หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โซตัส คือ อะไร ?

Share แชร์เนื้อหาโดย สุมาอี้

 

 

 

โซตัส คือ อะไร ?

 

     โซตัส (SOTUS) คือระบบหนึ่งของของการฝึกนักศึกษา พบในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ และโรงเรียนมัธยมบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ (รับน้อง) เป็นที่ถกเถียงกันโดยทั่วไปว่า ระบบนี้เป็นระบบที่ยังมี (หรือเคยมี) ความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่าง ประเทศไทย ผู้บริหารหรือองค์การนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งมีนโยบายอย่างชัดเจนว่า ไม่สนับสนุนระบบโซตัส แต่ระบบนี้ก็ยังพบอย่างแพร่หลายอยู่ทั่วไป โดยในบางครั้งก็ได้รับการสนับสนุนเป็นการส่วนตัวจากอาจารย์ (ซึ่งเคยผ่านระบบนี้มาก่อน) เอง แม้จะขัดกับนโยบายของสถาบัน แม้เราจะพบระบบโซตัสแพร่หลายในกิจกรรมต้อนรับใหม่ แต่ทั้งสองอย่างนั้นเป็นสิ่งที่แยกจากกัน

 

ประวัติ

 

    เดิมแล้ว ระบบ SOTUS มาจากระบบอาวุโสในโรงเรียนกินนอนของประเทศอังกฤษ ที่เรียกว่า Fagging system ต่อมาระบบนี้ได้อยู่ในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงและโรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ วชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ) และโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปัจจุบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และระบบนี้ถูกสืบทอดต่อกันมายังปัจจุบัน โดยคำว่า SOTUS ปัจจุบัน ได้อยู่ในคำขวัญทั้งห้าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ สามัคคี ประเพณี อาวุโส วินัย น้ำใจ ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ศาสตราจารย์ วิกรม เมาลานนท์ ได้แต่งเพลงเกียรติภูมิจุฬาฯ ซึ่งได้กล่าวถึงคำขวัญทั้งห้าไว้ในเพลงดังนี้

 

มาเถิดมา ภราดาจุฬาฯทุกแหล่ง มาร่วมแรง ร่วมรักและ"สามัคคี" "อาวุโส"เทิดไว้ "น้ำใจ" "ระเบียบ" เรานี้ พร้อม"ประเพณี" เสริมให้มีแต่วัฒนา

 

สีชมพู เชิดชูไว้คู่แดนไทย แสนยิ่งใหญ่และเกรียงไกรในวิทยา น้องพี่เราล้วนยิ้มแย้ม พักตร์แจ่มหฤหรรษา ยึดมั่นอุดมการณ์มา เพื่อผองประชาชาติไทยทั้งมวล

 

ทั่วราชอาณาจักรนี้เราเป็นหลักอยู่แต่ละส่วน ชาวจุฬาฯ จึงควรรู้ค่าแห่งเกียรติภูมิจุฬาฯ พร้อมกันอภิรักษ์ พิทักษ์ให้อยู่คู่ฟ้า วุฒิศักดิ์จุฬาฯ วัฒนาอยู่นิจนิรันดร์

 

หรือในคำขวัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีว่า "เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส"

 

ความหมาย

 

คำว่า โซตัส (SOTUS) มาจากตัวอักษรนำของคำ 5 คำในภาษาอังกฤษ

 

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความหมายของแต่ละคำของโซตัสนั้นจะชัดเจน แต่ว่าขอบเขตเงื่อนไขนั้นค่อนข้างจะคลุมเครือ ทำให้มีการพยายามนิยามและกำหนดความหมายของคำเหล่านี้อยู่ทั่วไป ด้านล่างนี้เป็นการอธิบายความหมาย และเหตุผลของคำต่าง ๆ โดยมีที่มาจากโคลงสี่สุภาพที่พบในหนังสือเฟรชชี่รุ่นโบราณ จากห้องสมุดภาควิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดู โคลงโซตัส)

 

 

จุดประสงค์

 

     จุดประสงค์ของระบบ คือ การฝึกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ของนักศักษาชั้นปีที่ 1 ที่เพิ่งเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ร่วมจัดขึ้นโดยรุ่นพี่ในคณะในแต่ละชั้นปี โดยการยึดถือกฎโซตัสทั้งหมด 5 ข้อ โดยรวมถึงการเคารพผู้อาวุโสซึ่งเป็นคุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย การปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อฝึกการมีระเบียบวินัย การปฏิบัติตามประเพณี เพื่อการถ่ายทอดธรรมเนียมและความรู้จากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง การฝึกความเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้นักศึกษาเข้าใหม่ที่มาจากพื้นฐานทางสังคมแตกต่างกันมีการแลกเปลี่ยน ความรู้และความเข้าใจ เพื่อพัฒนาจิตใจของนักศึกษาสำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย พัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม ในขณะเดียวกันพัฒนาความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง และสุดท้ายการฝึกจิตใจเพื่อพร้อมรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าทั้งทางด้าน การเรียน หรือการทำงาน

 

ปัญหาที่เกิดขึ้น

 

     ระบบโซตัสมีเป้าหมายที่ฝึกให้คนในกลุ่มมีความรักสามัคคีกัน มีความเป็นพวกพ้องกัน ซึ่งระบบนี้ที่ผ่านมามีผู้เชื่อว่ามีส่วนทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อกลุ่ม คนที่ไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น ในการทำงานพบคำกล่าวว่าสถานที่บางแห่ง "มีสี" เป็นต้น

 

ในปัจจุบัน ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความรุนแรงของการรับน้อง ได้กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ยกตัวอย่างเช่น

 

 

กลุ่มผู้สนับสนุนโซตัสให้ความเห็นว่าเกิดมาจากการที่รุ่นพี่ในแต่ละ มหาวิทยาลัย นำระบบโซตัสไปใช้ในทางที่ผิด โดยกล่าวอ้าง หลักการเคารพผู้อาวุโส และ การปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งเป็น 2 ใน 5 ของโซตัส ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาทีเกิดขึ้นรวมทั้ง ความรุนแรงในมหาวิทยาลัย หรือการลวนลามนักศึกษาที่เข้าใหม่

 

คำถามต่อระบบโซตัส

 

     แม้ผู้ที่สนับสนุนระบบโซตัสจะอ้างถึงผลดีที่ได้จากระบบนี้ แต่ผู้ที่ไม่สนับสนุนก็ตั้งคำถามว่า ผลดีที่ได้นั้น จำเป็นต้องได้มาโดยระบบโซตัสด้วยหรือไม่, หรือพูดอีกอย่างคือ มีวิธีอื่นอีกไหม ที่จะได้ผลลัพธ์นั้นโดยไม่ต้องใช้ระบบโซตัส. หรือกระทั่งตั้งคำถามว่า สิ่งที่ผู้สนับสนุนระบบโซตัสเรียกว่า "ผลดี" นั้น ที่สุดแล้ว เป็นสิ่งที่ดีงาม หรือจำเป็นจริงหรือไม่

 

     หลายครั้งที่ความสงสัยไม่ได้มีเพียงต่อตัวระบบโซตัสเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ปฏิบัติด้วย เช่น หากเราจะลองสมมติว่า ระบบโซตัสเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน แต่ที่สุดแล้ว ตัวผู้นำไปปฏิบัตินั้น มีความเข้าใจต่อระบบที่เขาคิดว่าควรสนับสนุนแค่ไหน หรือเป็นเพียงการทำไปตามประสบการณ์ที่เคยได้รับมา หรือการตีความเอาเอง

 

     บ่อยครั้งที่เราจะพบว่าการตีความเอาเองนี้ มักจะนำไปสู่การตีความเข้าข้างตนเอง เช่น หลักแรกพูดถึง Seniority "การเคารพผู้อาวุโส" ตัวผู้ปฏิบัติตีความหลักนี้อย่างไร หรือเพียงนับว่า นักศึกษาที่เข้ามาเรียนก่อน ก็คือ "ผู้อาวุโส" ที่นักศึกษาที่เข้ามาเรียนทีหลังจะต้องเคารพ หากการตีความเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ผู้สนับสนุนมักจะยกมาอ้างว่า การเคารพผู้อาวุโสนั้นเป็นประเพณีที่ดีงามของสังคมไทย ก็จะผิดความหมายไปทันที เนื่องจากคำว่า "อาวุโส" ในสังคมไทยนั้น ไม่ได้หมายถึงเพียง "วัยวุฒิ" หรืออายุ (ทั้งอายุตัวและอายุงาน) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงคุณความดีและการวางตัวในสังคมอีกด้วย. หากผู้ตีความหมายถึงเพียงการเข้าก่อนเข้าหลังเช่นนั้น ก็น่าจะตรงกับคำว่า Elderly (สูงวัย) ในภาษาอังกฤษมากกว่า Seniority (อาวุโส) ในประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนพอสมควร เพราะผู้อาวุโส หากนับกันแต่เพียงความดีและการวางตัว ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นทำยาก เพราะจะเกิดการตีความแล้วทำให้เกิดการไม่เคารพ คนแก่ เพราะไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ การให้ความเคารพกับการทำตามคำสั่งเป็นคนละเรื่องกัน ผู้ที่ไม่สนับสนุนมักกล่าวหาว่าโซตัส ทำลายคุณค่าของความเป็นคน เพราะคนเราต้องเสมอภาพกัน หากแต่ในชีวิตจริงนั้น การมีคนที่อยู่ก่อนช่วยนำทางก็เป็นการสะดวก เพราะไม่ต้องค้นหาหนทางเอง การวางตัวในหลักการข้อนี้นั้น ต้องอ่อนน้อมถ่อมตนทั้งผู้อาวุโสและผู้มาใหม่ กล่าวคือ พี่ก็ต้องทำตัวให้สมกับเป็นพี่ น้องก็ต้องทำตัวให้สมกับเป็นน้อง จึงจะทำให้เกิด ความเมตตา ซึ่งกันและกัน

 

     แต่กระนั้นแล้ว เราจะยังคงรักษา ระบบอุมถัมภ์เช่นนี้ให้คงสืบไปอยู่อีกหรือ ในเมื่อระบบนี้ นำมาซึ่งความไม่เสมอภาค โดยอ้างในนามแห่งความเสมอภาคเพื่อเป็นเกราะกำบัง จะเห็นได้จากปัญหาหลายๆอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอ้างสิทธิที่เหนือกว่าของผู้มีอาวุโส การอ้างถึง Authority ในการสั่งให้ปฏิบัติโดยไร้ซึ่งเหตุผล การที่มักกล่าวอ้างว่า จะช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย เนื่องจากมีการอำนวยความสะดวกให้กันระหว่างพี่น้อง ระหว่างรุ่นนั้น แท้จริงแล้ว มิใช่การสั่งสอนนิสิต นักศึกษาให้มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นโดยแท้จริง กล่าวคือ มุ่งหมายให้ปฏิบัติตนเข้าข้างพวกพ้อง อันจะเห็นได้จากปัญหาการใช้เส้นสายต่างๆในการกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้รับ ประโยชน์ที่เขาสมควร เพื่อเก็บผลประโยชน์นั้นไว้มอบแก่พรรคพวกแห่งตน การที่เรายังคงใช้ระบบอันไร้ซึ่งชีวิตจิตใจ ระบบอันเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยโดยแท้ ระบบที่เสี้ยมสอนวิธีคิดอย่างเผด็จการ ระบบที่สอนสั่งให้จำยอมในอำนาจอันไม่ชอบธรรม ระบบอันพรากสติปัญญา และเหตุผลซึ่งควรมีในผู้เจริญไป เป็นการสมควรหรือไม่ ทั้งที่เหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมานับสิบปี ก็สะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของระบบ แต่ช่างเป็นที่น่าเศร้าสลดใจ ที่ระบบอันป่าเถื่อนนี้ สืบทอดต่อเนื่องกันมา เพราะขาดผู้กล้าในการเปลี่ยนแปลง หรือขาดพลังในการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังมีสาวกใหม่เพิ่มขึ้นมาจากการทำกิจกรรมทำนอง indoctrination ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ขาดเหตุผลและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ถูกครอบงำด้วยระบบอันป่าเถื่อนนี้ ผ่านกระบวนการสร้างสถานการณ์กดดัน และเทคนิคทางจิตวิทยาได้โดยง่าย การจะล้มเลิกระบบอันมืดบอดนี้ให้สิ้นไปได้ จะต้องอาศัยพลังของคนรุ่นใหม่ ผนวกกับพลังจากทุกภาคส่วน ให้กล้าที่จะเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ กล้าพูด กล้าคิด กล้าวิจารณ์ ให้เห็นกันอย่างชัดเจนเสียว่า เหตุผลและความถูกต้อง จะมีชัยเหนือความมืดบอดทางปัญญาและการใช้ตรรกะวิบัติอย่างระบบโซตัส และระบบอาวุโสหรือไม่

 

     หรือในกรณี Unity "การเป็นหนึ่งเดียว" นั้น ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจในความเป็นหนึ่งเดียวในระดับไหน โดยความหมายทั่วไปแล้ว unity น่าจะหมายถึงเอกภาพในระดับใหญ่ ที่อนุญาตให้มีความหลากหลาย (diversity) ในระดับปัจเจกได้, และไม่ได้มีความหมายว่า ทุกคนจะต้องทำอย่างเดียวกัน คิดอย่างเดียวกัน โดยมีความเห็นเป็นอื่นไม่ได้ บ่อยครั้งที่เราจะพบว่า ผู้นำระบบโซตัสไปปฏิบัติจะตีความหลัก Unity ว่า จะมีใครทำสิ่งที่ผิดแปลกจากผู้อื่น หรือมีความเห็นเป็นอื่นไม่ได้ หากใครทำไม่เหมือนคนอื่น ก็จะถูกกดดันจากคนส่วนใหญ่ เช่น การไม่คบหา ไม่นับเป็นพี่เป็นน้อง หรือที่เรียกกันว่า "ตัดรุ่น"

 

     ตัวอย่างข้อสงสัยต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามกับระบบโซตัสและการนำระบบโซตัสไปใช้ว่า ล้าสมัย เป็นเผด็จการ สืบทอดระบบเจ้าขุนมูลนาย (ดังเช่นการสร้างประเพณีปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อตอกย้ำความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง) หรือกระทั่งละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

 

 

 

คลิปจากYOUTUBE

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อหาโดย: สุมาอี้
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
สุมาอี้'s profile


โพสท์โดย: สุมาอี้
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีครูหนุ่มชาวจีนโพสต์รูปตัวเอง เปรียบเทียบสมัยก่อนเเละหลังทำงานได้ 6 ปี เปลี่ยนไปจริง ๆ 😌CIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาทลาวขุดพบเจอหีบกะไหล่โบราณ รอการเปิด คาดว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ!ไต้หวันสั่งปิดร้านอาหารดัง หลังทำลูกค้าดับ 2 รายและป่วยหนัก 4 รายรพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!ทาสแมวใจสลาย..รับไม่ได้ เอาแมวมาขอทาน"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์"ประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบัน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เตือนภัย! ใช้เครื่องตัดเหล็กไฟฟ้าอย่าประมาทนะครับ นี้ขนาดระวังแล้วนะ…ประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบันจดไว้เลย!! 2ตัวล่าง 78ให้มาตรงๆ 1 เมษายน 2567
ตั้งกระทู้ใหม่