ทำไมคนเรา มีสีผิวที่แตกต่างกัน
คลิกเพื่อดูภาพขยาย
คนเราแต่ละคนต่างก็มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เรียกได้ว่าการที่คนเราสองคนจะเหมือนกันไปเสียทุกอย่างนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก ความแตกต่างก็มีทั้ง สูง ต่ำ ดำ ขาว ร่างกายบอบบาง หรือกำยำล่ำสัน ทั้งยังสัดส่วนรูปร่างต่างๆ อีกที่ต่างกันไป และสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในความแตกต่างนั้นก็คือ "สีผิว" ของคนเรา ซึ่งขึ้นกับชนชาติ กรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อมในภายหลัง ที่มีทั้้งผิว ขาว เหลือง น้ำตาล คล้ำ หรือแม้กระทั่งผิวดำ การมีสีผิวอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เป็นลักษณะจำเพาะของคนแต่ละคน ในบทความตอนนี้ womanandkid จะอธิบายให้สาวๆ ได้ทราบว่า ทำไมคนเราแต่ละคนจึงมีสีผิวที่ต่างกัน ลองติดตามกันเลยค่ะ
นี่คือเม็ดสีที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย เม็ดสีนี้จะมีสีน้ำตาลเข้มหรือแม้กระทั่งสีดำ เจ้าเม็ดสีชนิดนี้นั่นเเองที่สาวๆ มักจะไม่อยากได้กันมากเนื่องจากทำให้ผิวมีสีออกคล้ำ เกิดขึ้นจากเซลล์สร้างเม็ดสีเมลาโนไซต์ (melanocytes) ซึ่งอยู่ที่ชั้น สตราตัม บาซาเล (Stratum basale) ในชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) โดยที่ชั้นหนังกำพร้าแบ่งแยกออกได้เป็น 5 ชั้น (จากชั้นนอกสุดไปยังชั้นในสุด) คือ - สตราตัม คอร์เนียม (stratum corneum) ปริมาณของเม็ดสีเมลานินจะเป็นตัวกำหนดให้เกิดผิวสีดำเข้มมากน้อยต่างกันในแต่ละคน แต่ละเชื้อชาติ เช่น ในคนผิวดำจะมีเซลล์ melanocytes ในชั้นผิวหนังมากกว่า คนผิวขาวเป็นต้น
คือเม็ดเลือดที่มีออกซิเจนอยู่ในปริมาณมาก เม็ดเลือดนี้จะมีสีแดงอยู่ในหลอดเลือด ซึ่งสีนี้จะเข้มขึ้นเมื่อมีการขยายตัวของหลอดเลือด (คือเห็นชัดขึ้น หนาขึ้น) หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือด เช่นหลอดเลือดขยายตัว ก็จะเห็นผิวเป็นสีแดงเพิ่มขึ้น สีของออกซีฮีโมโกลบินเป็นตัวเสริมในบางส่วนของร่างกาย ทำให้ผิวหน้า ฝ่ามือ มีสีแดงมากน้อยต่างกันได้ ทำให้บางคนมี สีผิวขาวอมชมพู บางคนมือเท้าแดง บางคนสีขาวซีด เป็นต้น
คือเม็ดเลือดที่มีออกซิเจนน้อยลง จะมีสีเขียว เม็ดสีนี้ก็มาจากออกซีฮีโมโกลบิน (oxyhemoglobin) นั่นเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในร่างกายบางจุด อาจจะเป็นที่ใบหน้าหรือมือ สีผิวหนังอาจจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำจนถึงสีเขียวได้ โดยถ้าเกิดภายในหลอดเลือดก็จะกลับมาเป็นปกติได้ในระยะเวลาสั้น แต่ถ้าออกมานอกหลอดเลือดหรือเกิดการกระทบกระเทือน เช่นฟกช้ำ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือดำคล้ำได้และใช้เวลานานกว่าในการเปลี่ยนสภาพกลับเป็นดังเดิม (เลยเรียกว่า ฟกช้ำดำเขียว ไงคะ)
คุ้นๆ กันไหมคะกับคำนี้ สาวๆ อาจจะเคยได้ยินคำว่า เบต้าแคโรทีน ซึ่งมีมากในแครอทหรือผลไม้สีส้ม-เหลืองนั่นเอง สารตัวนี้จะมีสีเหลือง สีนี้ที่ผิวหนังมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นเกิดภาวะที่มีน้ำดีคั่ง หรือการรับประทานอาหาร ที่มีสารแคโรทีนเช่นมะละกอ ฟักทอง มากๆ ปกติสีนี้จะถูกผสมกลมกลืนไปกับสีอื่นหมดคือจะไม่เด่นชัด แต่ถ้าร่างกายมีสภาวะบางอย่างเช่นตับอักเสบ หรือถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอุดตัน ก็อาจจะทำให้เห็นสีเหลืองออกมาเด่นชัดคือเรียกว่าดีซ่าน และการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดทั่วผิวหนังของร่างกาย ถือเป็นลักษณะสีผิวที่บ่งบอกโรคบางอย่างได้ (ไม่เหมือนฟกช้ำดำเขียว ที่เกิดจำเพาะที่ค่ะ) ของคนเอเซียจะมีเม็ดสีแคโรทีนนี้มากกว่าคนทางยุโรป และยังรับประทานอาหารที่มีแคโรทีนสูง ทำให้คนเอเชียสีผิวออกไปทางเหลืองมากกว่าชนผิวขาวทางยุโรป จนบางทีคนเอเชียถูกเรียกว่าคนผิวเหลือง
|