ทำไมคนทั่วไป จึงหลับสนิทเวลา ตี 3 ตี 4
สวัสดีครับเพื่อนๆ เคยสงสังหรือไม่ครับว่าทำไมยามค่ำคืนเราจึงมีความรู้สึกง่วง และทำไมเวลาที่คนทั่วไปมักจะหลับสนิทจึงมักเป็นเวลาประมาณตีสามตีสี่ และทำไมเรามักจะได้ยินผู้สูงอายุพุดถึงการนอนไม่หลับ วันนี้เรามาไขคำตอบกับความมหัศจรรย์ของร่างกายกันดีกว่าครับ
Melatonin คืออะไร Melatonin เป็นฮอร์โมนธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งถูกสร้าง โดย Pineal gland ที่สมอง การหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสง เมื่อการหลั่งของ Melatonin เพิ่มขึ้นคนเราจะมีความรู้สึกตื่นตัวลดลงหรือเฉื่อยชาลงนั่นเอง รวมถึง อุณหภูมิของร่างกายก็เริ่มลดต่ำลง ทำให้เหมาะสำหรับการนอนมากขึ้น และระดับ Melatonin จะลดลง อย่างรวดเร็วในช่วงเช้ามืดของวันใหม่ ส่วนระดับของ Melatonin ในระหว่างวันนั้นต่ำมาก ด้วยเหตุที่ระดับของ Melatonin ขึ้นลงตามวงจรของความมืด-ความสว่าง (light-dark cycle) ทำให้ทั้งมนุษย์หรือแม้กระทั่งพืชซึ่งก็มีฮอร์โมนนี้เช่นกันมีความตื่นตัวในระหว่างวัน โดยที่ระดับ ของ Melatonin จะเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเวลา 2.00 น. ในเด็กที่มีสุขภาพดีทั่วไป และจะเพิ่มขึ้นสูงที่สุด เมื่อเวลา 3.00 น. ในผู้ที่สูงอายุ นอกจากนี้แล้วปริมาณการผลิต Melatonin โดยร่างกายยังลดลงเมื่อ อายุมากขึ้น ซึ่งก็เป็นอีกคำตอบหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุต้อง พบกับปัญหาในการนอนไม่หลับมากกว่าผู้ที่อายุยังน้อย
ต่อมไพเนียลเป็นต่อมขนาดเล็ก จัดอยู่ทั้งในระบบประสาท คือการรับตัวกระตุ้นจากการมองเห็น (visual nerve stimuli) และระบบต่อมไร้ท่อ คือการสร้างฮอร์โมน
1.เซลล์ไพเนียล( pinealocytes) เป็นระบบประสาทที่ผลิตเมลาโทนินตามการสั่งงานของไฮโพทาลามัส ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพศ (gonads) ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อ (ไม่ใช่เมลานินที่หลั่งโดยเซลล์ เมลาโนไซท์)
2. เซลล์ไกลอัล (glial cells) เป็นเซลล์ประสาทที่มีตำแหน่งอยู่บนโครงข่ายประสาทของเซลล์ไพเนียล หน้าที่ยังไม่ชัดเจน
มื่อแสงสว่างหายไปจากจอรับภาพในตา ต่อมไพเนียลจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโน ชื่อทริปโตเฟน (tryptophan) โดยนอร์อิพิเนฟรินจากเส้นประสาทซิมพาเทติกจะจับกับตัวรับสัญญาณบนเยื่อเซลล์กระตุ้นเซลล์ในต่อมไพเนียล (pinialocyte) สังเคราะห์ cAMP แล้วกระตุ้นสารเร่งปฏิกิริยา เอ็น-อะเซทิลทรานส์เฟอเรส (N-acetyltransferase, NAT) เปลี่ยนซีโรโทนินเป็นเอนอะซิทิลเซอโรโทนิน (N-acetylserotonin) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนโดยไฮดรอกซิอินโดล์ โอ เมทธิลทรานส์เฟอเรส (hydroxyl-indole-O-methyl transferase : HIOMT) ให้เป็นเมลาโทนินอีกทอดหนึ่ง
ต่อมไพเนียลทำหน้าที่เหมือนตัวกลางที่จะรับรู้ความยาวของกลางวันและกลางคืนและส่งสัญญาณในรูปของฮอร์โมนเมลาโทนินไปยังระบบต่างๆ เมื่อแสงสว่างผ่านเลนส์แก้วตาไปตกกระทบกับจอรับภาพบริเวณส่วนหลังสุดของลูกตาที่เรตินา (retina) ที่มีใยประสาทมาเลี้ยง จะส่งกระแสประสาทไปที่ ศูนย์รวมเส้นประสาทที่อยู่เหนือใยประสาทที่ไคว้กันเหนือสมองหรือ นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก ( suprachiasmatic nuclei) ผ่านเส้นประสาทซิมพาเทติกจนถึงที่ปมประสาทซูพีเรีย เซอร์วิคัล (superior cervical ganglion) แล้วส่งต่อไปที่ต่อมไพเนียล
ร่างกายคนเราช่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน นี่เป็นหนึ่งในหลายเรื่องราวที่ร่างกายได้ออกแบบมาอย่างชาญฉลาด ยังมีอะไรที่ซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะเข้าใจได้ แต่อย่างน้อยวันนี้เราก็ได้ไขความลัีบกับสิ่งที่ร่างกายเราดำเนินอยู่ทุกวันได้ไปอีกหนึ่งข้อ แล้วพบกันใหม่ครับ....mata
ที่มา: http://www.novabizz.com/NovaAce/Physical/Melatonin.htm#ixzz2EGdc7NxL