ยืนยันดาวหางชนโลกกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เกิดพร้อมกัน
โพสท์โดย mata
การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ยังคงเป็นปริศนาสำหรับมนุษย์มาจนถึงทุกวันนี้ หลายคนเชื่อว่าเป็นเพราะดาวหางบ้าง อุกกาบาตบ้าง ภูเขาไฟระเบิดบ้าง สภาพอาการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ยังไม่มีใครทราบคำตอบที่ถูกต้อง
แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์ธรณีกาลวิทยาเบิร์กลี่ย์ (BGC) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ และมหาวิทยาลัยหลายแห่งในเนเธอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร ได้ค้นพบช่วงเวลาที่แม่นยำที่สุดเท่าที่จะเคยค้นพบมาของเหตุการณ์ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ตลอดจนเหตุการณ์เลวร้ายอื่นๆที่ตามมาในครานั้น
นักวิจัยเผยถึง ช่วงเวลาค่อนข้างที่จะใกล้เคียงมากๆ และพวกเขาก็เชื่อว่า น่าจะเป็นดาวหางหรืออุกกาบาต ที่เป็นสาเหตุทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปมากมายเพียงนั้น แม้อาจจะไม่ใช้สาเหตุทั้งหมดแต่ก็น่าจะเป็นสาเหตุหลักๆ
"ผลกระทบครั้งนั้นทำให้โลกต้องมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่" พอล เรนน์ ศาสตราจารย์ที่เบิร์กลี่ย์ ผู้อำนวยงาน BGC เผย "เราได้แสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ต่างๆสอดคล้องกันชนิดที่แบบแม่นยำมาก และปรากฏการณ์ดาวหางชนครั้งนั้นก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ แต่ก็อาจจะไม่ได้มาจากผลจากดาวหางไปซะทั้งหมด"
การระบุวันได้แม่นยำในครั้งนี้ทำให้ข้อสงสัยที่ว่า การชนของดาวหางเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการสูญพันธุครั้งใหญ่ เดินทางมาถึงการได้คำตอบแล้ว โดยสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่ว่า เราไม่ค่อยพบฟอสซิลของไดโนเสาร์บนบกและในน้ำเลย เพราะมันหายไปในเวลาเพียงข้ามคืน
ตัวเลขล่าสุดที่เชื่อกันในปัจจุบันนั้นคือ 66,038,000 ปีก่อน ซึ่งขอบเขตการคลาดเคลื่อนอยู่ภายในช่วงของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่พอดี ดร.เรนน์จึงเชื่อว่า สองเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมกัน โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว
การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ถูกโยงเข้ากับเรื่องการพุ่งชนของดาวหางเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1980 โดยหลุยส์ อัลวาเรซ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลของเบิร์กลี่ย์ เป็นผู้เสนอทฤษฎีนี้ และเชื่อว่า หลุมอุกกาบาตความกว้าง 110 ไมล์ที่ชายฝั่งประเทศเม็กซิโกน่าจะเป็นผลที่หลงเหลือจากการพุ่งชนในครั้งนั้น หลุมดังกล่าวมีชื่อว่า Chicxulub และนักวิทยาศษสตร์คาดเดาว่า น่าจะเกิดจากดาวหางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ไมล์ผ่านบรรยากาศของโลกเข้ามาพุ่งชนโลกอย่างแรง ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนและฝุ่นอิริเดียมกระจายทั่วโลก
Chicxulub
งานของ ดร.เรนน์ คือการระบุวันให้แน่นอนว่าการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่กันแน่ โดยงานวิจัยได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อนเมื่อเขาสังเกตว่า วันที่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เชื่อในครั้งนั้นขัดแย้งกับการประมาณการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ด้วยวิธีอื่นๆ ตลอดจนวันที่เกิดการชนของอุกกาบาติด้วย และสงสัยว่า บางที การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อาจจะไม่ได้สอดคล้องหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อยู่เกิดขอบเขตข้อผิดพลาดของการประมาณวันที่ดาวหางพุ่งชนโลกก็เป็นได้
ในงานวิจัย ดร.เรนน์ และทีมงานจึงได้เริ่มจากการวัดแบบละเอียดและปรับปรุงวิธีการประมาณวันที่ที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เรียกกันว่า เทคนิคอาร์กอน-อาร์กอน นักวิจัยได้รวบรวมเถ้าถ่านภูเขาไฟจากพื้นที่ Hell Creeek ในมอนตาน่า และวิเคราะห์ด้วยวิธีอาร์กอน-อาร์กอนแบบใหม่ในการวัดประเมินว่า วันที่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ น่าจะเป็นวันไหนกันแน่ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ฟอสซิลของไดโนเสาร์จากหลายๆที่มาทำการศึกษาด้วยว่า ก่อนและหลังเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่นั้น ฟอสซิลได้เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร
นักวิจัยยังได้รวบรวมเอาสะเก็ดดาวจากไฮติและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีเดียวกันเพื่อประเมินว่า การชนของอุกกาบาตนั้นเกิดขึ้นเมื่อนานเท่าไหร่มาแล้ว จนกระทั่งได้ข้อมูลของวันที่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่และการชนของดาวหางว่า เกิดขึ้นไม่ห่างกัน 11,000 ปี ซึ่งก็อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง
ภาพจาก http://www.komkid.com/
"เมื่อตอนที่เราเริ่มต้นศึกษาเรื่องนี้ ข้อมูลความคลาดเคลื่อนอยู่ในระดับบวกหรือลบหนึ่งล้านปี" วิลเลียม เคลเมนส์ นักวิจัยเผย "นี่เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น คุณูปการที่พอลและทีมงานได้ทำคือความถูกต้องของช่วงเวลา ซึ่งจะทำให้เราสามารถรวบรวมเอาความรู้ที่เราได้จากการศึกษาฟอสซิลและข้อมูลจากการศึกษาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ให้มาเป็นข้อมูลเดียวกันได้"
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะพบว่า การชนของดาวหางและการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นในเวลาแทบจะเดียวกัน ดร.เรนน์ก็เตือนว่า การชนของดาวหางอาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุทั้งหมดของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เพราะเรื่องสภาพอากาศในเวลานั้นก็มีเปลี่ยนแปลงมาเป็นล้านปีแล้ว
"ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ระบบนิเวศของโลกนั้นอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆมาก ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆก็อาจจะเปลี่ยนแปลงยุคสมัยเข้าไปสู่ยุคใหม่ได้"
ทางด้าน ดาร์เรน เอฟ. มาร์ค นักวิจัยในโครงการได้เสริมว่า "การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาธรณีกาลวิทยาที่แม่นยำอย่างมาก หลายคนคิดว่าการศึกษาให้แม่นยำเป็นเพียงแค่การเติมเพิ่มจุดทศนิยมลงไปให้กับตัวเลขเท่านั้น แต่มันน่าตื่นเต้นมากกว่านั้นเยอะ มันเหมือนกับการที่เรามีกล้องที่ละเอียดขึ้น มันทำให้เราศึกษาทางธรณีวิทยาได้ในความละเอียดที่สูง และสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของประวัติศาสตร์โลกได้อย่างลงตัว" และนี่คืออีกหนึ่งทฤษฏีที่นำมาฝากกัน
อ้างอิง: University of California - Berkeley (2013, February 7). New evidence suggests comet or asteroid impact was last straw for dinosaurs. ScienceDaily. Retrieved February 10, 2013, from http://www.sciencedaily.com/releases/2013/02/130207141444.htm
งานวิจัย:
1. P. R. Renne, A. L. Deino, F. J. Hilgen, K. F. Kuiper, D. F. Mark, W. S. Mitchell, L. E. Morgan, R. Mundil, J. Smit. Time Scales of Critical Events Around the Cretaceous-Paleogene Boundary. Science, 2013; 339 (6120): 684 DOI: 10.1126/science.1230492
2. H. Palike. Impact and Extinction. Science, 2013; 339 (6120): 655 DOI: 10.1126/science.1233948
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
108 VOTES (4/5 จาก 27 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรงเปิดตัวตำรวจสาว นางฟ้าผู้พิสูจน์หลักฐาน สวยและเก่ง ช่วยคลี่คลายคดีแอมไซยาไนด์Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า