การดูแลรักษาตนเองเมื่อเกิดความผิดปกติของหู
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เรามาทำความรู้จักอาการผิดปกติของหูที่ไม่รุนแรง และวิธีดูแลหูกันหน่อย เนื่องจากในกระทู้เรื่อง "น่าห่วง! คนไทยจอตาขาดปีละ 7-8 พันราย เพ่งหน้าจอบ่อยระวัง" มีเืพื่อนที่ใช้ืชื่อว่า Aladeen มีคำถามที่อยากให้ช่วยหาคำตอบเกี่ยวกับอาการหูอื้อปวดหูเป็นพักๆ วันนี้ก็เลยหาข้อมุลมาให้อ่านกัน เผื่อจะได้ประโยชน์กันบ้างนะครับ
อาจจะรู้สึกว่าหูอื้อเหมือนอยู่ใต้น้ำความผิดปกติของหูอาจมีอาการได้หลายอย่าง เช่น ปวดบริเวณหูชั้นในหรือชั้นนอก มีหนองไหลจากหู คันหู หูอื้อหรือการได้ยินบกพร่อง อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน สาเหตุแห่งความผิดปกติของหูที่พบบ่อย ได้แก่ การอุดตันของช่องหูการติดเชื้อของหูชั้นนอกที่ไม่รุนแรงหรือการอุดตันข่องท่อยูสเตเชียน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เรามักจะสามารถดูแลรักษาตนเองได้ไม่ยากนัก
กำลังเกิดอะไรขึ้น
หูประกอบไปด้วย หูชั้นนอก ช่องหู เยื่อแก้วหู หูชั้นใน และท่อยูสเตเชียนซึ่งเป็นทางเชื่อมต่อไปถึงส่วนหลังของลำคอ การจะเลือกวิธีการดูแลรักษาตนเองนั้น เราจะต้องเข้าใจถึงสาเหตุที่จะทำให้เกิดปัญหาของหู ซึ่งก็คือ “การวินิจฉัย” นั้นเอง
ช่องหูอุดตัน
ขี้หูทำหน้าที่ป้องกันช่องหู แต่ถ้ามีขี้หูสะสมอยู่มากเกินไป ก็อาจทำให้ช่องหูอุดตันได้ ทำให้รู้สึกหูอื้อและได้ยินไม่ชัด
การติดเชื้อของหูชั้นนอก
การติดเชื้อของหูชั้นนอกมักเกิดจากความชื้นแฉะ หรืออุบัติเหตุของช่องหู ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหู คัน หูอื้อ และการได้ยินลดลง
ท่อยูสเตเชียนอุดตัน
ท่อยูสเตเชียนอุดตันเป็นทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางกับส่วนหลังของช่องคอ ซึ่งอาจเกิดการอุดตันได้เมื่อเป็นหวัด หรือเกิดภาวะภูมิแพ้
การประเมินอาการ
เป้าหมาย คือ เพื่อให้ทราบว่า อาการผิดปกติของหูเกิดจากมีขี้หูอุดตัน การติดเชื้อของหูชั้นนอกซึ่งมักไม่รุนแรง หรือการติดเชื้อที่รุนแรงซึ่งมักจะมีไข้และปวดอย่างมาก และต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์
มีไข้หรือไม่
สะบัดปรอทวัดไข้ให้ปรอทลงไปต่ำสุด อมใต้ลิ้น 3 นาทีแล้ว อ่านผล ถ้ามีไข้ 38.9 ขึ้นไปควรพบแพทย์
ช่องหูแดง/อุดตัน
ให้คนอื่นช่วยส่องดูหูของเราด้วยไฟฉาย ว่ามีลักษณะแดงบวม หรืออุดตันหรือไม่
ปวดมากหรือไม่
ลองขยับหูดู ถ้ามีอาการปวดมาก แสดงว่ามีการติดเชื้อของหูชั้นนอก ควรพบแพทย์
การดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการ
อาการผิดปกติทุกอย่างของหู เช่น ปวด คัน มีน้ำหนอง หูอื้อ และการได้ยินลดลง ล้วนเป็นสัญญาณที่ร่างกายส่งมาเพื่อเตือนว่ากำลังมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ดังนั้นเป้าหมายของการดูแลรักษาตนเอง คือ การบรรเทาอาการและกำจัดปัญหาเหล่านั้น ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอีก คือ ต้องพยายามไม่ใส่ของแหลมเข้าไปในหูและรักษาช่องหูให้แห้งอยู่เสมอหลังการอาบน้ำหรือว่ายน้ำ อาจใช้กระดาษทิชชูชิ้นเล็กๆ หมุนบิดสอดเข้าไปในหูเบาๆ เพื่อซับน้ำในหูให้แห้ง
ช่องหูอุดตัน
การเอาขี้หูที่อุดตันในช่องหูออกนั้น ตอนแรกควรอาบน้ำร้อน เพื่อช่วยละลายขี้หูก่อน หลังจากนั้นค่อยๆเช็ด ออกด้วยผ้าขนหนู ถ้ายังไม่ได้ผล ให้ฉีดน้ำอุ่นเข้าไปในช่องหูด้วยกระบอกฉีดหรือใช้ที่แคะขี้หูเขี่ยออกแล้วล้างหูด้วยน้ำสะอาด
การติดเชื้อของหูชั้นนอก
การรักษาการติดเชื้อเล็กๆน้อยๆ ของหูชั้นนอกด้วยตนเองนั้น ต้องทำให้ช่องหูแห้วสนิทดีก่อน แล้วหยดสารละลาย Burow’s solution ลงบนสำลีและสอดสำลีคาไว้ในช่องหู อย่าใช้ไม้พันสำลีเช็ดหูหรือเกาหูเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้นไปอีก
การอุดตันของท่อยูสเตเชียน
ลดอาการคัดจมูก ด้วยยาลดน้ำมูกแบบสเปรย์พ่นจมูก (ไม่ควรใช้นานเกิด 3 วัน) ยาแก้แพ้ อาบน้ำร้อน หรือสูดไอน้ำร้อน และโดยการหาวหรือกลืนน้ำลาย ถ้าหากรู้สึกตันในจมูกเล็กน้อยโดยไม่มีไข้ หรืออาการปวด ให้เช็ดในช่องจมูกแล้วสั่งน้ำมูกเบาๆ เพื่อให้หูหายอื้อ
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อ
• มีไข้ 38.9 ขึ้นไป
• ปวดหูมาก
• มีน้ำหนองหรือเลือดออกจากหู
• การได้ยินบกพร่องเป็นเวลานาน
• มีอุบัติเหตุบริเวณศรีษะเมื่อเร็วๆนี้
• รู้สึกมึนงง
• มีเสียงดังในหู
• มีอาการผิดปกติคงอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์