Made in Myanmar
หากใครเพิ่งอุดหนุนเสื้อผ้าสัญชาติอเมริกากันอย่าง Levi's, H&M หรือ GAP
ลองพลิกดูป้ายผลิตสินค้าที่ติดอยู่ อาจจะเห็นประโยคที่ว่า Made in Myanmar และมีแนวโน้มจะเห็นได้บ่อยมากขึ้นในอนาคต
เพราะLevi Strauss & Co.กลุ่มธุรกิจเจ้าของยีนส์ลีวายส์เพิ่งกลับเข้าไปเปิดโรงงานผลิตในพม่าอีกครั้ง หลังจากปิดโรงงานไปเมื่อปี1992 พร้อมประกาศว่า จะไม่ลงทุนทำธุรกิจในประเทศที่ปกครองโดยรัฐบาลทหารและมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
แต่ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในพม่า ทำให้หลายประเทศยกเลิกมาตรการคล่ำบาตร จนพม่าเป็นประเทศต้นๆของเอเชียที่กำลังเนื้อหอม โดยเฉพาะสหรัฐอเมริการ ที่กำลังเบนเข็มจากจีนไปหาฐานการผลิตใหม่ที่มีแรงงานจำนวนมากและค่าแรงต่ำ แม้จะตั้งอยู่ระหว่างฐานการผลิตยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดีย แต่พมม่ามีจุดแข็งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งหยุดทำงานมาตั้งแต่ปี2003 เนื่องจากมีการคว่ำบาตรทางการค้า โดยปัจจัยที่ตั้งรอท่าอยู่นี้จะช่วยลดรายจ่ายให้กลุ่มธุรกิจและจะดึงดูดนักลงทุนให้กลับเข้าสู่พม่ามากขึ้น
* การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจครั้งนี้พี่ไทยเราก็ต้องคิดหนักเหมือนกันนะ ถ้าเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียนเมื่อไหร่ แล้วมัวแต่พร่ำเพื่อเพ้อพกกับค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนหมื่นห้า ที่จ่ายค่าเล่าเรียนมามันจะเสียเปล่า