โหยหาอดีต เหตุผลที่เราโหยหาอดีต วิจัยชี้ คนไทยอยากย้อนไปวัย "มัธยม" มากที่สุด
ภาวะโหยหาอดีต หรือ Nostalgia เคยถูกเข้าใจว่าเกิดขึ้นเฉพาะผู้สูงอายุ หรือผู้ที่สูญเสียบุคคลที่รักไปอย่างกระทันหัน แต่ในปัจจุบัน พบว่า ภาวะโหยหาอดีต พบได้ตั้งแต่วัยผู้ใหญ่ไปจนถึงสูงอายุ
มีการศึกษาอย่างจริงจัง เมื่อปลายศตวรรษที่ 17 โดยผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา Hans Johannes Höfer พบว่า ทหารรับจ้างกลุ่มหนึ่งมีอาการป่วยที่แสนประหลาด คือ เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นผิดปกติ อาหารไม่ย่อย และมีไข้ขึ้นสูง
Höfer พบว่าสาเหตุของอาการป่วย ไม่ได้เกิดจากสภาวะร่างกาย แต่เกิดจากสภาวะจิตใจที่โหยหาอดีต คิดถึงบ้านเกิด คิดถึงความสงบสุขก่อนช่วงสงคราม
ต่อมาเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาได้ยกระดับ ภาวะโหยหาอดีตขึ้นมา เทียบเท่า ภาวะซึมเศร้า เลยทีเดียว
วิจัยชี้ คนไทยอยากย้อนไปวัย "มัธยม" ที่มีความสุขมากที่สุด เพราะการโหยหาอดีตอันหอมหวาน ช่วยเยียวยาจิตใจได้
ผศ.ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล เผยว่า การถวิลหาอดีตอันหอมหวานเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาจิตใจให้ชุ่มชื่น เพราะบริบทสังคมในปัจจุบันที่ไม่สู้ดีนัก ไม่ว่าจะเป็น โรคระบาดโควิด-19, สงคราม, ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง และภัยธรรมชาติต่าง ๆ อาจก่อให้เกิดความเครียด ส่งผลให้ผู้คนบางกลุ่มรู้สึกถวิลหาช่วงเวลาในอดีต เกิดการเข้าร่วม ‘กิจกรรมย้อนวันวาน’ ต่าง ๆ เพื่อให้ได้สัมผัสประสบการณ์เหมือนในอดีตอีกครั้ง ช่วยให้จิตใจรู้สึกปลอดภัย
ผลการศึกษาด้านจิตวิทยากับอาสาสมัครทั่วโลก พบว่า การคิดถึงอดีตช่วยเยียวยาจิตใจในสภาวะที่ยากลำบาก และยังช่วยให้มีความสุขเพิ่มมากขึ้นได้ สอดคล้องกับแนวคิดเชิงจิตวิทยาที่เรียกว่า "Coping skill" ซึ่งเป็นทักษะการรับมือ เพื่อจัดการกับความเครียดผ่านรูปแบบกิจกรรม อย่างเช่น การทำสมาธิ การทำสิ่งที่ชื่นชอบ และการนึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุขในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิดระบาด ที่ทุกคนใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ผู้คนรู้สึกนึกถึงความสุขในอดีตเพิ่มมากขึ้นด้วย
ผลสำรวจชี้ คนไทยนึกถึงอดีตสมัย "มัธยม" มากที่สุด
จากกรณีศึกษา "Nostalgia Marketing" ทีมวิจัยสาขาการตลาด ม.มหิดล ได้ทำการสำรวจข้อมูลจากคนไทย ทั้งเจเนอเรชัน X Y และ Z เกี่ยวกับพฤติกรรมโหยหาอดีต และนำมาวิเคราะห์เชิงลึก พบว่า
- คนไทย 4% เห็นว่าความทรงจำ “มีคุณค่า”
- คนไทย 9% เห็นว่า ความทรงจำ“เป็นช่วงเวลาที่มีความสุข” ช่วยเพิ่มพลังใจให้ชีวิตในปัจจุบันได้
โดยช่วงเวลาในชีวิตที่มีความสุขมากที่สุด และเป็นช่วงเวลาที่อยากย้อนอดีตกลับไปมากที่สุดของคนทุกเจเนอเรชัน คือ อันดับ 1 ช่วงมัธยม, อันดับ 2 ช่วงมหาวิทยาลัย , อันดับ 3 ช่วงประถม
เหตุผลที่คนไทยส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มเจเนอเรชั่น หวนนึกถึงอดีตในช่วงมัธยม และอยากย้อนเวลากลับไปในช่วงนั้นมากที่สุด
- 4% อยากกลับไปแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด
- 5% อยากกลับไปช่วงที่มีความสุข
- 6% อยากกลับไปบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต
ภาวะโหยหาอดีต ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพราะการที่เราคิดถึงอดีตนั้น เป็นสิ่งยืนยันว่า เรามีตัวตน ชีวิตของเรามีคุณค่า มีความหมาย ทำให้เราตระหนักได้ว่า เราควรใช้เวลาในชีวิตของเราต่อไปอย่างไรให้ดีกว่าเดิม






