ตะบองพลำ (ใครเกลียดตะขาบอย่าเข้ามา)
ตะบองพลำ ชื่อนี้หลายท่านอาจเคยได้ยินจากเรื่อง "สัตวาภิธาน" ในหนังสือ "ทักษะสัมพันธ์" (เรียนช่วง ม.ต้นเนี่ยแหละ จำไม่ได้ว่า ม.1 หรือ ม.2) ประพันธ์โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) โดยคุณเจ้าตัวตะบองพลำเนี่ย มันไปสะกิดต่อมอยากรู้ ตรงบทกลอนที่ว่า
"ตะบองพลำใหญ่ยง อยู่ในป่าดง
ตัวดุจตะขาบไฟแดง มีพิษมีฤทธิ์เรี่ยวแรง
พบช้างกลางแปลง เข้าปล้ำเข้ารัดกัดกิน"
"ตะบองพลำ" เป็นตะขาบป่าชนิดหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก โดยทั่วไปที่พบเห็นยาวประมาณ 1 ฟุต ตัวของมันจะมีสีออกแดง ค่อนไปทางแดงเพลิง ผิดกว่าตะขาบทั่ว ๆ ไป (คงคล้ายๆตะขาบไฟ) แล้วก็มีพิษร้ายแรงมาก ขนาดที่สามารถกัดช้างล้มได้ อาศัยอยู่ในป่าทางภาคใต้ (แต่เคยได้ยินด้วยว่า มันเคยอาศัยอยู่ในป่าดงพญาเย็นเหมือนกันนะ จำไม่ได้แล้วเหมือนกันว่าเคยได้ยินจากไหน) เจ้าตัวนี้สูญพันธุ์ไปช่วงราวๆ รัชกาลที่ 5
ตะขาบไฟ
มีเรื่องเล่าของนักเดินทางคนหนึ่ง อ้างไว้ว่า ได้ไปเจอ "ปล้อง" ของ มันแขวนอยู่ในหมู่บ้านแถวๆ ภาคใต้ ว่ากันว่า ปล้องนั้นใหญ่เท่ากระด้งฝัดข้าวเลยทีเดียว ถึงขนาดที่ว่า ถ้าเสือมาเจอปล้องนี้เข้าไป ยังต้องเผ่นกลับป่าไปเลยทีเดียว อืมม... แต่ว่า ถ้าเราลองคิดเล่นๆ ดูแล้ว
ถ้า 1 ปล้องใหญ่เท่ากับ 1 กระด้ง
1กระด้ง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ฟุต
ตะขาบหนึ่งตัว มีปล้องราวๆ 30 - 40 ปล้อง (กะคร่าวๆ เพราะไม่เคยนับ และไม่คิดอยากจะนับด้วย)
30 x 2 = 60 ฟุต
60 ฟุต = 18.28800 เมตร !!!
ตะขาบยักษ์อะเมซอน
ตะขาบไรวะ ตัวยาวตั้งเกือบ 20 เมตร แค่ตัวเล็กๆ ไม่กี่เซนฯ กุก็วิ่งหนีแล้ว แต่ก็มีบางคนออกมาแย้งไว้ว่า เฮ้ย!! คุณช้างกลางแปลงที่ตะบองพลำมันจับกินน่ะ อาจจะหมายถึง แมลงช้างก็ได้นะ ที่มันชอบมุดอยู่ตามพื้นดินน่ะ อืม.. พอเราฟังทางด้านนี้ก็คิดว่า อาจจะเป็นไปได้ เพราะแมลงช้างตัวก็ไม่ใหญ่มาก ตะขาบตัวเท่าแมลงช้างก็น่าจะมีอยู่เหมือนกัน แต่ว่าในสมัยก่อนที่อาจารย์น้อยยังมีชีวิตอยู่ อาจจะมีตะขาบตัวใหญ่ขนาดนี้ก็ได้ ใครจะไปรู้ เนอะ
แมลงช้าง