มารู้จักวัคซีนโรคโปลิโอ ที่ผู้อ่านทุกคนต้องได้รับ
คงไม่มีใครปฏิเสธิว่าไม่เคยได้รับวัคซีนโปลิโอนะครับ โปลิโอเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษา เด็กๆ ทุกคนต้องได้รับวัคซีนโปลิโอเพื่อป้องกันโรคที่ไม่มีทางรักษา วันนี้เรามารู้จักเพื่อระลึกถึงความดีของผู้คิดค้นวัคซีนกันครับ
ดร.โจนัส ซอล์ก ผู้ผลิตวัคซีนรักษาโรคโปลิโอได้สำเร็จเป็นคนแรกของโลก ทำให้การระบาดของโรคโปลิโอลดลงเป็นอย่างมาก ผู้คนจึงต่างยกย่องเขาคนนี้ขึ้นเป็นวีรบุุรุษของโลกค่ะ
ในอดีต วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังไม่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างปัจจุบันโรคต่าง ๆ ระบาดและแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและหนึ่งในนั้นก็คือ “โรคโปลิโอ” โรคติดต่อโดยเชื้อไวรัสโรคที่พรากเอาความสดใสและร่าเริงไปจากเด็กหลาย ๆ คนนั่นเอง
แม้เมื่อกลางศตวรรษที่ 19 วิทยาศาสตร์เริ่มมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้โรคติดต่อหลายชนิดได้สูญหายไป แต่ยกเว้น โรคโปลิโอ โรคที่ยังไม่มีวิธีการใดรักษาให้หายขาดได้ จนกระทั่ง ดร.โจนัส ซอล์ก(Jonas Salk) แพทย์ชาวอเมริกัน ได้คิดค้นวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
“โจนัส ซอล์ก" (Jonas Salk) เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1914 สำเร็จการศึกษาปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ 1940 โรคโปลิโอกำลังเป็นที่ระบาดมากในสหรัฐอเมริกา ทำให้ซอล์กพยามคิดค้นหาวิธีที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นในคนให้ได้
แต่การผลิตวัคซีนรักษาโรคโปลิโอไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องจากมีการค้นพบว่า ไวรัสโปลิโอมีทั้งหมดด้วยกันถึง 3 สายพันธุ์ ดังนั้นวัคซีนที่ใช้รักษาต้องเอาชนะทุก ๆ สายพันธุ์ให้ได้ และแล้ววันหนึ่งซอล์กก็ประสบความเร็จ เมื่อเขาได้ผลิตวัคซีนจากไวรัสที่ถูกทำลายแล้ว โดยใช้ตัวอย่างไวรัสที่มีชีวิตและฆ่ามันด้วยฟอร์มัลดีไฮด์จากนั้นจึงฉีดเชื้อไวรัสที่ตายนี้เข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี (สารภูมิต้านทาน) ขึ้นในระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ เมื่อถึงคราวที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสที่มีชีวิตขึ้นมาจริง ๆ ก็จะไม่เป็นอันตรายใด ๆ แก่ร่างกาย
โปลิโอ (Poliomyelitis) เป็นโรคที่เกิดจาการติดเชื้อ ไวรัสโปลิโอ (poliovirus) ซึงจัดอยู่ในกลุ่ม Picornaviridae และในกลุ่ม Enterovirus ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทไขสันหลัง ท้ายที่สุดหากไม่ได้รับการรักษาอาจกลายเป็นอัมพาต พิการ และเสียชีวิตได้ในที่สุด
โรคโปลิโอนี้มักจะแพร่ระบาดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน โดยเชื้อไวรัสโปลิโอนี้จะแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนภายในลำไส้ 2-3 วันต่อมาจะกระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอที่ทอนซิล และเข้าสู่กระแสเลือดทำให้มีอาการไข้เกิดขึ้น ส่วนน้อยของไวรัสจะผ่านจากกระแสเลือดไปยังไขสันหลังและสมองโดยตรง
เมื่อไวรัสเข้าไปยังไขสันหลังแล้ว มักจะไปที่ไขสันหลังหรือสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เมื่อเซลล์สมองในส่วนที่ติดเชื้อมีอาการอักเสบมากจนถูกทำลายไป กล้ามเนื้อที่ควบคุมโดยเซลล์ประสาทนั้นก็จะมีอัมพาตและฝ่อไปในที่สุด
เชื้อไวรัสโปลิโอสามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก เนื่องจากไวรัสนี้เจริญเติบโตอยู่ในลำไส้ของผู้ป่วย เชื้อจึงถูกขับออกจากร่างกายมากับอุจจาระ และแพร่สู่ผู้อื่นผ่านการกินอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการไม่ล้างมือก่อนการหยิบจับอาหาร ดังนั้นโรคโปลิโอนี้จึงมักพบในประเทศที่ขาดการดูแลเรื่องสุขอนามัยที่ดีนั่นเอง
และหลังจากที่ซอล์กได้ผลิตวัคซีนรักษาโรคโปลิโอออกมาสำเร็จได้ไม่นานนั้น แอลเบิร์ต บรูช ซาบิน ก็ได้พัฒนาวัคซีนรักษาโรคโปลิโอสำเร็จเช่นกัน โดยใช้เชื้อไวรัสที่มีชีวิตนำมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลง แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี (สารภูมิต้านทาน) ขึ้นได้ โดยใช้วิธีหยอดใส่ทางปาก ทำให้ปัจจุบันมีวัคซีนที่รักษาโรคโปลิโออยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ วัคซีนโปลิโอแบบหยอดและวัคซีนโปลิโอแบบฉีด
อย่างไรก็ตาม ดร.โจนัส ซอล์ก คือบุคคลแรกที่ผลิตวัคซีนรักษาโรคโปลิโอได้สำเร็จ ทำให้ยอดผู้ด้วยโรคโปลิโอในสหรัฐอเมริกาลดลงจาก 13.9 % ในปี 2497 เหลือ 0.5% ในปี 2504 ซอล์กได้ตั้งชื่อวัคซีนรักษาโรคโปลิโอนี้ว่า วัคซีนของซอล์ก (Salk’s vaccine) และยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัย Salk institute ศูนย์วิจัยด้านชีวภาพในรัฐแคลิฟอร์เนียอีกด้วย โดยซอล์กได้กล่าวเอาไว้ว่า
“Our greatest responsibility is to be good ancestors”
ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือ การเป็นบรรพบุรุษที่ดี