หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รถรางไฟฟ้า กี่คนที่รู้ว่าลพบุรีก็เคยมี

โพสท์โดย mata

 

สวัสดีครับเพื่อนๆ ถ้าพูดถึงรถราง คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปก็คงรู้จักเป็นอย่างดี และอาจจะมีโอกาสได้ขึ้น นอกจากนั้นก็อาจได้เคยศึกษามาบ้าง ผมเองก็เคยลงไว้เรื่อง "120 ปี รถรางไทย" (ลิ้งค์ https://board.postjung.com/630344.html)  แต่จะมีสักกี่คนครับที่จะรู้ว่าในอดีตเมื่อ 58 ปีที่แล้วจังหวัดลพบุรีก็มีรถรางไฟฟ่้าให้บริการที่นั่น  วันนี้เรามาติดตามเรื่องราวกันดีกว่าครับ

คิดว่าในประเทศไทย คนทั่วไปคงจะทราบกันเป็นอย่างดีว่าแล้วว่าเราเคยมีบริการรถรางวิ่งในกรุงเทพมหานคร (สมัยก่อนเรียกจังหวัดพระนคร) ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ดังปรากฎทั้งภาพ และคลิปต่างๆ และมีการยกเลิกการให้บริการ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2511 ตามวีดีคลิป บน youtube ท้ายเรื่อง

(ภาพอดีต)รถรางร่วมสมัย ระหว่าง รถรางเมืองเก่าลพบุรี และรถรางในกรุงเทพมหานคร (ขณะนั้นเรียกจังหวัดพระนคร)

รถรางในอดีต ไม่ได้มีบริการเฉพาะกรุงเทพมหานคร ในเวลานั้นเท่านั้น แต่ยังมีอีกจังหวัดหนึ่ง นั่นก็คือ จังหวัดลพบุรี หนึ่งในเมืองเก่าแก่ ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมัยอยุธยา) ที่พระองค์ท่าน ทรงสร้างโบราณสถานต่างๆ มากมายด้วยเทคโนโลยี ถ้านับในสมัยนั้น ก็ก้าวหน้าเทียบเคียงกับ ตะวันตก ครับ เพราะมีเทคโนโลยี่ล้ำยุค (ในสมัยนั้น) นำมาใช้ในเมืองเก่าแห่งนี้ เนื่องจากทรงเป็นที่ประทับของพระนารายณ์มหาราชเช่นกัน 

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ วันนี้มีบทความสั้นๆที่ผมจะบอกเล่าถึงเรื่องราวรถรางในลพบุรี และไดัรับความอนุเคราะห์ จาก อ. Jon X.Viri (ชื่อบน Facebook) อาจารย์เป็นสถาปนิกอาวุโส และนักวิชาการผังเมือง หนึ่งในคณะทำงาน เตรียมโครงการฟื้นฟู เมืองเก่าลพบุรี ซึ่งร่วมกับนักวิชาการอีกหลายท่าน รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ และเอกชน ได้ลงพื้นที่เตรียมโครงการมานานนับปีแล้วครับ

บรรยากาศน่าจะเยี่ยมยอดเลยครับ ในเมืองเก่าลพบุรี วิ่งผ่านพระปรางค์สามยอด แล้วคนนิยมขี่จักรยานกันอีก มลภาวะไม่มีแน่นอนครับ....

บทความของ อ.Jon X.Viri

"ลพบุรีเป็นจังหวัดในภูมิภาคแห่งเดียวที่เคยมีบริการรถรางนอกจากกรุงเทพฯ เริ่มโดยการไฟฟ้านครหลวงเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2498 (ค.ศ.1955) มีระยะทาง 5.75 กม.โดยใช้ตู้รถรางเก่าจากบางกอก รถรางเมืองลพบุรีนี้ ดำเนินการอยู่เพียง 7 ปีก็ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีความพยายามที่จะเปิดดำเนินกิจการรถรางไฟฟ้าในจังหวัดอื่นด้วย เช่น เชียงใหม่ โคราช และสงขลา แต่ก็ไม่ปรากฏผลสำเร็จ และเมื่อรถรางในกรุงเทพฯถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ.1968) ก็ไม่ปรากฏรถรางไฟฟ้าวิ่งในเมืองไทยอีกต่อไป"

เส้นทางรถรางในเมืองลพบุรี มีสถานีต้นทางอยู่ที่บริเวณแยกถนนนเรศวร ลงมาตามถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวามาตามถนนนารายณ์มหาราช ข้ามทางรถไฟมาตามถนนวิชาเยนทร์แล้วเลี้ยวไปตามถนนสุรสงคราม สุดทางที่แยกถนนปรางค์สามยอด

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ ถึงแม้เนื้อหา และรูปภาพขณะนี้ที่พอหาได้จะยังไม่มากเท่าไหร่ แต่ก็นับได้ว่าเป็นเรื่องน่าเรียนรู้ และจดจำ ตลอดจนอาจจะมีแนวทางใหม่ๆ สำหรับการเดินเส้นทางรถรางใหม่ ย้อนอดีต แต่ใช้เทคโนโลยี่ชั้นสูง ก็อาจจะเป็นไปได้ครับ  ถ้าระบบผังเมืองบ้านเราก้าวล้ำเหมือนอารยะประเทศ ทุกอย่างเป็นไปได้เสมอครับ  ขึ้นอยู่กับความจริงใจ ของคนไม่กี่คนในประเทศไทยนี้จริงๆ ในสภาพสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ผมหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด เพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริงครับ 

ชมวีดีโอ วันสุดท้ายรถรางในกรุงเทพมหานคร

 

ขอบพระคุณข้อมูลจาก กลุ่ม "Lopburi Old Town"

เรียบเรียงโดย  พรชัย  สังเวียนวงศ์ (mata)

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
44 VOTES (4/5 จาก 11 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"เต๋า ทีวีพูล" ลั่น สินค้า "แอน จักรพงษ์" ขายหมดเกลี้ยง Miss Universe 2024 กระแสเกินต้านอ่านคำพิพากษาเต็ม ศาลมีคำตัดสินประหๅรชีวิต แอม ไซยาไนด์นางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจ"น้องธาช่า" ลูกสาว "กิ๊ก สุวัจนี" แจ้งเกิดเต็มตัว! ประเดิมละครเรื่องแรกกับบทบาทสุดปัง'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าหมอเหรียญทองกำลังมองหาสถานที่เช่าสำหรับตั้งซูเปอร์คลินิก เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีบัตรทองจากโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
ตั้งกระทู้ใหม่