ปลานอนหลับอย่างไร หลับตานอนหงาย เหมือนแบบมนุษย์?
การนอนคือการพักผ่อนที่ดีที่สุด ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ที่สิ่งมีชีวิตจะมี Chronotype หรือ นาฬิกาชีวิต ที่แตกต่างกัน ทำให้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตื่นนอน ทำงาน และนอนหลับของเราแตกต่างกับคนอื่น
สิ่งเหล่านี้จะคอยกำหนดวงจรการทำงานของร่างกายตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมตั้งแต่การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เวลาการนอนหลับ การกิน การออกกำลังกาย ไปจนถึงช่วงเวลาของวันที่เราสามารถทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แล้วปลานอนหลับอย่างไร หลับตานอนหงาย เหมือนแบบมนุษย์ อย่างเราๆ มั้ย
ถ้าแบบนี้ปลาป่วยแน่นอน อาจตุยเย
การ "นอน" ของปลานั้น ปลาจะไม่หลับตา เพราะปลาไม่มีเปลือกตา (ยกเว้นบางชนิด เช่น ฉลามบางสายพันธุ์) เข้าสู่ภาวะ "พักตัว" หรือ Resting State การทำงานของสมองช้าลง อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจลดลง ว่ายน้ำช้าลงหรือหยุดนิ่งในที่ปลอดภัย จะแตกต่างจากการ "นอนหลับ" ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบก
ตำแหน่งการพัก บางตัวลอยนิ่งกลางน้ำ บางตัวซุกตัวตามพื้นกรวด ซอกหิน หรือพืชน้ำ ปลาบางชนิด เช่น ปลานอนแนวปะการัง จะเปลี่ยนสีตัวเองให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันภัย
ปลาบางชนิดลอยตัวอยู่เฉยๆ บางชนิดเกาะตัวอยู่ในจุดที่ปลอดภัยในโคลนหรือปะการัง และบางชนิดยังหารังที่เหมาะสมได้อีกด้วย
ทำไมปลาต้องนอน
ช่วงเวลาของ "การหยุดเคลื่อนไหว" เหล่านี้อาจทำหน้าที่ฟื้นฟูร่างกายเช่นเดียวกับการนอนหลับในมนุษย์เรา เพื่อให้ระบบประสาทได้พักและซ่อมแซม ลดการใช้พลังงาน เป็นกระบวนการตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่มีสมองทุกชนิด
ตัวอย่างพฤติกรรมการนอนของปลา ชนิดปลา พฤติกรรมขณะนอน
-ปลาทอง ลอยนิ่งใกล้พื้นตู้ บางครั้งเอียงตัวเบา ๆ
-ปลานีโม่ มักนอนซุกตามก้อนหินหรือปะการัง
-ฉลามบางชนิด ยังต้องว่ายน้ำต่อเบา ๆ เพื่อหายใจ
-ปลากัด มักพักบนใบไม้ในตู้หรือแนบผิวน้ำ
หากคุณเลี้ยงปลาในตู้ อย่าแปลกใจหากกลางคืนเห็นมันนิ่ง ๆ นั่นคือเวลาที่มัน "นอนพัก" อยู่นั่นเอง ถ้าหงายท้องก็สังเกตุดีๆ หละ


















