยู่ ณ ปากถ้ำบนภูเขา วัดเขาขุนพนม
วันที่ผมไปถึง สภาพรอบๆเขายังเป็นป่าดิบๆอยู่พอสมควร ผมประทับใจที่ยังไม่มีพวกทัวร์มาลงจนเสื่อมสภาพ ต้นตอของเรื่องที่พูดกันและเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น ๆ
สรุปว่าพระเจ้าตากสินทรงยืมเงินจากรัฐบาลจีนจำนวนมาก เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันบ้านเมือง จนถึงปลายรัชกาลก็ไม่มีเงินใช้หนี้รัฐบาลจีนซึ่งคุกคามทวงหนี้คืน หาไม่ก็จะเอาไทยเป็นเมืองขึ้น หรืออะไรทำนองนั้น
สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงแก้สถานการณ์นี้โดยการตกลงอย่างลับ ๆ กับ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งเป็นพระสหายและลูกน้องคนสนิท โดยพระองค์เองแสร้งกระทำการประหนึ่งวิกลจริตเพื่อให้พระสหายยึดอำนาจจาก พระองค์เสีย
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ต้องเสียสละชื่อเสียงเกียรติยศใน การหักหลังเพื่อน โดยการยึดอำนาจจากพระเจ้าตากสิน ทั้งทำข่าวให้ระบือไปว่าได้ประหารชีวิตพระเจ้าตากสินเสียแล้ว แต่ความจริงผู้ที่ถูกประหารคือข้าเก่าที่มีรูปร่างหน้าตาละม้ายพระเจ้าตาก สินเท่านั้น
ส่วนตัวพระเจ้าตากสินนั้น ถูกส่งอย่าง "ลับ ๆ" ให้ไปดำเนินพระชนม์ชีพในบั้นปลายที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีพระราชโอรสของพระองค์ คือเจ้าพระยานคร (น้อย) อยู่ในฐานะเป็นบุตรของเจ้าพระยานครพัดแล้ว
ส่วนเมืองนครศรีธรรมราชมีตำนานเล่ากันว่า เมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้หลบมาบวชและพำนักอยู่ที่นครศรีธรรมราช ที่ประทับได้แก่ ที่อำเภอลานสกา และที่อำเภอเมือง ปัจจุบันเล่ากันว่า ที่อำเภอลานสกาเป็นที่ซึ่งพระองค์ได้แวะพักระหว่างที่เสด็จมายังเมืองนครฯ ส่วนที่ประทับถาวรก็คือ วัดเขาขุนพนม ในเขตอำเภอเมือง
นอกจากนี้ เรื่องเล่ากันในหมู่สมาชิกตระกูล "ณ นคร" บางกลุ่มในปัจจุบัน บอกว่าหลังจากที่พระเจ้าตากสินทรงผนวชที่วัดเขาขุนพนมระยะหนึ่งแล้ว ก็ได้ประชวรด้วยพระโรคอย่างหนึ่ง จึงจำเป็นต้องทรงลาผนวช แล้วเสด็จไปประทับอยู่ในจวนของเจ้าพระยานคร (น้อย) ในสมัยรัชกาลที่ ๓
มีการอ้างด้วยว่า เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคตแล้ว ได้มีใบบอกเข้าไปแจ้งรัฐบาลในกรุงเทพฯ ว่า "ท่านข้างใน" สิ้นแล้ว ส่วนพระบรมศพนั้นก็ได้ไปตั้งทำการพระเมรุที่ชายทะเลแห่งหนึ่งในจังหวัด นครศรีธรรมราช
ทั้งนี้ มีการอ้างถึง "หลักฐาน" เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเรื่องนี้อีกว่า ที่วัดแจ้งและวัดประดู่ซึ่งมีเก๋งไว้อัฐิของเจ้านคร (หนู) หม่อมทองเหนี่ยวชายา และของเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้น มีศิลาจารึกภาษาจีนอยู่ ๓-๔ หลัก หนึ่งในนี้มีผู้อ้างว่า มีข้อความกล่าวถึงว่าเป็นหลุมศพของ "ผู้เป็นใหญ่แซ่เจิ้ง" เนื่องจากพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน "แซ่เจิ้ง"
สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงใช้ "แซ่เจิ้ง" ด้วย สำเนียงแต้จิ๋วเรียก "แต้" เรื่องนี้เป็นความจริงเพราะมีหลักฐานชั้นต้นยืนยันจำนวนมาก รวมทั้งพระราชสาส์นของพระเจ้าตากสินที่ทรงมีถึงพระเจ้ากรุงจีนก็ใช้ "แซ่เจิ้ง"
เอาเป็นว่าผมเล่าเรื่องที่ได้ยินมาตามสำนวนของผมก็แล้วกัน ผมจะจับความตอนที่พระยาจักรีได้เมืองแล้วพระยาพิชัยดาบหักที่ยกทัพตามลงมา ตั้งแต่ได้ข่าวว่ากรุงธนบุรีถูกทัพกบฎล้อมแต่ก็สายไปแล้วได้พบว่าพระเจ้าตาก ถูกพระยา จักรีสั่งประหารเรียบร้อยก่อนหน้าไปหลายวัน พระยาพิชัยดาบหักโกรธมากไสช้างเข้าเมืองมาร้องเรียกให้พระยาจักรีออกมาคุย กัน
พระยาจักรีตอนนั้นเป็นกษัตริย์แล้วได้ออกมากับน้องชายที่เป็น พระราชวังบวร ได้พบกับสหายเก่าร่วมรบพระยาพิชัยดาบหักร้องท้าทายว่าเอ็งอยากเป็นกษัตริย์ ถึงกับฆ่าท่านใหญ่เลยหรือวะ เอ็งมารบกับข้าดีกว่าข้าก็อยากเป็นด้วยเหมือนกัน พระยาจักรีร้องตอบไปว่าใครบอกว่าข้าฆ่าท่านใหญ่วะเอ็งลงมาจากช้างมาดูดีกว่า ว่าท่านใหญ่มีชีวิตหรือเปล่า
เมื่อพระเจ้าตากได้พบกับพระยาพิชัยที่เป็นทั้งสหายและลูกน้องเก่าก็พูดคุย เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พูดถึงความจำเป็นในการหลอกเมืองจีนเรื่องบ้าแล้วโดนประหารเพื่อล้างหนี้ มหาศาลในการกู้เงินมาทำนุบำรุงบ้านเมือง พิชัยอยู่กับพระยาจักรีในที่ลับก็พูดกันประสาเพื่อนร่วมรบแก่เก่าก่อนว่า ให้รับราชการร่วมกัน เล่นละครบทนี้ต่อ พระยาพิชัยก็ประกาศว่า ไม่ยอมเป็น ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย
ความจริงก็เพื่อนกันแต่พระยาพิชัยทำใจไม่ได้ พระยาจักรีก็สั่งฆ่าพระยาพิชัย แต่พระยาพิชัยไม่ตายเป็นละครอีกบทของพระยาพิชัย มีนักโทษประหารชีวิตตายแทนพระยาพิชัย ตัวจริงก็เปลี่ยนเป็นชื่ออื่นแล้วไปอยู่ที่อื่นใช้ชีวิตแบบสงบ
ตกคืนนั้นพระเจ้าตากก็นั่งคานหามออกไปจากวังในกลาดึกคืนนั้น นั่งเรือลงไปนครศรีธรรมราชกับลูกชาย เข้าจำพรรษาที่ลานสกานอกเมืองนครฯ ส่วนลูกชายก็ไปนั่งเมืองนครฯ เป็นเจ้าเมือง ท่านไม่ได้ไปเพียงท่านกับลูกชาย มีพระสนมที่ติดตามไปดูแลท่านอีกคนหนึ่ง และทหารเสือพระเจ้าตากเชื้อสายจีนร้อยแซ่ ตั้งแต่สมัยกู้บ้านเมืองจากพม่า ได้ติดตามท่านไปสมทบด้วยอีกประมาณ 500 คน เพื่อรักษาท่านเอาไว้ไม่ให้ใครตามมารบกวนท่านอีก
ทหารเสือพระเจ้าตากเหล่านี้ได้สร้างที่จำพรรษาให้ท่านบนยอดเขาขุนพนม ถาวรวัตถุที่หลงเหลือเห็นในตอนนี้ เป็นศิลปะจีนทั้งถ้วยชามจีนบนฝาผนังและลายพระพุทธบาทแบบจีนในวัด ทั้งมีการอ้างว่าพระยาน้อยเจ้าเมืองนคร คือลูกของท่านกับหม่อมปราง
อีกทั้งเจ้าชุมนุมนครฯเป็นเจ้าชุมนุมเดียวที่พระเจ้าตากไว้ชีวิต เมื่อครั้งรวบรวมประเทศเข้าตีชุมนุมนครฯ อีกทั้งยังถวายลูกสาวเจ้าเมืองนครฯ เข้าดองเป็นสนมภายหลังอีกด้วย
ลักษณะที่ตั้งของ "เขาขุนพนม" ที่อยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมในการป้องกันภัยของพระองค์ ความผูกพันต่อเจ้าชุมนุมเมืองนครทีมีความเกี่ยวดอง ในลักษณะพ่อตากับลูกเขย
ในหลายเหตุผลที่ยกมาเป็นพยานหลักฐาน หรือเป็นสมมุติฐานที่เชื่อได้ หรือยังว่านครศรีธรรมราช และเขาขุนพนมก็คือสถานที่มีความเหมาะสม เป็นฐานที่มั่นในการหลบภัยทางด้านการเมือง ที่ไว้ใจได้มากที่สุดของพระเจ้าตากสิน ถือว่าเป็นหนึ่งในความเชื่อว่าพระเจ้าตากสิน สิ้นพระชนม์ที่เมืองนครฯ ของชาวนครเองที่เล่าขานมาหลายชั่วรุ่นคน
วันนี้ผมเล่าเรื่องพระเจ้าตากอย่างมีความสุขมาก อยากให้เรื่องจริงเป็นอย่างนั้นจริงๆ ผมอยากให้ท่านมีชีวิตรอดใช้ชีวิตในสมณะเพศที่เขาขุนพนม
ผมยังฝันต่อไปอีกว่าอยากจะเป็นหนึ่งในทหารเสือพระเจ้าตาก ที่ย้อนเวลากลับไปใช้ชีวิตสงบๆ ที่เขาขุนพนมหลังศึกกู้บ้านเมืองสิบห้าปีพร้อมกับท่าน เพราะว่าเขาขุนพนมที่ผมไปพบมามันน่าอยู่มาก
ผมจะพาขึ้นเขาขุนพนมแล้วครับ เดินตามผมมาเลยมีบันไดขึ้นประมาณสองร้อยกว่าขั้นไม่เหนื่อยมากจนเกินไป คุณแม่อายุแปดสิบแล้วยังขึ้นสบาย ตลอดสองทางก็เขียวชื้นเป็นป่ากึ่งดิบ มีไม้ดอกไม้ใบให้ดูแก้เหนื่อยตลอดทาง
ในที่สุดก็ขึ้นมาถึงยอดเขาขุนพนมจุดที่พระเจ้าตากท่านมาบวชซ่อนตัว อยู่ ปัจจุบันนี้ทำเป็นลานคอนกรีตบริเวณหน้าถ้ำที่ท่านอยู่จำพรรษา สร้างรูปของท่านในสภาพของพระภิกษุไว้กราบบูชา (โปรดสังเกตรูปปั้นที่วัดขุนพนม กับรูปปั้นที่วัดท่าซุง จะมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก - ผู้จัดทำเว็บวัดท่าซุง) จะตอบคำถามนี้ให้ผมที
โพสท์โดย: moses