โรคซึมเศร้า !! ซึมก่อนเศร้าหรือเศร้าก่อนซึมนะ
ขออภัย ดิฉันอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา แต่ก็หาข้อมูลประเด็นนี้ได้ความว่า
โรคซึมเศร้าคืออะไร
โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน
โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด
- Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้าง ล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ
- dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี
- bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต
อาการของโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่างบางคนก็มีบางอย่างเท่านั้น
อาการซึมเศร้า depression
- การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่
- รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา
- หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย
- อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
-
การเปลี่ยนแปลงทางความคิด
- รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
- รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา
- มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง
-
การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน
- ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง
- ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
-
การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม
- นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป
- บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
- มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง
- ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง
อาการ Mania
- มีอาการร่าเริงเกินเหตุ
- หงุดหงิดง่าย
- นอนน้อยลง
- หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่
- พูดมาก
- มีความคิดชอบแข่งขัน
- ความต้องการทางเพศเพิ่ม
- มีพลังงานมาก
- ตัดสินใจไม่ดี
- มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทัวๆไป มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชนร้อยละ9จะเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประเมินมากมาย แต่สูญเสียคุณภาพชีวิตรวมทั้งความทุกข์ที่เกิดกับผู้ป่วยจะประเมินมิได้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาทั้งที่ปัจจุบันมียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ความนี้จะเป็นแนวทางในการวินิจฉัย หากพบว่าคนที่รู้จักมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้ารีบแนะนำให้เขาไปพบจิตแพทย์
ที่มา:http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/psy/depression/depression.htm
"หาก คุณมีอาการเซื่องซึม คิดอะไรไม่ออก กิจวัตรประจำวันที่เคยทำได้ก็กลับทำไม่ได้ วิตกกังวล ทุกข์ใจ และขาดความมั่นใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ โดยมีอาการดังกล่าวเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป"
อย่า ปล่อยทิ้งไว้ รีบหาทางแก้ก่อนเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าแบบเรื้อรังจนกลายเป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมฆ่าตัวตายได้
5 วิธีบำบัดการซึมเศร้า โดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูล จากนิตยสารชีวจิต ปีที่ 13 ตุลาคม 2554 และ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิท เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา
1. ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิค (อยู่ในศูนย์พักพิงก็สามารถทำได้)
ข้อมูล วิชาการ : การศึกษาวิจัยที่ยืนยันผลทางการรักษานี้ กล่าวว่า การออกกำลังกายที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้นี้เป็นเพราะสามารถเพิ่มระดับ สารเคมีในสมองที่ชื่อ เซโรโทนิน (Serotonin) เช่นเดียวกัน ที่มีการพูดคือ ออกกำลังกายช่วยทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งก็คือ สารธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ระงับปวดคล้ายกับมอร์ฟิน (Morphine) แต่อย่างไรก็ตาม เอนเดอร์ฟินตัวนี้มักจะอยู่ในกระแสเลือด และมีผลต่อสมองน้อยกว่าและอยู่ไม่นาน (เพียง24 ชม. หลังออกกำลังกาย) ก็หมดไป จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์บางรายเชื่อว่ามีผลต่อการรักษาโรคซึมเศร้าได้น้อย กว่า (Frayne, 2002) แต่อย่างไรก็ตามมันก็ทำให้คนเราอารมณ์ดีขึ้น
ซึ่ง งานวิจัยดังกล่าวยืนยันว่า การออกกำลังกายที่จะมีผลต่อการรักษาโรคได้นั้น จะต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 10 วันขึ้นไป เพื่อให้ร่างกายสามารถเพิ่มระดับซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองตัวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า สามารถลดระดับอาการโรคซึมเศร้าได้ ยืนยันผลโดยคะแนนจากการทำแบบทดสอบด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่างของ Hamilton Scale (ในวันที่ 10 ของการออกกำลังกาย) มีคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นผลการศึกษาของ Proest and Haleon ในปี คศ.2001 และเผยแพร่ในวารสาร The British Journal of Sport Medicine ฉบับเดือน กันยายน 2006
นอกจากวิธีการในข้อ 1 แล้ว ถ้าสนใจทำกิจกรรมเพิ่มเติมก็มีข้อเสนอแนะจากวารสารชีวจิตเพิ่มดังนี้ค่ะ
2.สร้างเสียงหัวเราะให้ตัวเอง ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนขำขัน สามารถช่วยคลายความวิตกกังวลและลดความเครียดได้
3.ระบาย อารมณ์เสียบ้าง อาการซึมเศร้ามักเกิดจากการเก็บกดอารมณ์โกรธไว้โดยไม่แสดงออก การระบายอารมณ์มีหลายวิธี ทั้งตะโกน ร้องไห้ หรือเขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก
4.พูด คุยกับคนที่ไว้ใจ การเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังจะช่วยลดความฟุ้งซ่าน ทั้งยังได้ข้อคิดและเรียนรู้ว่าความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นกับเราเพียงคนเดียว
5.มองโลกในแง่ดี ทุกปัญหาย่อมมีทางออก ทุกอุปสรรคย่อมมีโอกาส การมองโลกในแง่ดีช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้ค้นพบแนวทางในการแก้ไขปัญหา
หากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างซึมเศร้า อย่านิ่งนอนใจรับหาทางแก้ไขนะคะ
ขอบคุณที่แวะมาค่ะ ขอให้สุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจทุกท่านค่ะ
โพสท์โดย: moses