หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อันตรายจากการสวมใส่เลนส์สัมผัส (Contact Lenses) ในการทำงาน และแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย

โพสท์โดย Taegukgi

ปัจจุบัน ผู้คนจานวนไม่น้อยนิยมสวมใส่เลนส์สัมผัส (Contact Lenses) เพื่อแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติ โดยอาจมีเหตุผลความจาเป็นที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน เพื่อปรับปรุงบุคลิกภาพ หรือเพื่อความสะดวกคล่องตัวในการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การเล่นกีฬา ถ้าใส่แว่นตาทำให้เล่นได้ไม่ถนัด ในขณะที่หลายคนก็สวมใส่โดยไม่ได้มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ แต่เป็นไปในเชิงแฟชั่น ไม่ว่าจะเพื่อเปลี่ยนสีสันของดวงตา ทำให้ดวงตาดูมีขนาดใหญ่ขึ้น ฯลฯ ทั้งนี้ เนื่องจากในประเทศไทย สามารถซื้อหาเลนส์สัมผัสได้ง่าย โดยไม่จาเป็น ต้องใช้ใบสั่งจากจักษุแพทย์ มีให้เลือกหลากหลาย และส่วนใหญ่มีราคาไม่แพง

ผู้ปฏิบัติงานที่มีโอกาสสัมผัสกับอันตรายรูปแบบต่างๆ ถือเป็นกลุ่มหนึ่งที่อาจมีการใช้เลนส์สัมผัสและสวมใส่ขณะทำงาน ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่ถูกวิพากษ์ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี หรืออยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นหรือสารเคมี จะมีโอกาสเกิดการระคายเคือง หรืออาจได้รับอันตรายที่รุนแรงต่อดวงตาได้

ทั้งนี้ อันตรายจากสารเคมีเข้าตา จะขึ้นกับความเข้มข้นของสารเคมี ปริมาณสารเคมีที่เข้าตา และระยะเวลาที่สัมผัส ถ้าการบาดเจ็บหรือความเสียหายของตาไม่รุนแรง จะสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ถ้ามีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องถูกวิธี และนาส่งแพทย์อย่างทันท่วงที แต่ถ้ามีความเสียหายของตารุนแรงมากจนอาจสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็น เกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงตาบอดได้ในที่สุด

                        

 

ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่เลนส์สัมผัสแบบแข็ง ซึ่งผลิตจากวัสดุที่น้าซึมผ่านไม่ได้ อาจมีความเสี่ยงจากการที่สิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นหรืออนุภาคของแข็งเล็กๆ เข้าไปติดอยู่ใต้เลนส์ เนื่องจากเลนส์สัมผัสแบบนี้จะลอยอยู่บนน้าตาด้านหน้ากระจกตา และอาจทำให้เกิดการขูดขีดหรือการบาดเจ็บที่กระจกตาได้ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เลนส์สัมผัสแบบแข็งจะมีความเสี่ยงอันตรายมากขึ้น ถ้าต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นของแข็งกระจายตัวอยู่สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่เลนส์สัมผัสแบบนิ่ม พบว่ามีความเสี่ยงหรือปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ร้อนและแห้ง เนื่องจากเลนส์สัมผัสแบบนิ่มผลิตจากพลาสติกและมีส่วนประกอบของน้าหล่ออยู่มาก หากมีสารเคมีกระเด็นใส่ อาจสามารถแพร่ผ่านเข้าในเลนส์และติดอยู่ระหว่างกระจกตาและตัวเลนส์ได้ กรณีที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีอุลตราไวโอเลทหรือรังสีอินฟราเรด จะมีการดูดซับรังสีดังกล่าวและเกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของน้าในเลนส์สัมผัส นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมการทำงานที่ร้อนและแห้ง อาจทำให้เกิดการระเหยของน้าออกจากเลนส์และชั้นของน้าตา ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีอาการตาแห้งและรู้สึกไม่สบายตาได้

การที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เลนส์สัมผัส หากทำงานอยู่คนเดียวหรืออยู่ในบริเวณที่ห่างไกลผู้อื่น อาจมีความเสี่ยงอันตรายมากกว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ดวงตา เนื่องจากไม่มีผู้ให้การช่วยเหลือ นอกจากนี้ การที่เลนส์สัมผัสหลุดหรือหล่นหายอาจเป็นอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งทำให้คุณภาพการมองเห็นลดลงอย่างฉับพลัน และอาจได้รับอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สภาวะที่การมองเห็นมีผลกระทบต่อความปลอดภัย กรณีที่มีการใช้เลนส์สัมผัสร่วมกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของใบหน้าและดวงตา เช่น หน้ากากป้องกันสารเคมีชนิดคลุมศีรษะ หากเกิดปัญหาขึ้นกับเลนส์สัมผัสที่สวมใส่ จะมีความยุ่งยากขึ้นในการเปลี่ยนหรือแก้ไข ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องระวังเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมหนึ่ง พบว่าการสวมใส่เลนส์สัมผัสปฏิบัติงาน อาจให้ผลเชิงบวกในการช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมสัมผัสกับดวงตาโดยตรง และช่วยลดหรือป้องกันการบาดเจ็บได้เช่นกัน ทำให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้คอนแทคเลนส์ในการทำงาน และข้อมูลการศึกษาผลกระทบในเรื่องนี้ยังคงมีอยู่อย่างจากัด อีกทั้งข้อมูลรายงานการบาดเจ็บจากการทำงาน มักไม่มีรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เลนส์สัมผัสของผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ

สถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งสหรัฐอเมริกา (NIOSH) ได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสในการทำงานขึ้น โดยในช่วง ๒-๓ ทศวรรษก่อนหน้านี้ NIOSH ไม่แนะนำให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายสวมใส่เลนส์สัมผัสในทุกกรณี อย่างไรก็ตาม ในภายหลังได้มีผลการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง เช่น สมาคมจักษุวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา สมาคมนักเคมีแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา ฯลฯ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานสามารถสวมใส่เลนส์สัมผัสขณะทำงานได้อย่างปลอดภัย หากมีมาตรการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม

จากรายงานการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมุ่งเน้นการทดสอบเกี่ยวกับการดูดซับ/ดูดกลืนกรด ด่าง และสารตัวทำละลายบางกลุ่มของเลนส์สัมผัส โดยพบว่าการดูดซับและปลดปล่อยสารเคมีส่วนใหญ่เข้าสู่เนื้อเยื่อดวงตา ไม่มีผลต่อความรุนแรงของการเกิดอันตรายอย่างมีนัยสาคัญ ถึงแม้ว่าจะมีรายงานเพิ่มเติมที่พบว่ากรณีของไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์และเอธิลแอลกฮอล์ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาทดลองเหล่านี้ มิได้มีการประเมินการสัมผัสสารเคมีในสภาพแวดล้อมที่แท้จริง และมิได้มีการพิจารณาผลกระทบเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาร่วมด้วย ซึ่งการที่ผู้ปฏิบัติงานใช้เลนส์สัมผัสแทนแว่นสายตา อาจทำให้การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาอื่นๆ เช่น แว่นนิรภัย ครอบตานิรภัย หน้าตาป้องกันสารเคมี ฯลฯ เป็นไปได้สะดวก ไม่เกะกะ อีกทั้งช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น

                                                    

 

NIOSH จึงได้มีการทบทวนและปรับปรุงข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ และออกแนวปฏิบัติที่ลดความเข้มงวดของการใช้เลนส์สัมผัสในสภาพแวดล้อมการทำงาน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีที่กาหนดใน NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards 2004 ในส่วนของสำนักบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งสหรัฐอเมริกา (OSHA) ปัจจุบันยังมีข้อแนะนำไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เลนส์สัมผัสในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ อะคริโลไนไทรล์ เมธิลีนคลอไรด์ 1,2-ไดโบรโม-3-คลอโรโพรเพน, เอธิลีนออกไซด์ และเมธิลีนไดอะนิลี

ดังนั้น NIOSH จึงได้เสนอแนะให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสวมใส่เลนส์สัมผัสในการทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายได้ โดยต้องมีการปฏิบัติตามข้อแนะนำและมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม แม้เลนส์สัมผัสอาจช่วยลดอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีในบางกรณี แต่ไม่อาจถือเป็นอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของดวงตา และผู้ปฏิบัติงานยังคงต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาอื่นๆ ตามความเหมาะสมและความจาเป็น ทั้งนี้ NIOSH ได้กาหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสวมใส่เลนส์สัมผัสในการทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี เพื่อให้สถานประกอบการมีการกาหนดนโยบายและมาตรการปฏิบัติ ได้แก่

 

๑. จัดให้มีการประเมินอันตรายหรือการบาดเจ็บต่อดวงตา ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย ผู้ที่มีการสวมใส่เลนส์สัมผัส รวมทั้งผลกระทบจากการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของใบหน้าและดวงตาในกลุ่มผู้ใช้เลนส์สัมผัส เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ โดยผู้ที่มีการใช้เลนส์สัมผัส ควรมีข้อมูลบันทึกในแฟ้มประวัติด้านสุขภาพและหน่วยปฐมพยาบาล

๒. จัดให้มีการประเมินการสัมผัสสารเคมี (Chemical Exposure Assessment) ในผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งจัดระบบข้อมูลสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลคุณสมบัติทางเคมี ข้อมูลด้านอันตราย ขีดจำกัดการสัมผัส การปฐมพยาบาล ฯลฯ เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

๓. จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของใบหน้าและดวงตา สำหรับผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายหรือการบาดเจ็บดวงตาจากสารเคมี โดยพิจารณาตามความเหมาะสมกับสารเคมีที่เกี่ยวข้อง เช่น ไอระเหย ของเหลว หรือฝุ่น จะต้องให้ครอบตานิรภัยหรือหน้ากากป้องกันสารเคมีแบบเต็มหน้า และอาจมีการใช้หน้ากากนิรภัยเพิ่มเติมถ้าจาเป็นทั้งนี้ ไม่มีข้อกำหนดพิเศษสาหรับผู้ที่สวมใส่เลนส์สัมผัส

                                       

๔. จัดให้มีนโยบายการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่ครอบคลุมการปฏิบัติของผู้ที่สวมใส่เลนส์สัมผัสให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด รวมทั้งกาหนดข้อจำกัดเขตพื้นที่หรืองานที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ใช้เลนส์สัมผัส ทั้งนี้ ข้อจำกัดในการสวมใส่เลนส์สัมผัสทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่มีความไวต่อการตอบสนองของดวงตาสูงหรือมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ควรให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของจักษุแพทย์ ซึ่งพิจารณาเป็นรายๆ ไป

๕. จัดให้มีการอบรมความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยมีการให้ข้อมูลครอบคลุมเกี่ยวกับอันตรายต่อดวงตาและแนวปฏิบัติที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีการสวมใส่เลนส์สัมผัส

๖. กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เลนส์สัมผัสและทำงานเกี่ยวกับสารเคมี มีการแจ้งให้หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานทราบ เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

 

๗. จัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลตามข้อกำหนดของกฎหมาย และควรมีการฝึกอบรมผู้ที่ทำหน้าที่ปฐมพยาบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องถึงวิธีการถอดเลนส์สัมผัสออกจากดวงตาผู้ประสบอันตราย ซึ่งอาจเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบดาเนินการเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้น แต่ในบางสถานการณ์ เช่น เลนส์สัมผัสละลายติดดวงตา ต้องให้จักษุแพทย์เป็นผู้ดาเนินการ

๘. กรณีเกิดอุบัติเหตุสารเคมีเข้าตาผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่เลนส์สัมผัส ให้รีบทำการชะล้างด้วยน้ำที่ไหลอย่างต่อเนื่อง หรือน้ำสะอาดปริมาณมากทันที และทำการถอดเลนส์สัมผัสออกอย่างรวดเร็วหากกระทำได้ ก่อนนำตัวส่งจักษุแพทย์ สิ่งที่ไม่ควรทำคือ ไปพบจักษุแพทย์โดยไม่มีการล้างตามาก่อน เนื่องจากสารเคมีอาจทำลายเยื่อบุตา กระจกตาและส่วนต่างๆ จนเกิดความเสียหายที่รุนแรง ยากต่อการรักษาให้เป็นปกติได้

๙. ผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่เลนส์สัมผัสทำงาน ควรได้รับคาแนะนำให้รีบถอดเลนส์สัมผัสออกด้วยมือที่ล้างสะอาดแล้ว ทันทีที่เริ่มมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล หรือเกิดความผิดปกติของดวงตาและการมองเห็น

๑๐. สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ ควรมีการกาหนดเขตจากัดพื้นที่ และมาตรการความปลอดภัยของผู้ที่สวมใส่เลนส์สัมผัสด้วย

ข้อเสนอแนะในข้างต้นนี้ NIOSH กาหนดขึ้นเพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการทำงานที่อาจได้รับอันตรายจากสารเคมีต่อดวงตา มิได้ครอบคลุมสำหรับอันตรายในรูปแบบอื่นๆ เช่น ความร้อน รังสี หรือสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นฟุ้งกระจายอย่างแน่นหนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานเชื่อม ซึ่งจะมีอนุภาคฝุ่น ฟูมโลหะ หรือสารเคมีในบรรยากาศ รวมทั้งสะเก็ดไฟและความร้อน ไม่แนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เลนส์สัมผัส ส่วนกรณีที่มีรายงานว่าเลนส์สัมผัสสามารถละลายติดกับกระจกตาเนื่องจากสัมผัสกับประกายไฟนั้น ได้มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากวัสดุที่ผลิตเลนส์สัมผัส มีคุณสมบัติไม่ละลายตัวได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แต่ไม่ได้ทำงานเชื่อมโดยตรง จะต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสมกับสภาพอันตรายที่มีอยู่ในบริเวณนั้นๆ

 

 

ที่มา: สำนักความปลอดภัยแรงงาน
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Taegukgi's profile


โพสท์โดย: Taegukgi
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
56 VOTES (4/5 จาก 14 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 256810 ฉายาดารา 2567 เชยจนต้องขยี้ตา หรือเสน่ห์ย้อนยุคที่ยากจะปฏิเสธ?มาดูกัน! สถิติหวยออกเดือนมกราคม ย้อนหลัง เลขเด็ดงวดแรกของปี 2 ม.ค. 68 (ใครอยากปังต้องดู!)จินโทนิก จากยารักษาโรคภัยในอดีต สู่ยารักษาโรคใจ ค็อกเทลฮิตติดอันดับโลกเภสัชกรเผย!..อาหารเสริมวิตามิน 3 ชนิดที่คุณควรหยุดกิน!ผักที่มีแคลเซียมมากกว่านม 4 เท่า! ค้นพบแหล่งแคลเซียมธรรมชาติที่ขายดีตามตลาดแต่ยังน้อยคนรู้จักนักท่องเที่ยวถูกขโมยกระเป๋าในห้างไทย ต้องตามคนร้ายจากสัญญาณไอพอด ก่อนตำรวจจะจับตัวได้ พบเป็นชาวอินโดฯ ที่มาทำงานในไทย 😏จะโดนจับอยู่แล้ว! สาวฝรั่งยังจะขอเอ้าท์ดอร์ให้เสร็จก่อนจะโดนจับ!มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่มากับเมนูอร่อยเลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.14" งวดวันที่ 2 มกราคม 2568เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการขับรถเลนซ้าย!!ทำไมเราถึงทะเลาะกับแฟนบ่อย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
“มนุษย์เกิดมาทำไม?” คำถามที่ปลดล็อกความหมายของการมีชีวิตสุดยอดสายรุ้ง 360 องศา มหัศจรรย์จากธรรมชาติที่คุณอาจไม่เคยเห็นทำไมเราถึงทะเลาะกับแฟนบ่อย
ตั้งกระทู้ใหม่