หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โอ๊ย…คันจังเลย!! แต่เอ๊ะ…อาการคันนั้นเกิดจากอะไรนะ??

โพสท์โดย mata

งานวิจัยล่าสุดพบเซลล์ประสาทที่ทำให้เกิดอาการคันแล้ว นักวิจัยเปิดเผยว่าได้มีการค้นพบสารเคมีตัวสำคัญที่อยู่เบื้องหลังอาการคันคะเยอตามจุดต่าง ๆ แล้ว

กับคำถามที่เป็นความสงสัยมายาวนานว่า ทำไมคนเราจึงเกิดอาการคัน? ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มีคำตอบให้เราแล้วในวันนี้ เซลล์ประสาทที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการคัน ได้ปล่อยสารเคมีที่มีความเฉพาะเจาะจงทำการส่งข้อวความพิเศษว่า “ฉันอยากเกาจัง!!” ไปยังสมอง การค้นพบนี้มาจากการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ใช้หนูเป็นสัตว์ทดลอง โดยทดลองเปลี่ยนย้ายโมเลกุลที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเกี่ยวข้องกับอาการคันออกไป และหลังจากนั้นพบว่าหนูทดลองตัวที่ว่าไม่เกิดอาการคันให้เห็นอีกเลย 

ก่อนอื่นขอท้าวความกันสักนิด สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ ที่เป็นมนุษปุถุชนธรรมดานั้น อาการคันอาจจะสร้างความรำคาญหรือทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวบริเวณที่เกิดอาการคันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และกว่าจะรู้ตัวเราก็เกา ๆ ๆ ๆ จนบริเวณที่เรารู้สึกคันนั้นเป็นจ้ำแดงหรือมีเลือดซิป ๆ ไหลออกมาเย้ยกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดอาการคันขึ้น สมองมีกลไกการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาการยุบยิบ ๆ นี้ได้อย่างไร? ได้แต่สันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา และอย่างที่เราทราบกัน หากเกิดอาการคันขึ้นแล้ว ยากนักที่จะทำให้อาการคันหายไปได้

แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เราเห็นถึงความก้าวหน้าของการตอบคำถามเรื่องอาการคันนี้ โดย Glenn Giesler Jr.นักประสาทวิทยาประจำมหาวิทยาลัยมินเนโซต้า รัฐทวินกล่าวว่า “ตอนนี้พวกเราเริ่มเข้าใจถึงกระบวนการของการเกิดอาการคัน และนั่นทำให้เราสามารถหาวิธีการรักษาอาการคันที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง”

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาการคันนั้นเกิดขึ้นภายในเส้นใยเซลล์ประสาทซึ่งผ่านต่อไปยังผิวหนังโดยตรง โดยการส่งผ่านอาการคันนี้เกิดจากสารเคมีนำส่งที่มีชื่อว่า “นิวโรทรานสมิเตอร์” โดยที่เซลล์ประสาทเหล่านั้นส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาทอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบบริเวณกระดูกไขสันหลัง (Spinal cord) ซึ่งบริเวณนั้นเรียกว่า “ดอร์ซัล ฮอร์น” (Dorsal Horn คือ ปีกบนของกระดูกไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง เป็นบริเวณที่รับความรู้สึก) หลังจากนั้น สัญญาณที่นี้จะมีการส่งต่อไปเรื่อย ๆ จากเซลล์ประสาทหนึ่ง ถึงอีกเซลล์ประสาทนึงจนถึงสมองในที่สุด

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยทันตกรรมและกะโหลกวิทยาแห่งชาติ ในเมืองเบทเทสดาร์, รัฐแมรีแลนด์ Mark Hoon และ Santosh Mishra  ได้ออกแบบการทดลองเพื่อหาวิธีการที่สัญญาณปล่อยอาการคันเริ่มต้น โดยเริ่มจากการประเมินสารเคมีที่คาดว่าเซลล์ประสาทจะหลั่งออกมากับเส้นใยประสาทที่ผิวหนังสร้างออกมาได้มากที่สุดก่อน ซึ่งการทดลองเบื้องต้นพบว่า หนึ่งในสารเคมีที่เซลล์ประสาทปล่อยออกมามากที่สุดคือ นิวโรทราสมิเตอร์ที่เรียกว่า Nppb (ย่อมาจาก Neuropeptide Natriuretic Polypeptide B)โดยงานนี้ นักวิจัยได้ทำการดัดแปลงหนูทดลองที่เข้าร่วมงานวิจัย โดยทำให้กลไกภายในหนูทดลองนั้น ขาดยีนที่จำเป็นต่อการสร้างสาร Nppb และทำการฉีดสารที่ทำให้เกิดอาการคันเข้าไปบริเวณใต้ผิวหนังของหนู พบว่าหนูทดลองที่ผ่านวิธีการข้างต้นแทบจะไม่มีอาการคันเกิดขึ้นเลย จากการทดลองข้างต้นทำให้เราสรุปได้ว่า กลไกการเกิดอาการคันนี้ต้องอาศัย Nppb ในกระบวนการ ซึ่งสารตัวนี้จะส่งสัญญาณอาการคันไปยังสมองและสมองแปลออกมาได้ว่าบริเวณไหนบ้างที่เกิดอาการคันนั่นเอง

Mark Hoon และ Santosh Mishra สองนักวิจัยได้มองต่อไปยัง ดอร์ซัล ฮอร์น ซึ่งเป็นบริเวณที่รับโมเลกุล Nppb ของเซลล์ประสาท บริเวณนี้เป็นส่วนที่กำหนดเอาไว้อย่างแน่นอน พวกเขาทำการทดลองโดยการสกัดกั้นตัวรับ Nppb ไม่ให้ตัวรับ Nppb และ Nppb ได้พบกันภายในบริเวณ ดอร์ซัล ฮอร์น กับ อาศัยสารพิษย้ายเซลล์ประสาทส่วนดอร์ซัล ฮอร์นออกไป จากวิธีการเบื้องต้นพบว่า ทำให้หนูเกิดอาการคันได้น้อยลงหรือแทบไม่เกิดอาการคันเลย เมื่อเทียบกับหนูทดลองที่ยังคงมีเซลล์ประสาทส่วนดอร์ซัล ฮอร์นอยู่ หากเราทำการฉีด Nppb เข้าไปบริเวณดอร์ซัล ฮอร์น จะทำให้หนูทดลองเกิดอาการคันขึ้นมาทันใด

อย่างที่เราทราบกันว่า หนูมีโครงสร้างทางชีววิทยาที่คล้ายคลึงกับมนุษย์มาก ด้วยเหตุนี้ การค้นพบโดยใช้หนูเป็นสัตว์ทดลองนั้น จึงเป็นความหวังของนักวิทยาศาสตร์ว่าจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจถึงกระบวนการเกิดอาการคันของมนุษย์ว่า การคันนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? Mark Hoon ให้ข้อสังเกตว่า Nppb ที่เขาและ Mishra ค้นพบนั้น เป็นเพียงเซลล์ประสาทเล็ก ๆ เท่านั้น ซึ่งกลุ่มของเซลล์ประสาทนี้เป็นกลุ่มเส้นใยประสาทที่บริเวณผิวหนัง นั่นอาจหมายความว่า มีเพียงเซลล์ประสาทสัมผัสที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้นที่มีส่วนในการตรวจจับอาการคันนี้ นอกเหนือจากนั้นอาจเกิดจากอาการบาดเจ็บ หรืออุณหภูมิในขณะนั้น ซึ่งเราคงต้องทำการศึกษาทดลองค้นคว้ากันต่อไป

อย่างไรก็ตาม Hoon ได้พูดเตือนถึงอันตรายที่อาจจะเกิดจากการสกัดกั้น Nppb เพราะมันอาจไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดในการยับยั้งอาการคันของมนุษย์เรา Nppb อาจเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการอื่น ๆ ภายในร่างกายก็ได้ ดังนั้นการสกัดกั้น Nppb จากโมเลกุลนั้นอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกายก็ได้

อ้างอิง

http://www.sciencenews.org/view/generic/id/350630/description/A_molecular_window_on_itch

http://www.clarusdermatology.com/itching-for-some-relief-nppb-might-be-the-answer/

S.K. Mishra and M.A. Hoon. The Cells and Circuitry for Itch Responses in Mice. Science. Vol. 340, May 24, 2013, p. 968. doi: 10.1126/science.1233765.

 

L. Sanders. Itch: Scientists trace a new path behind the maddening, unrelenting, screaming desire to scratch. Science News. Vol.174, November 22, 2008, p. 16.

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
44 VOTES (4/5 จาก 11 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
1 ใน 8 ของนักเรียนร.ร.รัฐในนิวยอร์ก'ไร้บ้าน'!5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้นตำรวจ ตามรวบจนครบ 3 โจ๋เหิมเกริม ใช้มีดฟันคู่อริ กลางสถานี BTSอันตราย! คนจีนจ้างแพ็คอาหารเสริมปลอม ขายผ่านออนไลน์ในไทย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลิลลี่ เหงียน" สวนกลับ "ปู มัณฑนา"..อย่าลืมเอาเงินมาคืนกะxsี่ผู้มีพระคุณด้วยเงินดิจิทัลเฟส 3 คนทั่วไป เงินเข้าเมื่อไหร่ ได้เงินสดไหม วิธีเช็กสถานะทางรัฐอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"หวังเซียนเฉา นักการทูตผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง‘ขนม ศศิกานต์’ เลิก ‘ครูเต้ย อภิวัฒน์’ ทั้งที่เพิ่งคลอดลูก คนที่ 2 จากกันด้วยดี ไม่มีมือที่ 3
ตั้งกระทู้ใหม่