หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ระบบศาลยุติธรรมของไทยโบราณ

โพสท์โดย mata

 

 

ตั้งแต่อยุธยามาจนถึงปลายรัชกาลที่ 5 แม้แต่สมัยต้นรัชกาลที่ 5 เองก็ยังยึดถือระบบโบราณอยู่  คือไทยไม่มีกระทรวงยุติธรรมอย่างสมัยนี้  แม้แต่ศาลที่เป็นศาลล้วนๆ อย่างเดี๋ยวนี้ก็ไม่มี  

สมัยโน้น ราชการฝ่ายบริหารและตุลาการไม่ได้แยกจากกัน  เพราะถือว่าการชำระความโดยเฉพาะความอาญา เป็นเรื่องการใช้อำนาจปกครองเพื่อปราบปรามและลงโทษผู้กระทำผิด  

ดังนั้นกรมอะไรๆ ก็มีหน้าที่ชำระความของตัวเองได้  ข้าราชการสังกัดกรมนั้นก็อาจได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตุลาการชำระความในกรมของตัวเองได้เช่นกัน

หน้าที่ตุลาการสมัยโน้นคือสอบสวนซักถามพิจารณาหาข้อเท็จจริง ส่วนข้อกฎหมายเป็นหน้าที่ของลูกขุน  และผู้ปรับก็คือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย

สิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยจะรู้กัน  รู้แล้วก็รู้สึกว่าตลก   คือข้าราชการหรือขุนนางสมัยโน้น แม้ว่ามีหน้ามีตา  แต่ไม่ค่อยจะมีสตางค์   เพราะระบบราชการไม่มีเงินเดือนให้  มีแต่เบี้ยหวัดซึ่งจ่ายปีละครั้งสองครั้ง  บางทีก็ไม่จ่ายเป็นเงิน แต่จ่ายเป็นผ้าลายบ้าง ทองคำบ้าง แล้วแต่ท้องพระคลังจะมีให้มากน้อยแค่ไหน  

สมัยรัชกาลที่ 2  พบกันว่าท้องพระคลังหาเงินไม่ค่อยได้  ต้องติดเบี้ยหวัดขุนนาง ไปจ่ายเป็นผ้าลายแทนก็มี จนถึงรัชกาลที่ 3 ทรงคิดระบบเจ้าภาษีนั่นแหละ พระคลังหลวงจึงค่อยมีเงินทองขึ้นมามากหน่อย

ในเมื่อขุนนางไม่มีสตางค์  แต่มีลูกเมียบริวารต้องเลี้ยงกันมากมายในแต่ละบ้าน ก็มักจะไปร้องเรียนขอความเห็นใจจาก เจ้ากรม  เจ้ากรมก็หาทางหางานพิเศษ ทำ "โอ.ที" ให้ลูกน้อง โดยมอบความแพ่งหรืออาญา ให้ขุนนางผู้นั้นเอาไปเป็นตุลาการชำระความที่บ้าน เป็นรายได้พิเศษ   

รายได้พิเศษยังไงน่ะหรือครับ  ก็เพราะการชำระความไม่ได้กินเวลาแค่ครั้งเดียวจบ  แต่ว่าต้องสืบสวนสอบสวนทวนพยานกันนานเป็นปี   คู่ความทั้งโจทย์และจำเลยตลอดจนพยาน ก็ต้องอพยพกันมาปลูกกระท่อม นอนค้างอ้างแรมในบริเวณบ้านตุลาการ ต้องหาข้าวปลาอาหารของใช้มาส่งเสียตัวเอง  และเพื่อจะเอาใจตุลาการให้ชำระความเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน  ก็ต้องเผื่อแผ่ของกินของใช้ให้ตุลาการด้วย  ตุลาการก็ค่อยคลายความฝืดเคืองลงได้ 

จนกว่าจะชำระความเสร็จซึ่งอาจจะกินเวลานานเป็นปี  โจทย์จำเลยถึงจะหอบข้าวของ(ถ้ายังมีเหลือ) ออกจากบ้านตุลาการไปได้ ไม่ต้องเจอกันอีก ส่วนฝ่ายไหนจะแพ้ความไปติดคุก ฝ่ายไหนชนะความได้กลับบ้านก็เป็นอีกเรื่อง

พระยาเพ็ชรรัตน์ในฐานะเจ้ากรม  นอกจากจะแบ่งคดีให้ข้าราชการรองๆ ลงไปช่วยชำระความ ท่านก็ชำระความของท่านเป็นรายได้พิเศษประจำตัวเองด้วย พอเลี้ยงครอบครัวกันไปได้ไม่ลำบาก

อ่านมาถึงตอนนี้อาจจะมีคนโวยวายด้วยความสงสัยว่า  แบบนี้ลำเอียงกันได้น่ะซิ  ฝ่ายไหนประเคนเงินทองข้าวของอาหารการกินให้มากกว่า  ตุลาการก็ต้องลำเอียงเข้าข้างคนนั้นเป็นธรรมดา  แล้วจะเอาความยุติธรรมมาจากไหน

สุนทรภู่ก็เป็นคนหนึ่งที่โวยขึ้นมาแบบนี้  หาอ่านได้ในกาพย์พระไชยสุริยาตอนหนึ่ง ที่บรรยายเมื่องสาวัตถี ว่า

คดีที่มีคู่.............................คือไก่หมูเจ้าสุภา

ใครเอาข้าวปลามา.............................ให้สุภาก็ว่าดี

ที่แพ้ แก้ชนะ.............................ไม่ถือพระประเวณี

ขี้ฉ้อก็ได้ดี.............................ไล่ด่าตีมีอาญา

สุภา ก็คือตุลาการ นั่นละครับ  คำเหน็บแนมของสุนทรภู่โดยยกเมือง สาวัตถี เป็นแบบอย่างของความชั่วในเมือง  ในความเหลวไหลต่างๆ มีการกินสินบาทคาดสินบนบวกเข้าไปด้วยอีกอย่างหนึ่ง   

ในความเป็นจริง ระบบชำระความแบบนี้ ก็ทำกันต่อมาจนกระทั่งมีการตั้งศาลในระบบสากลขึ้น ตอนปลายรัชกาลที่ 5 

ถ้าถามว่า โจทย์จำเลยที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจะไปฟ้องร้องกับใครได้  ข้อนี้ก็มีคำตอบให้เหมือนกัน

ข้อลำบากของตุลาการอยู่ที่ว่าเมื่อตัดสินความออกมาว่าใครผิดใครไม่ผิด  โจทย์กับจำเลยยอมรับได้ก็หมดเรื่องไป แต่ถ้ายอมรับไม่ได้ เขาก็สามารถอุทธรณ์ได้   

แต่การอุทธรณ์สมัยนั้นผิดกับสมัยนี้  สมัยนี้จะอุทธรณ์ว่าคำตัดสินนั้นไม่ถูกต้องตรงไหนและแย้งได้ยังไงบ้าง  แต่สมัยนั้น  เวลาอุทธรณ์  เขาจะอุทธรณ์ว่าตุลาการตัดสินไม่ยุติธรรม  เข้าข้างอีกฝ่ายหรือรับสินบน   ยื่นคำร้องให้ตุลาการชั้นสูงขึ้นไปพิจารณา 

พอถึงตอนนี้ ตุลาการชั้นต้นก็กลายมาเป็นจำเลย  มีหน้าที่ต้องแก้คำอุทธรณ์โดยชี้แจงให้ได้ว่าตัวเองตัดสินไปนั้นเที่ยงธรรมดีแล้ว ไม่ได้ลำเอียงเข้าข้างใครหรือว่ารับสินบนใคร  เพราะไม่งั้นถ้าระดับบนเอาเรื่องตัวเองก็ลำบากเหมือนกัน

ทางออกของตุลาการชั้นต้น เผื่อเกิดเรื่องเจอโจทย์จำเลยหัวหมอ ต่อสู้ไม่ยอมแพ้ขึ้นมา แม้ว่าการตัดสินนั้นอาจจะถูกต้องแล้วก็ตาม  ก็จะต้องไม่ประมาทในการรับมือ  ก็คือทำความคุ้นเคยฝากเนื้อฝากตัว ทำตัวเป็นผู้น้อยที่ดี ต่อตุลาการชั้นผู้ใหญ่เอาไว้เสียตั้งแต่แรก  เพื่อจะได้เกิดความเมตตา หรือช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้เวลาถูกโจทย์จำเลยเล่นงานเอา

พระยาเพ็ชรรัตน์เองก็ไม่ประมาทที่จะฝากเนื้อฝากตัวให้ผู้ใหญ่เหนือขึ้นไปกว่าให้เมตตาปรานี  ท่านเป็นมิตรที่ดีของตุลาการชั้นสูงอยู่หลายคน  หนึ่งในจำนวนนั้นคือพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนศิริธัชสังกาศ (ต้นราชสกุลศรีธวัช ณ อยุธยา) อธิบดีศาลฎีกา 

ลูกชายของพระยาเพ็ชรรัตน์ ทั้ง 3 คน ต่างคุ้นเคยกับการชำระความของบิดามาตั้งแต่เล็ก  โตขึ้นจึงใฝ่ใจที่จะเป็นตุลาการกันทั้งหมด  หนึ่งในจำนวนนั้นคือเจ้าพระยามหิธร

ขอบคุณข้อมุล เทาชมพู

ขอบคุณภาพจาก http://kid-pitchaya.blogspot.com/2010/08/blog-post.html

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดแชทสุดท้าย “วิว ชัชวาลย์” ถึงลูกทุ่งดังให้ดูแลตัวเองให้มากๆเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568เภสัชกรเผย!..อาหารเสริมวิตามิน 3 ชนิดที่คุณควรหยุดกิน!หนุ่มคลั่งการ์ตูนชินจัง ลงทุนสร้างบ้านเหมือนเป๊ะ!!เจ้าของร้านขายเนื้อหมา ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าตๅยใน 3 วันปูตินประกาศ ลบประเทศยูเครนแล้ว!!เวียดนามเปิดตัวรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกในโฮจิมินห์ซิตี้: ความฝันที่รอคอยกว่า 17 ปีเวียดนามมีรถไฟฟ้าใต้ดินใช้แล้ว!!โลกออนไลน์แฉ ร้านอาหารของคนจีน แถวคลองเตยไม่ตรงปกสภาพสุดยี้ ไรเดอร์ไปทีไรแทบอ้วกเป็นไปได้ไง! ชายผู้ไม่ใช้ภาษาสเปน คว้าแชมป์โลก Scrabble ภาษาสเปนจะโดนจับอยู่แล้ว! สาวฝรั่งยังจะขอเอ้าท์ดอร์ให้เสร็จก่อนจะโดนจับ!ผู้โดยสารบนเที่ยวบินสหรัฐฯ ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนัก กรณีนำสุนัขบำบัดทางจิตใจขึ้นเครื่อง 😌
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เป็นไปได้ไง! ชายผู้ไม่ใช้ภาษาสเปน คว้าแชมป์โลก Scrabble ภาษาสเปนอดีตนักบินอวกาศของนาซ่า เห็นวัตถุลึกลับในอากาศ สงสัยเป็นการทดสอบเทคโนโลยีทางทหารขั้นสูงแจกสูตรส้มตำไทยแซ่บๆ รสชาติเปรี้ยวหวานเผ็ด! 🥗🌶️อส.เมาก่อเหตุ ยิJในร้านข้าวต้ม พรากชีวิตทั้งพ่อแม่ที่กำลังพาลูกไปเลี้ยงวันเกิด ขณะเกิดเหตุแม่เอาตัวเองบังลูกไว้ ลูกจึงรอดชีวิต
ตั้งกระทู้ใหม่