หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตุงล้านนา คุณรู้จักหรือยัง

โพสท์โดย Timmy Mueller

ประวัติของตุงล้านนา

ชาวล้านนาแต่โบราณมีคติความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงค์การทานตุงอยู่มาก ซึ่งเล่าสืบต่อกันมา หลายชั่วอายุคนดังตัวอย่างเล่าว่า ”มีกาเผือกคู่หนึ่งออกไข่มา ๕ ฟอง อยู่บนต้นไม้ เมื่อเกิดลมพายุ ไข่ทั้งหมดได้พลัดตกลงมา ครั้นพ่อแม่กาเผือกกลับมาไม่เห็นไข่ของพวกตน ก็เกิดความโศกเศร้า จนตรอมใจตายแล้วได้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ ไข่ทั้งห้าใบต่างถูกไก่ เต่า พญานาค โค และคนซักผ้านำไปเลี้ยง จนเติมโตเป็นชายหนุ่มทั้งห้าคน ต่างคนต่างก็มีจิตใจอยากบวช จึงบวชจนสำเร็จญาณและมาพบกันโดยบังเอิญ ทั้งห้าองค์มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ให้กำเนิด จึงได้สร้างตุงถวายอุทิศให้ กะกุสันทะซึ่งไก่เป็นผู้เลี้ยงสร้างรูปไก่ โกนาคมนะรูปนาค กัสปะรูปเต่า โคตมะรูปวัว และอริยะเมตรัยรูปค้อนทุบผ้า เมื่อสร้างตุงเสร็จแล้ว ก็ทำถวายอุทิศ แต่ไปไม่ถึงผู้ให้กำเนิด กาเผือกจึงต้องมาบอกให้ทำเป็นประทีปรูปตีนกาจุดไปจึงจะอุทิศไปถึง”

ตุงสมัยก่อนของชาวเหนือ จึงสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้าทั้งห้าองค์ การทำตุงถวายจึงเปรียบเสมือนตัวแทนสักการะของการแผ่กุศล กตัญญูกตเวทีไปถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว เราอาจเห็นตุงที่มีรูปไก่ยืนอยู่บนหัวตุงหมายถึงไก่ ส่วนลำตัวและใบของตุงแทนรูปนาค ลวดลายต่าง ๆ เป็นตารางเกล็ด หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หมายถึงเต่า และส่วนประดิษฐ์เป็นรูปกลม หมายถึงตาวัวหรือวัว

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันว่าวิญญาณผู้ตายนี้สามารถยึดหรือปีนป่ายตุงขึ้นสวรรค์ได้ ดังเรื่องเล่าว่า “กาลครั้งหนึ่งมีนายพรานซึ่งเข้าไปล่าสัตว์ในป่านานนับสิบ ๆ ปี ผ่านไปที่วัดเห็นตุงที่แขวนอยู่โบกสบัดสวยงามมาก เมื่อกลับมาถึงบ้านจึงได้ทำตุงขึ้นเพื่อที่จะไปถวายวัดบูชาพระประธาน ครั้นเมื่อเขาตายไป ถูกตัดสินส่งลงนรก เนื่องจากไม่เคยทำความดีเลย มีแต่ฆ่าสัตว์ ยกเว้นแต่ทำตุงถวายวัดเท่านั้น เมื่อถูกตัดสินให้ตกนรก ตุงผืนที่เขาทำนั้นได้มาพันดึงเขาให้พ้นจากนรก นำขึ้นสู่สวรรค์ได้”

ชาวเหนือจึงมีความเชื่อว่า การถวายหรือทานตุงนั้นมีอานิสงค์หรือได้บุญอย่างมาก

"ตุง" ของล้านนา

มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา วัสดุที่ใช้ทำตุงนั้นมีหลายอย่าง

เช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น

ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา โดยมีขนาด รูปร่าง และ รายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งแตกต่างกันไป ตามความเชื่อและพิธีกรรมตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย

 

วัตถุประสงค์ของการทำตุง

1. เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง ธงที่เป็นเครื่องหมายพวกหรือเผ่าต่างๆกำหนดสีสันให้รู้จักจำง่ายเหมือนกับ ชาติทั้งหลายในโลกที่ใช้ธงเป็นเครื่องแทนปรัชญาหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

2. เพื่อใช้เป็นเครื่องพิธี หมายถึง การนำตุงหรือช่อธงในพิธีเครื่องบูชาเซ่นสรวง อย่างเช่นการบูชาท้าวจตุโลกบาลเป็นต้น หากไม่มีช่อธุงหรือธง ถือว่าพิธีไม่ครบถ้วน อันเป็นข้อบกพร่อง ทำให้พิธีเสียหรือไม่สมบูรณ์

3. เพื่อเป็นศักดิ์ศรีแก่เทพเจ้า หมายถึง เทพที่สำคัญทั้งหลาย เช่น พระอินทร์ พระนารายณ์ มีช่อธงเป็นเครื่องหมาย เช่นพระอินทร์มีธงสีเขียว เป็นต้น แม้สมมติเทพ เช่น พระมหากษัตริย์ ก็มีธงเป็นเครื่องหมายแห่งยศ และศักดิ์ศรี

4. เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หมายถึง การมีธุงหรือมีช่อประจำอยู่ เช่นเหล่ากองทหารต่างมีธงชัยเฉลิมพลอันเป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศของกองทหารนั้นทำให้ทหาร ภูมิใจในความเป็นทหารของตน

พระมหาอาทิตย์ อธิปัญโญ เจ้าอาวาสวัดอินทขีล สะดือเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า ตุงนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน โดยตุงที่ใช้ในงานมงคล จะใช้สำหรับงานมงคลต่างๆ เช่น ทำบุญ งานปอยหลวง หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ ได้แก่ ตุงไชย ตุงพญายอ ตุงกฐิน ตุงเจดีย์ทรายเป็นต้น

และตุงที่ใช้ในงานอวมงคล เช่น ตุงแดง โดยมีความเชื่อว่าสำหรับผู้ที่ตายโหง หรือเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุนั้น การนำตุงแดงไปปักไว้บริเวณที่เกิดเหตุ จะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายได้เกาะหางตุงขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ สำหรับตุงสามหาง จะใช้นำศพผู้เสียชีวิตก่อนทำพิธีฌาปนกิจ เป็นปริศนาธรรม หมายถึงความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ตุง กับงานประเพณีต่างๆ

เช่น งานปีใหม่ หรือประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประชาชนจะทำเครื่องสักการะ

คือ ธูป น้ำส้มป่อย ตุง และ ช่อตุงหรือธุง อันเป็นเครื่องสักการะ

มี 4 ประเภท คือ

1. ตุงเดี่ยว หรือตุงค่าคิง สำหรับบูชาแทนตนเอง

2. ตุงไส้หมู บูชาพระเจดีย์ พระธาตุทั้งหลาย


3. ตุงไจยหรือธงไชย ถวายบูชาพระพุทธรูป เพื่อสร้างความสวัสดีมีชัย


4. ช่อหรือธงชัย สำหรับปักเครื่องบูชาต่าง

ชาวล้านนา จะไม่นิยมนำตุงมาไว้ที่บ้าน เพราะถือว่าขึดหรือขัดวัฒนธรรมประเพณี และจะเกิดความเดือดร้อน ทำกิจการต่างๆก็จะไม่รุ่งเรือง เราจึงพบเห็นตุงประดับตามวัด โบสถ์ และศาสนสถาน

ดังนั้นการถวายตุง เป็นพุทธบูชา ถือเป็นสัญลักษณ์ของความดี ความเป็นสิริมงคลและเป็นสื่อนำวิญญาณของผู้ถวายทานตุง รวมทั้งวิญญาณของผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานอันเกิดจากวิบากกรรม ทั้งยังเป็นเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนา รวมทั้งยังเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษให้สืบทอดต่อไป

มาร่วมรักษาประเพณีดีงาม อย่าลืมมาแอ่วเมืองเหนือนะคร๊าฟฟ

ที่มา: ประวัติตุงล้านนา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Timmy Mueller's profile


โพสท์โดย: Timmy Mueller
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หลานโฉด เข็นศwลุงไปกู้เงินธนาคารAI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!ยังจำคดีน้องการ์ตูนได้ไหม ??? สุดท้ายคนผิดลอยนวลเพราะคดีความหมดอายุพลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่าย"เปรี๊ยอภัยมณี" วรรณคดีไทย ที่เขมรเคลมเปลี่ยนชื่อไปจาก "เรื่องพระอภัยมณี"?เคลมอีกแล้ว! อ้างมั่ว "ลิซ่า" ไม่ใช่คนไทย..แต่เป็นคนเขมร"วงกลมลึกลับ" โผล่เหนือน้ำ..บางหลุมมีปลาอยู่ มันคืออะไรกันแน่ ?สถานีรถไฟของจีนที่ถูกชาวเน็ตล้อเลียน ว่า "เหมือนผ้าอนามัย"..?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ประชาชนทนไม่ไหว! ป้ายรถเมล์ไม่อัพเดท..เลยเขียนเส้นทางเดินรถใหม่AI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567complex: ซับซ้อนทำไมมนุษย์ถึงตื่นเช้า?แคสตรงปก เจมส์จิ(คุณชายพุฒิภัทร) และไมกี้(คุณฉัตรเกล้า)
ตั้งกระทู้ใหม่