ประวัติประเพณียี่เป็ง
โพสท์โดย ๏Nameless๏
ประเพณียี่เป็ง
ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง หมายถึงประเพณีพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง มีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง การจุดโคมลอยมี 2 แบบ คือแบบที่ใช้ปล่อยใน เวลากลางวัน เรียกว่า “ว่าว” จะเน้นที่ตัวโคมทำด้วยกระดาษหลากสีสัน ส่วนโคมที่ปล่อยในเวลากลางคืนเรียกว่า “โคมไฟ” ทำด้วย กระดาษว่าวสีขาว ใช้ไฟจุดรมเอาไอร้อน เพื่อให้โคมลอยขึ้น โคมลอยติดกันเป็นสายยาวค่อย ๆลอย ขึ้นสู่ท้องฟ้า คงเสมือนสิ่งกระตุ้นจิตใจของผู้ร่วมงานให้ลอยสูงขึ้นไปบนสวรรค์ได้เป็นอย่างดี
ประเพณียี่เปงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา" หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้น ถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำ กระทงขนาด ใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็น ทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในงาน บุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็ง แบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วย ประทีป (การจุดผางปะติ๊ด)เพื่อบูชาพระรัตนตรัยการจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตาม วัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสท้องฟ้าเพื่อเพื่อบูชาพระเกตุ แก้ว จุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความเชื่อ การปล่อยว่าวไฟหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมักมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ ร้ายภัยพิบัติต่างๆออก ไป จาก หมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปถ้าไปตกในบ้าน ใครบ้าน นั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็น การทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีกันใน หมู่บ้าน อีกด้วย
ประวัติความเป็นมา...
ประวัติความเป็นมาของประเพณียี่เป็ง มีความเป็นมาดังนี้ ประเพณี ลอยกระทง หรือ ลอยโขมด มีมาแต่โบราณ เป็นประเพณีเก่าแก่ของล้านนา ที่นับถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 นับตั้งแต่อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรล้านนา โดยเมื่อถึงเดือนยี่เป็งก็กระทำพิธีลอยโขมด เป็นการลอยกระทง ความหมายคือ การลอยเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม, ลอยเพื่อลอยเคราะห์ลอยบาป, ลอยเพื่อส่งสิ่งของ, ลอยเพื่อบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร และลอยเพื่อบูชาอุบคุดด์เถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ประเพณีการลอยกระทงทางภาคเหนือเรียก ประเพณียี่เป็ง ตรงกับเดือนยี่ ขึ้น 14-15 ค่ำ ประเพณีลอยกระทงทางภาคเหนือนี้ตามหนังสือพงศาวดารโยนก และหนังสือจามเทวีวงศ์ กล่าวสอดคล้องเหมือนกันว่า เมื่อจุลศักราชได้ 309 (พ.ศ.1490) พระยาจุเลราชได้ครองราชสมบัติในนครหริภุญชัย สมัยนั้นได้เกิดโรคระบาดขึ้น ที่ตำนานเรียกว่า โรคหิว หรือ โรคห่า หรือ โรคอหิวาตกโรค ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บางพวกที่มีชีวิตอยู่เห็นว่าถ้าอยู่ต่อไปต้องตายแน่ จึงพากันอพยพไปอาศัยอยู่ในเมืองสุธรรมวดี คือเมืองสะเทิม ประเทศรามัญ หรือมอญ ต่อมาพระเจ้าพุกาม กษัตริย์พม่าตีได้เมืองสะเทิม ได้เก็บเอากุลธิดาของชาวเมืองไปเป็นบาทบริจาติกาเป็นจำนวนมาก เมื่อเบื่อหน่ายก็ทอดทิ้งไม่ชุบเลี้ยงเหมือนดั่งก่อน พวกชาวเมืองหริภุญชัยก็อพยพหนีไปอาศัยอยู่กับพระเจ้าหงสาวดี ซึ่งพระองค์ทรงให้ความอนุเคราะห์ชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี หลังจากที่อาศัยอยู่ไม่นาน ชาวเมืองได้ทราบข่าวว่าโรคระบาดทางนครหริภุญชัยสงบแล้ว ก็คิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ก็พากันกลับมายังหริภุญชัยอีกครั้ง บางคนต่างก็แต่งงานมีครอบครัว ก็ไม่กลับไปยังหริภุญชัย ยังคงอยู่ที่เดิมที่เมืองหงสา ครั้นถึงเดือนยี่เป็ง ที่ครบรอบที่ได้จากพี่น้องทางเมืองหงสามา ก็ได้จัดแต่งธูปเทียน เครื่องสักการะบูชา อาหาร เสื้อผ้า วัตถุข้าวของ ใส่ในแพไหลล่องตามแม่น้ำเพื่อเป็นการระลึกนึกถึงยังญาติพี่น้อง โดยคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะล่องลอยไปถึงญาติที่อยู่ในเมืองหงสาอันไกลโพ้น การกระทำพิธีดังกล่าวเรียกกันว่า ลอยโขมด หรือลอยไฟ และถือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (การลอยกระทงนั้น ในสมัยอาณาจักรล้านนาโบราณเรียกว่า ลอยโขมด คำว่าโขมดเป็นชื่อผีป่า เรียกกันว่าผีโขมด ชอบออกหากินเวลากลางคืน จะมีพะเนียงแสงไฟเห็นเป็นระย้าคล้ายผีกระสือ ดังนี้ กระทงที่จุดเทียนลอยน้ำ แสงไฟจะกระทบกับน้ำทำให้เกิดเงา เหมือนแสงไฟจากผีโขมด ดังนั้น ทางล้านนาโบราณจึงเรียกการลอยกระทงว่า ลอยโขมด) ในสมัยอาณาจักรล้านนาไท พุทธศักราชได้ 2061 ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) แห่งราชวงศ์มังราย เทศกาลเดือนยี่เป็งเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่มาก อาณาประชาราษฎร์ต่างพากันไปบูชาพระเจ้าในอารามข่วงแก้วทั้งหลาย มากมายไปด้วยผู้คนหนุ่มสาว ผู้เฒ่า ผู้แก่ รื่นเริงม่วนเล่นมหรสพสมโภชครึกครื้น เป็นที่พึงพอใจอย่างยิ่ง ประเพณีเดือนยี่เป็ง มาถึงพอเริ่มขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ วัดวาอารามจะจัดเตรียมสถานที่ในวัด
โพสท์โดย: ๏Nameless๏
ที่มา: forward mail
ที่มา: forward mail
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)