อ่านแล้ว
จะมี
ผล
ดี
กับ
คุณ
อวสานตำนานเท็จ “ ลานสาวกอด ”หรือ มิดะ
“ บนฟ้ามีเมฆลอย บนดอยมีเมฆบัง
มีสาวงามชื่อดัง อยู่หลังแดนดงป่า มีกะลาล่าเฉอ มีหนุ่มๆเผลอฮ้องหา มีสาวงามขึ้นมาบนลานสาวกอด
”
| บทเพลง “ มิดะ ” ที่ร้องโดยจรัล
มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นที่รู้จักของสังคมเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา
เนื้อหาเพลงได้พูดถึงหญิงสาวชาวอ่าข่า หรืออีก้อ ที่ขึ้นมาบนลานสาวกอด
เพื่อให้ผู้ชายมากอดและมั่วกามโลกีย์ ผมเคยพูดคุยกับคุณจรัลครั้งหนึ่งในวัดสวนดอก ( เชียงใหม่)
เกี่ยวกับบทเพลงนี้ คุณจรัลได้อธิบายกับผมว่า เอาเนื้อบทเพลงมาจากหนังสือสามสิบชาติในเชียงราย
ที่เขียนโดยบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ โดยตัวเขาก็ไม่รู้ข้อเท็จจริง
เมื่อพูดถึงลานสาวกอดแล้ว
เป็นเรื่องที่เป็นปัญหาอย่างมาก เพราะชนชาวอ่าข่าในฐานะเจ้าของวัฒนธรรม และผู้เสียหาย
บอกว่าลานสาวกอดอย่างในหนังสือและบทเพลงดังกล่าวไม่มี มีแต่ แตห่อง หรือ
ลานวัฒนธรรม จริงๆ แล้วมีคนเขียนหรือพูดเกี่ยวกับลานสาวกอดเยอะมาก
และเผยแพร่ออกทางสื่อทุกวัน ตลอดถึงเป็นที่สนใจของสาธารณะชน เมื่อวันที่ 5 – 7 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา
องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี นำโดยนายกยาพี จูเปาะ ได้จัดงาน “ ย้อนร้อยลานสาวกอด ”
ที่ชุมชนบ้านแสนเจริญเก่า ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับลานสาวกอดนี้ ตลอดงานผมได้เข้าไปร่วมและแลกเปลี่ยนกับผู้มาเยือน ท่านนายกฯ
อธิบายได้แต่ความเป็นมาของแต ห่อง นี้ แต่ไม่สามารถอธิบายได้ถึงความสำคัญ
ทำให้มีนักท่องเที่ยวหลายท่าน ตลอดถึงครูบาอาจารย์มาถามผม ก่อนอื่นก็ขอชมเชยท่านนายกฯ ที่มีความตั้งใจ
แต่ขอติหน่อยที่ทำงานมวลชนแล้วไม่มีฐานข้อมูล
ทำให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในงานอาจเกิดความสับสนได้และคิดว่าลานสาวกอด
เป็นเรื่องจริงของคนอ่าข่าได ้
ผมตั้งคำถามหลายข้อเหมือนกันกับงานนี้
เช่น การใช้ชื่อ “ ย้อนรอยลานสาวกอด ” มันเหมาะสมหรือไม่
อย่าลืมนะครับว่าในสังคมไทยมีองค์ความรู้อยู่ชุดหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ และคนอ่าข่าไม่ยอมรับ
ขณะเดียวกันพยายามต่อต้านในองค์ความรู้นี้ว่าไม่จริง เป็นเท็จ
อย่างไรก็ตามคนในสังคมเข้าใจและยอมรับในองค์ความรู้ชุดนี้อย่างมาก หากมองในอีกแง่หนึ่ง
ยังมีคนที่ไม่ได้มาร่วมในงานนี้แต่ได้บริโภคสื่อ เขาเข้าใจกับลานสาวกอดที่ว่านี้อย่างไร
จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าเป็นการตอกย้ำว่าลานสาวกอดเป็นเรื่องจริง??
เมื่อเขียนมาถึงบรรทัดนี้
ผมขอทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านเกี่ยวกับลานสาวกอดที่ว่านี้นะครับ
มีผู้เขียนตำราและสื่อต่างๆเผยแพร่ลานสาวกอด บอกว่ามาจากภาษาอ่าข่าสองคำผสมกับ คือ แต
กับ ข่อง ท่าน ผู้อ่านที่เคารพครับ จริงๆแล้วจากคำบอกเล่าผู้รู้จริงๆ เช่น
พี้ม่า โจ่ว มา ซึ่งเป็นผู้นำตำแหน่งทางวัฒนธรรม ไม่ได้มาจาก 2 คำครับ มาจาก 4 คำ
แต่ย่อให้เหลือ 2 คำ แต มาจากคำว่า ตอแต แปลว่าท่องเที่ยว
ห่อง มาจากคำว่า หมี่ ห่อง แปลว่า แผ่นดิน
ดังนั้นคำว่า แตห่อง จึงมีความหมายที่ชัดเจนคือ
ดินแดนในการท่องเที่ยว ที
นี้ลองมาดูความสำคัญของแตห่องนี้นะครับว่าสำคัญอย่างไร ตามความเชื่อของอ่าข่านี้ แต ห่อง มีความสำคัญ
4 อย่าง อย่างแรกคือ มีความสำคัญในแง่พิธีกรรม ตัวอย่างเช่น
หากครอบครัวใดมีลูกสาวไปแต่งงานกับชุมชนอื่น เมื่อเกิดการหย่าร้างและกลับมาหาพ่อแม่
ขณะที่อยู่กับพ่อกับแม่ได้เสียชีวิตลง เมื่อเอาศพไปฝังแล้ว ต้องรีบกลับมาที่แตห่อง
เพื่อมาเต้นและเล่นแตหอง เพราะเชื่อว่าการที่คนในชุมชนเล่นก่อน
ทำให้สิ่งชั่วร้ายต่างๆไม่สามารถเข้ามาในชุมชนและสร้างความเดือดร้อนได้
ประการที่สองเป็นแหล่งบูรณาการถ่ายทอดความรู้ จากรุ่นสู่รุ่น
ในอดีตในแตห่องมีผู้หญิงและผู้ชายนั่งอยู่จริง มีการนั่งสลับระหว่างผู้หญิงผู้ชายคละกันไป
แต่ไม่ได้มีเฉพาะหนุ่มสาวเท่านั้น จะมีหลายรุ่นอายุ ทั้งคนเฒ่าคนแก่ วัยทำงาน วัยรุ่น เด็ก
ในที่นี้มีการละเล่นทั้งดนตรี เช่น แคน ซึง มีการละเล่นพื้นบ้านอ่าข่า ทั้งที่อยู่ในรูปวงกลม
หรือเข้าแถวเรียงหน้ากระดาน มีการก่อไฟ การบูรณาการการเรียนรู้คือเมื่อผู้รู้เต้นหรือเป่า
เด็กหรือผู้ยังไม่เป็นก็ไปดู และทำดู สุดท้ายทำเป็น นี่เป็นการบูรณาการการเรียนรู้ที่ไม่ต้องมีตำรา
ไม่ต้องมีห้องเรียน แต่เป็นการเรียนรู้โดยการทดลองทำดู เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
มีคนเข้าใจว่าเมื่อขึ้นมาที่แตห่อง
แล้วสามารถกอดสาวได้ตามใจชอบ หรือเมื่อเบื่อคนไหนก็เปลี่ยนไปหาคนอื่น มั่วกามโลกีย์
นี่เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงนะครับ
เพราะความเข้าใจผิดทำให้คนข้างนอกที่ไม่ใช่อ่าข่าถูกปรับสินไหมไปหลายราย
บางรายถูกชาวบ้านประชาทัณฑ์มาแล้ว จริงๆเรื่องนี้น่าสนใจมาก คนอ่าข่าพยายามพูดให้ชาวโลกได้ฟังว่า
แตห่องมีจริง แต่ลานสาวกอดในนัยยะที่สื่อเผยแพร่นั้นไม่มี
ทุกครั้งที่เผยแพร่ออกมาคนชนเผ่าอ่าข่าจึงขอความเป็นธรรมจากสังคม อย่างเช่นกรณีแก้วกลางดง
บทละครชื่อดัง กับกรณีเอ็มเค เป็นต้น
ประการที่สาม
เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เมื่อคนอ่าข่าเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหนักตลอดทั้งวัน
ก็ถึงเวลาพักผ่อน กินข้าวเย็น (อ่าข่ากินประมาณหนึ่งทุ่ม) เสร็จก็ขึ้นมาที่แต ห่อง
และมีการพบปะพูดคุย เช่น วันนี้ไปไหนมา พรุ่งนี้จะไปไหน มาเอามื้อเอาแรงกันไหม?
ตลอดถึงแลกเปลี่ยนในเรื่องอื่น การแลกเปลี่ยนไม่ได้แลกเปลี่ยนเฉพาะผู้ชายกับผู้ชายเท่านั้น
แต่แลกเปลี่ยนทุกเพศทุกวัย
ประการสุดท้าย แตห่อง
เป็นแหล่งสร้างความสามัคคี ในอดีตคนในชุมชนทะเลาะกันแทบไม่ได้เห็น
และหากเกิดเหตุการณ์ทะเลาะกันเกิดขึ้น จะถูกปรับสินไหมจากผู้อาวุโสในชุมชน
ความสามัคคีเกิดจากการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันบ่อยๆ
ทำให้เกิดความขัดแย้งและปัญหาน้อย ตลอดถึงเจ้าแตห่องเป็นที่ระบายความในใจ ให้กับเพื่อน รุ่นพี่
หรือผู้อาวุโส ทำให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างอายุ แตห่อง
นอกจากมีความสำคัญต่อคนอ่าข่าดังที่กล่าวมาแล้ว
ยังถือว่าเป็นศาสนสถานที่สำคัญหนึ่งในสี่ด้วยที่คนอ่าข่าเคารพนับถือมากที่ สุด
| เมื่อพูดถึง แตห่อง
แล้วขาดไม่ได้เลยต้องพูดถึง หนุ่มสาว ที่ขึ้นมาเล่นในแตห่อง และถูกพาดพิงกล่าวหาว่ามามั่วกามโลกีย์
ผมต้องทำความเข้าใจถึงการแบ่งผู้หญิงและผู้ชาย อ่าข่าได้แบ่งผู้หญิง 4 ช่วงชีวิต ช่วงแรก
เรียกว่า อะบูหย่า แปลว่าเด็กน้อย ซึ่งเด็กน้อยนี้มีอายุตั้งแต่เกิดจนถึง 13 ปี
13 – 18 ปี เรียกว่า หมี่ เตอ เตอ จ่อ แปลว่า เข้าสู่วัยสาว 18 - 25 ปี
เรียกว่า จอมา หมี่ โล แปลว่าพร้อมที่จะออกเรือน และ 25 ปีขึ้นไป อ่าข่าเรียกว่า
หมี่ ดะ ดะ โอ๊ะ หรือ หมี่ ดะ ช่อ หม่อ แปลว่าสาวแก่
สัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงการเป็นสาวในช่วงไหน ดูได้จากการแต่งกาย เช่น หมวก |
ในส่วนผู้ชาย แบ่งเป็น 2 ช่วง
ช่วงแรกตั้งแต่เกิด จนถึงอายุ 13 ปี เรียกว่า อะลี หย่า แปลว่าเด็กชาย และ หลังจาก
13 ปี เรียกว่า ฮ่า เจ่ หญ่า โย แปลว่าเป็นผู้ชายเต็มตัว พร้อมที่จะมีเรือน
มีตำราเขียนอยู่หลายเล่นที่พูดถึง คาจีระดะ
ที่บอกว่าเป็นผู้ชายที่มีไว้เปิดพรหมจารีของหญิงชาวอ่าข่า แท้จริงคำนี้เพี้ยนมาจากคำว่า ฮ่า เจ่
หญ่า โย และในวิถีชีวิตของอ่าข่าไม่ได้มีอย่างที่ในหนังสือหรือสื่อเผยแพร่
่
หากจะพูดถึงเรื่อง แตห่อง มิดะ
หญ่าดะ แล้วเป็นที่ถกเถียงกันมาในเมืองไทย การอธิบายจะต้องมีความน่าเชื่อถือ มีหลักฐานอ้างอิง
มีความเป็นวิชาการ และที่สำคัญต้องมีหลักตรรกะ
เพื่อแก้ข้อครหาที่ว่าคนอนุชนไม่ยอมรับการมีอยู่จริงของแตห่อง หรือสานสาวกอด ผมจึงได้ไปประเทศจีน พม่า
ลาว เพื่อตามหาในเรื่องราวเหล่านี้ มีการอ้างอิงบุคคล สถานที่ (
หนังสือเล่มนี้กำลังจะเขียนเสร็จอีกไม่นาน ) จากการศึกษาเพื่อการเปรียบเทียบ ปรากฏว่าในเมืองจีน พม่า
ลาว ไม่พบประวัติทั้งงานเขียน และในวิถีชีวิตทั้งที่เกี่ยวกับ ลานสาวกอด คาจีรดะ คาจีหมีดะ
หรือประเด็นอื่นๆที่คนอ่าข่าในเมืองไทยไม่ยอมรับ
และน่าแปลกอย่างยิ่งสิ่งเหล่านี้พบแค่เมืองไทยในแง่ตำราที่คนไทยเขียน แต่คนฝรั่งเขียนก็ไม่พบ ทั้งๆ
ฝรั่งขึ้นไปเขียนเรื่องราวคนอ่าข่าในเมืองไทยก่อนคนไทยบางคนด้วยซ้ำไป |
|
จึงมีคำถามมากมายว่า
ความจริงๆคืออะไร ? ทำไมถึงเขียนอย่างนั้น เขียนหรือถ่ายทอดอย่างนั้นเพื่อนอันใด มีอคติหรือไม่
คำถามเหล่านี้ล้วนแต่เป็นที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามคนชนเผ่าอ่าข่าในฐานะเข้าของวัฒนธรรม
ซึ่งต้องรู้ดีเกี่ยวกับเรื่องราวของเขา ได้ออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่จริง และเป็นเท็จ
และขณะเดียวกันหลายสิ่งก็ยอมรับว่าเป็นจริงดังในหนังสือหรือสื่อเผยแพร่ออก
มาถึงแม้ว่าโดยภาพรวมแล้วมีผลประทบต่อคนอ่าข่าก็ตาม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
ผมจึงอยากให้ทำความเข้าใจใหม่ว่าในวิถีชีวิตของคนอ่าข่าทั้งในประเทศจีน พม่า ลาว และเมืองไทย
ที่มีประชากรคนอ่าข่า หรือ ฮัน หนี่ จู๋ 2 ล้านกว่าคน ยอมรับว่ามี แต ห่อง หรือ
ลานวัฒนธรรม แต่ขอปฏิเสธการมีอยู่จริงของ ลานสาวกอด
คาจีระดะ คาจีหมีดะ
เพราะนั้นเป็นตำนานเท็จที่บางคนสร้างขึ้นมาเพื่อให้ชนเผ่าอ่าข่าเป็นคนแปลกในสังคมไทย
ป. อายิ