หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หายนะของทะเลอารัล : จากทะเลกลายเป็นทะเลทราย

โพสท์โดย moses


 

             หากใครอยู่ในแวดวงของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคงพอเคยได้ยินเรื่องของทะเลอารัลมาบ้าง แต่สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย ทะเลอารัลหรือทะเลสาบอารัล คือ 1 ใน 4 ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ 68,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าจังหวัดนครราชสีมาประมาณ 3.5 เท่า ทะเลอารัลเป็นทะเลสาบน้ำเค็มตั้งอยู่ระหว่างประเทศคาซัคสถานกับอุซเบกิสถาน  เกิดจากแม่น้ำ 2 สาย ไหลมาบรรจบกันกลางแผ่นดินที่เป็นทะเลทราย  ด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลและอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้การประมงในทะเลอารัลเฟื่องฟู เรือน้อยใหญ่จำนวนมากออกหาปลา สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เมืองท่าที่อยู่รอบๆ ทะเลอารัลเจริญอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าทะเลอารัลเปรียบเสมือนเส้นชีวิตของคนที่อาศัยอยู่แถบนั้น
 
แต่ที่กล่าวมาเป็นทะเลอารัลในช่วงก่อนปี 2500


 

ปัจจุบัน ทะเลอารัลมีสภาพตามรูปด้านล่าง เป็นทะเลทรายสุดลูกหูลูกตา


 


 

             ในช่วงยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม รัฐบาลของสหภาพโซเวียตมีนโยบายที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงสนับสนุนให้ปลูกฝ้ายเพิ่มขึ้นเพื่อป้อนวัตถุดิบให้โรงงาน เมื่อจะทำการเกษตรจำเป็นต้องมีน้ำ รัฐบาลจึงสั่งให้ขุดคลองชลประทานขึ้น โดยขุดคลองแยกออกจากแม่น้ำ ทั้ง 2 สาย เพื่อผันน้ำ แบ่งไปใช้ในการทำไร่ฝ้าย คลองชลประทานเริ่มเปิดใช้งานประมาณปี 2500 และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของหายนะ
 
             อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าทะเลอารัลเกิดจากแม่น้ำ 2 สาย อามุ ดาเรีย (Amu Darya) และเซียร์ ดาเรีย (Syr Darya) ไหลมาบรรจบกัน น้ำที่ไหลมาถึงทะเลอารัลจึงไม่ได้ไหลลงสู่ทะเลเหมือนน้ำในแม่น้ำส่วนใหญ่ เมื่อทะเลอารัลมีสภาพเป็นแหล่งน้ำปิด ปริมาณน้ำในทะเลจึงตั้งอยู่บนสมดุลระหว่างน้ำที่ไหลมารวมกันที่ทะเล (หรือทะเลสาบ) กับน้ำที่ระเหยไปเพราะแสงแดด ในอดีตนั้นปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลกับน้ำที่ระเหยไปเกือบจะเท่ากัน แต่เมื่อมีการขุดคลองชลประทานแบ่งน้ำบางส่วนจากแม่น้ำไปใช้ในการเกษตร ทำให้น้ำที่ไหลลงทะเลอารัล น้อยกว่าน้ำที่ระเหยไป สมดุลที่มีมายาวนานจึงเสียไป


 

 

 



 กราฟแท่งแสดงปริมาณน้ำเข้า-ออก ของทะเลอารัล ก่อนปี 2503 น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลอารัล
ทั้งจากแม่น้ำและน้ำใต้ดินรวมกันแล้ว มากกว่าน้ำที่ระเหยไปเล็กน้อย แต่หลังจากทำชลประทาน
เป็นต้นไป ปี 2504 ปริมาณน้ำในแม่น้ำที่ไหลลงทะเลอารัล (แท่งสีฟ้า) ลดลง ทำให้ปริมาณ
น้ำรวม (แท่งสีแดง) ขาดดุล

 

 


 


             เมื่อน้ำที่ไหลลงทะเลน้อยกว่าน้ำที่ระเหยจากทะเล ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำในทะเลอารัลค่อยๆ ลดลง ช่วงแรกๆ หลังจากเปิดใช้คลองชลประทาน ระดับน้ำในทะเลสาบลดลงปีละประมาณ 20 เซนติเมตร น้อยจนแทบไม่มีใครสังเกตเห็น หรือถึงแม้จะเห็นก็คงคิดว่า "แค่ไม่กี่เซนติเมตรเอง" ไม่ได้ตระหนักถึงผลที่จะตามมา ระหว่างนั้นการเกษตรขยายตัวขึ้น ต้องใช้น้ำมากขึ้น และผันน้ำไปจากแม่น้ำมากขึ้น จนเวลาผ่านไปอีก 10 ปี กลายเป็นว่าระดับน้ำในทะเลอารัลลดลงปีละประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดของทะเลอารัลลดลงอย่างฮวบฮาบ เมื่อเข้าสู่ปี 2530 ทะเลอารัลแบ่งเป็น 2 ส่วน อารัลเหนือกับอารัลใต้ และในปี 2547 เหลือพื้นประมาณ 25% ของขนาดเดิม ปัจจุบันปี 2553 ทะเลอารัลเหลือพื้นที่อยู่ประมาณ 6,800 ตารางกิโลเมตร หรือเพียง 10% ของขนาดเดิมเท่านั้น แน่นอนว่าไม่มีสัตว์น้ำใดๆ เหลืออยู่

            ระบบนิเวศน์ของทะเลอารัลได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการผันน้ำไปใช้ เมื่อการที่ปริมาณน้ำลดลงลดลงเพราะระเหยไป เฉพาะน้ำเท่านั้นที่ลดลง แต่ "เกลือ" ยังคงอยู่เท่าเดิม ผลคือ น้ำเค็มขึ้น แรกเริ่มน้ำในทะเลอารัลมีความเข้มของเกลือประมาณ 10 กรัม/ลิตร หลังจากเริ่มโครงการชลประทานไม่ถึง 10 ปี ความเข้มข้นของเกลือในทะเลอารัลเพิ่มเป็น 45 กรัม/ลิตร (น้ำในทะเลมีความเข้มข้นของเกลือเฉลี่ยประมาณ 35 กรัม/ลิตร) ซึ่งส่งผลให้สัตว์น้ำล้มตายจำนวนมาก เมื่อถึงปี 2520 สัตว์น้ำที่จับได้จากทะเลอารัลมีไม่ถึง 75% ของจำนวนที่จับได้ก่อนทำชลประทาน และหลังจากนั้นไม่กี่ปีก็ไม่มีสัตว์น้ำเหลืออยู่เลย การประมงในทะเลอารัลหยุดลงโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันน้ำในทะเลอารัลมีความเข้มข้นของเกลือมากกว่า 100 กรัม/ลิตร เข้มข้นเกินกว่าที่สัตว์หรือพืขใดๆ จะอาศัยอยู่ได้
            รัฐบาลเริ่มมองเห็นปัญหาที่ขึ้นกับทะเลอารัลหลังจากเปิดใช้คลองชลประทานประมาณ 20 ปี ซึ่งเป็นตอนที่สัตว์น้ำเหลืออยู่ไม่ถึง 25% จากเดิม และแม้ได้พยายามแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ แต่ปริมาณน้ำในทะเลอารัลยังคงลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพราะน้ำก็ยังคงถูกใช้ไปกับการเกษตร ประกอบกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 2534 ประเทศที่แยกตัวออกมายังเต็มไปด้วยปัญหาการเมืองซึ่งคนมักให้ความสนใจมากกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเสมอ ไม่แปลกที่ปัญหาของทะเลอารัลจะถูกละเลย

             นอกจากนี้การขุดคลองชลประทานที่ทำอย่างลวกๆ ทำให้น้ำซึมออกจากคลองระหว่างที่ไหลไป น้ำกว่าครึ่งที่ผันไปใช้ในการเกษตรสูญเสียไประหว่างทาง เกิดเป็นทะเลสาบเทียมเล็กๆ มากมาย ซึ่งทะเลสาบเหล่านี้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เพราะปนเปื้อนด้วยสารเคมี และโลหะหนัก ซึ่งมาจากปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่ใช้ในการเกษตรอย่างไม่บันยะบันยัง การผันน้ำยังทำให้กระแสน้ำลดความเร็วลง ตะกอนต่างๆ ที่พัดมากับน้ำจึงทับถมกันในแม่น้ำแทนที่จะถูกพัดลงสู่ทะเลจนทำให้แม่น้ำตื้นเขินจนไม่มีทางให้น้ำไหลลงสู่ทะเล ในทึ่สุดทะเลอารัลก็กลายเป็นทะเลทราย


 


บทเรียนจากหายนะ     

 
 เมื่อทะเลหายไป ชาวบ้านที่เคยพึ่งพาทะเลอารัลก็ไม่เหลือที่ทำกิน การทำประมงหยุดลง เรือน้อยใหญ่จอดทิ้งเป็นซากกระจายอยู่ทั่วไป ทุกอย่างที่เคยเฟื่องฟูในอดีตก็ล่มสลายลงหมด บริเวณนั้นกลายเป็นทะเลทรายแห้งแล้ง ดินเค็มจนปลูกพืชไม่ได้ เกิดพายุอยู่เป็นประจำ ลมพัดพาเอาทราย เกลือ และสารพิษมาสู่ชุมชน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา


 

ทะเลที่กลายเป็นทะเลทราย


 

ซากเรือที่จอดทิ้งไว้เกลื่อนกลาด กลายเป็นที่หลบแดดของวัว
 


 

เกาะต่างๆ กลายเป็นเพียงโขดหิน


 

ท่าเรือที่เคยคึกคัก กลับมองไปไม่เห็นชายฝั่ง เหลือไว้เพียงทรายและเกลือ


 

            รัฐบาลคาซัคสถานเองก็พยายามแก้ไขปัญหานี้ โดยการสร้างเขื่อนคอนกรีตที่ทะเลทะเลอารัลเหนือ และปรับปรุงการทดน้ำจากแม่น้ำเซียร์ ดาเรีย เพื่อเพิ่มอัตราการไหลของน้ำ ซึ่งก็พอจะช่วยให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นได้แต่ก็ยังห่างไกลก็สภาพที่เคยเป็นในอดีต นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะปรับปรุงคุณภาพพื้นที่ที่น้ำแห้งไปหลายวิธี เช่น การทดน้ำจากแม่น้ำโวลกา (Volga)  อ็อบ (Ob)  เออร์ทิช (Irtysh) และทะเลแคสเปียน (Caspian) ที่อยู่ใกล้เคียง รวมทั้งการปลูกพืชที่ช่วยลดความเค็มในดิน แต่ก็ไม่อาจทราบได้ว่าวิธีการแก้ไขที่กล่าวมาจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อมอีกบ้าง


 


 

            เรามักถกเถียงกันว่าความแปรปรวนของธรรมชาติ และหายนะต่างๆ เช่น พายุ น้ำท่วม ฝนแล้ง แผ่นดินไหว และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์หรือเป็นสิ่งที่เกิดตามกระบวนการของธรรมชาติ กรณีของทะเลอารัลอาจกล่าวได้ว่าความหายนะที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือของมนุษย์ล้วนๆ เป็นบทเรียนอันแสนเจ็บปวดที่แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาอย่างไม่ยั้งคิดของมนุษย์นั้นสามารถทำลายธรรมชาติได้มากเพียงใด และผลของการกระทำนั้นสามารถย้อนกลับมาทำลายมนุษย์เองได้มากแค่ไหน
            เรามักอ้างความชอบธรรมในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ด้วยข้ออ้างที่ว่า "เพื่อปากท้องของชาวบ้าน" หรือ "เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น" เป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของมนุษยชาติที่มักจะลืมคำนึงผลประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อยู่เสมอ จึงมักทำลายสมดุลที่ละเอียดอ่อนของธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมูลค่าความเสียหายนั้นมากมายนัก ราคาของการกอบกู้ทะเลอารัลให้กลับคืนมาให้ได้สักครึ่งหนึ่ง อาจมากกว่ากำไรจากการทำเกษตรชลประทานเสียอีก
 
            การสร้างระบบชลประทานในประเทศไทยเองก็มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นเช่นกัน แม้จะไม่ถึงกับน้ำแห้งเหือดเป็นทะเลทราย แต่ก็มีเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำบางแห่ง ที่ทำให้ระบบระบบนิเวศน์เสียไป ตัวอย่างเช่น เขื่อนปากมูลที่กั้นแม่น้ำมูลก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำโขง ชาวบ้านออกมาร้องเรียนว่า หลังสร้างเขื่อนปลาในแม่น้ำมูลลดน้อยลงอย่างมากและเกิดน้ำท่วมบริเวณเหนือเขื่อน รวมทั้งเรียกร้องให้เปิดประตูเขื่อนตลอดปีกลายเป็นประเด็นขัดแย้งจนถึงทุกวันนี้ ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าก่อนที่จะสร้างเขื่อนอาจมีการศึกษาหาข้อมูลถึงผลกระทบน้อยเกินไป


 


 


           อีกกรณีที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอยู่บ่อยๆ คือ โครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ทั้งที่มีการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้มากมายแสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนั้นมีระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีคุณค่าเกินกว่าที่จะปล่อยให้น้ำท่วมเพราะสร้างเขื่อน นอกจากนี้งานวิจัยของกรมทรัพยากรธรณียังชี้ว่า บริเวณที่จะสร้างเขื่อนตั้งอยู่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลก มีความเสี่ยงสูงมากในการสร้างเขื่อนบนพื้นดินที่มีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ทุกครั้งที่เกิดภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง หรือน้ำท่วม โครงการนี้ก็มักถูกยกขึ้นมาใช้เป็นข้ออ้างในการแก้ปัญหาอยู่เสมอ
            ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็มีนักการเมืองพยายามผลักดันโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นอีก โดยอ้างว่าป่าสักในบริเวณนั้นถูกทำลายหมดแล้วไม่มีอะไรต้องสงวนรักษาไว้ และยังอ้างถึงงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการสร้างเขื่อน ซึ่งหากพิจารณาให้ละเอียดจะเห็นว่า งานวิจัยที่นำมาอ้างนั้นศึกษาเกี่ยวกับความคุ้มทุนระหว่างการร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นกับเขื่อนแม่น้ำยม และได้ข้อสรุปว่าการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นคุ้มค่ากว่าเขื่อนแม่น้ำยม อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ไม่ได้หักล้างงานวิจัยอื่นๆ หลายชิ้น ที่ให้ข้อสรุปตรงกันว่าการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มค่า คำตอบที่ได้จากงานวิจัยเป็นเพียงการตอบโจทย์ข้ออื่น ไม่ใช่โจทย์ที่ว่า ควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นหรือไม่ บางทีผู้ที่สนับสนุนโครงการนี้อาจประเมินความคุ้มค่าจากต้นทุนที่เป็นตัวเงินโดยไม่ได้พิจารณาต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย


 


 


            การชลประทานเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างแน่นอน อย่างน้อยก็กับมนุษย์ แต่การตัดสินใจทำอะไรกับธรรมชาติควรคำนึงถึงแค่การแบ่งปันผลประโยชน์ให้ทุกคนได้เท่าเทียมหรือ? หรือเราควรคำนึงถึงผลประโยชน์ที่รอบด้านกว่านั้น คำนึงถึงสัตว์ ถึงพืช ถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า คำนึงถึงสมดุลของธรรมชาติเป็นหลัก นี่ไม่ใช่หรือถึงจะเป็นการพัฒนาที่ยั้งยืน? จริงอยู่เราคงไม่สามารถอนุรักษ์ทุกสิ่งทุกอย่างไปพร้อมกับการพัฒนา  แต่เราสามารถผลกระทบลงได้หากเราพยายาม เป็นไปได้หรือไม่ ก่อนที่จะลงมือทำอะไร ให้ศึกษาอย่างจริงจังโดยไม่เอาผลประโยชน์ของมนุษย์เป็นที่ตั้ง ไม่เอาง่ายเข้าว่า ยอมเหนื่อยมากขึ้น จ่ายมากขึ้น ใช้เวลาเพิ่มขึ้นเพื่อศึกษาวิจัยให้มากกว่าความคุ้มทุน ให้เข้าใจระบบของธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง จะได้ไม่ตัดสินใจทำอะไรด้วยความรู้ที่ตื้นเขินเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับทะเลอารัล



ที่มา : www.vcharkarn.com

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 


โพสท์โดย: moses
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
112 VOTES (4/5 จาก 28 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ปลัดทรงสืบ แฝงนั่งชิลล์อยู่ริมหาดจอมเทียน เจอเหตุรัวปืนสุดกร่าง ผลักมาสคอตตกน้ำ เกือบไม่รอดเขมรมาเหนือเมฆ เรียกประชาชนที่อยู่รอบนครวัดมาให้ทำการปรับปรุงบ้านใหม่ ให้เน้นรูปทรงบ้านให้เป็นทรงโบราณ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะได้ฟินๆชาวกัมพูชา เดือดทั้งประเทศ ถ่ายรูปล้อเล่นกับรูปปั้นม้าน้ำชาวเน็ตแห่แชร์ หนุ่มประกาศขายบ้านด่วน!..เหตุผลสุดอึ้งออกหมายจับ นักร้องชื่อดัง คู่ปรับ เสรีพิศุทธ์3 นักษัตรที่การเงินเด่น มีโชคด้านการลงทุน เสี่ยงดวงช่วงนี้สาวสอบติดครู ร้องไห้หนัก เหตุบนลิเกไว้ 4 วัด เข่าทรุดหลังรู้ราคาลิเกสิ่งที่สาวก iPad " รอคอยมา 14 ปี "
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ลุงโวยสาวเอาสุนัขขึ้นรถไฟใต้ดินได้ยังไง ก่อนจะรู้ว่าความจริง ทำเอาหน้าชา อายหน้าแดงไปเลยพบแล้ว คนขับรถไถขึ้นจอดในห้างดังสื่อเขมรแสบ? ปั่นข่าวว่าคนไทยเก็บสร้อยเพชรของ"แจ็คสัน หวัง"ได้แล้วไม่คืน!"หมอโอ๊ค" ออกมาให้ความรู้..ถ้าต้องอยู่กลางแจ้ง ควรใส่เสื้อสีอะไร?ราสมาลัย ขนมหวานอร่อยๆจากประเทศอินเดีย หาทานได้ในประเทศไทย หลายคนก็ชอบอยู่น๊าา...
ตั้งกระทู้ใหม่