วิวัฒนาการของ แอนดรอยด์ (Android)
แอนดรอยด์ (Android)
เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ.2550 โดยบริษัท แอนดรอยด์ร่วมกับ Google จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2550
ได้มีการร่วมมือกันกว่า 30 บริษัทชั้นนำเพื่อพัฒนาระบบ
โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า OHA (Open Handset Alliance) โดยแบ่งออกเป็นเวอร์ชั่น และมีชื่อเรียกแต่ละเวอร์ชั่นเป็นชื่อขนมหวาน
เรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z เรามาดูไปทีละเวอร์ชั่นของ แอนดรอยด์ว่ามีวิวัฒนาการเป็นอย่างไร
และปัจจุบัน มันไปถึงเวอร์ชั่นอะไรแล้ว
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.0 ในรุ่นนี้ยังไม่มีชื่อเล่น (หากมีชื่อเล่น จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A)
ออกตัวเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2550
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.1 ในรุ่นนี้ยังไม่มีชื่อเล่น (หากมีชื่อเล่นจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร B)
ออกตัวเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 เป็นรุ่นที่พัฒนาแก้ไขบั๊ก (Bug) ของเวอร์ชั่นก่อนหน้า
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.5 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า คัพเค้ก (Cupcake)
เปิดตัวเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2552 เป็นรุ่นที่ถูกนำมาผลิตเพื่อการค้าอย่างเต็มรูปแบบ
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.6 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า โดนัท (Donut)
ออกตัวเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2552 มีการปรับปรุงแก้ไขข้กบกพร่องของเวอร์ชั่น 1.5
มีโทรศัพท์หลายรุ่นที่ได้นำมาใช้ โดยแอนดรอยด์เวอร์ชั่นนี้สามารถจัดให้มีการอัพเกรดออนไลน์ (Over The Air : OTA)
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.0 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า อีเคร์ (Eclair) แปลว่า ขนมหวานรูปยาวมีคริมข้างใน
ออกตัวเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2552
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.2 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า โฟรโย่ (Froyo) แปลว่าโยเกิร์ตแช่แข็ง (Froyo - Frozen yogurt)
ออกตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2553
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.3 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า จิงเกอร์เบรด (Gingerbread) เจ้าขนมปังขิง
ออกตัวเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2553 เป็นรุ่นที่ถือได้ว่ามีการนำมาใช้งานในโทรศัพท์มือถือมากที่สุด
ความสามารถที่เพิ่มเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้จะพิเศษที่ระบบการสื่อสารแบบใหม่ชื่อเรียกว่า Near Field Communication (NFC)
เป็นระบบการจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์ได้ โดยที่โทรศัพท์ต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับระบบ NFC ด้วย
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 3.0 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า ฮันนี่คอม (Honeycomb) รังผึ้ง
ออกตัวเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นนี้ถูกพัฒนาเพื่อใช้กับ Tablet
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.0 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า ไอศรีมแซนวิช (ICS : Ice Cream Sandwich)
ออกตัวเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2554 เวอร์ชั่นนี้จะสามารถใช้งานได้ทั้งในโทรศัพท์ และแท็บเล็ต
ทำให้บริษัทผู้ผลิตเตรียมอัพเกรดอุปรณ์ของตนเองเพื่อให้สามารถใช้งานเวอร์ชั่นนี้ได้)
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.1 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า เจลลี่บีน (JB : Jelly Bean)
เวอร์ชั่นนี้จะเน้นเพิ่มความสามารถทางด้านความเร็วเป็นหลัก
เพราะแอนดรอยด์ชอบโดนดูถูกเรื่องความ อืด ความช้า เมื่อเทียบกับ IOS ในเวอร์ชั่นนี้
เน้น ที่ความเร็วไหลลื่นให้ผู้ใช้ไม่มีสะดุด ด้วยเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า V-Sync adaptations และ triple buffering
จะนำคุณเข้าสู่ประสบการณ์การเรนเดอร์หน้าจอระดับ 60 เฟรมต่อวินาที (FPS)
พอพูดถึงระบบปฎิบัติการแอนดรอย ก็ต้องกล่าวถึงสมาร์ทโฟนเลือดไทยอย่าง iMobile
ที่ตอนนี้เพิ่งเปิดตัว สมาร์ทโฟนใหม่ภายใต้ชื่อ "IQ-Series"
ซึ่งออกมาแบบช๊อควงการที่เดียว 3 ตัว ได้แก่ IQ1 IQ2 และ IQ5 ที่งานนี้มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการแอนดรอย 4.0 ICS
ที่ต้องบอกว่า เป็นสมาร์ทโฟนที่ตอนนี้ไม่ว่า รีวิวไหนก็ยังชื่นชมกับสมาร์ทโฟนราคาย่อมเยา แต่สเปคครบเครื่อง
และหน้าจอใหญ่สะใจ 4.5 นิ้ว และ 5 นิ้ว พร้อมกับกล้องหลังที่จัดหนัก 8 ล้านพิกเซลกันเลยทีเดียว