คนเราจะเติบโตและพัฒนาจน “โตเป็นผู้ใหญ่” หลังอายุ 30 ปี
ศาสตราจารย์โจนส์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมในการประชุมด้านประสาทวิทยา ของสถาบันการแพทย์ มหาวิยาลัยอ็อกฟอร์ด ระบุว่า การที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ พยายามกำหนดว่า อายุ 18 คือ อายุที่บรรลุนิติภาวะ สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนผู้ใหญ่นั้น เป็นเรื่องของการจัดระเบียบทางสังคม มากกว่าจะอิงหลักการทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ
ศาสตราจารย์ ปีเตอร์ โจนส์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับการเติบโตของสมองและระบบเส้นประสาทของมนุษย์ และผู้จัดทำงานวิจัย ชี้ว่า กระบวนการเติบโตและปรับสภาพของสมอง ส่วนใหญ่จะใช้เวลานานราว 30 ปี
นักวิจัยผู้นี้บอกว่า ในวัย 18 ปี สมองของคนเรายังคงมีการเปลี่ยนแปลงในหลายส่วน ถือเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมที่แต่ละคนแสดงออกมา อาจจะเริ่มปรากฎอาการทางจิตใจบางอย่างในช่วงอายุ 20 กว่า ก่อนที่จะเริ่มมีความเสถียรเมื่อายุเกิน 30 ปีไปแล้ว
ดร. เจย์ กิดด์ ประธานกลุ่มกุมารแพทย์ของแผนกผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา มีความเห็นคล้ายกัน กล่าวว่า พัฒนาการของกลีบสมองส่วนหน้า เป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความรู้รับผิดชอบและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม รวมถึงการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ไม่ให้เกิดความสุ่มเสี่ยงอันตรายนั้น ไม่ได้หยุดลงโดยสิ้นเชิงเมื่อเราอายุถึง 18 ปี จริง ๆ แล้วสมองส่วนจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุประมาณ 25 ปี
ส่วนของซีรีเบลลัม หรือ สมองน้อย ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานการควบคุมและสั่งการเส้นประสาทของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ก็ยังคงเติบโตและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนถึงช่วงอายุ 20 ปีเศษ ผู้ที่มีพัฒนาการของสมองส่วนนี้ดีจึงมีสามารถด้านการเคลื่อนไหว อย่างเช่น นักเต้นรำ นักกรีฑา หรือคนที่มีท่วงท่าสง่างามเวลาทำสิ่งต่าง ๆ
สมองน้อยยังมีความเกี่ยวพันกับกระบวนการรู้คิดและตัดสินใจต่าง ๆ เมื่อเรายังอายุไม่ถึง 30 ปี หรืออยู่ในช่วงอายุที่สมองส่วนนี้ยังคงพัฒนาและปรับเปลี่ยนเพื่อการเติบโต ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะส่งผลให้เราแสดงพฤติกรรมแบบขาดวุฒิภาวะ หรือ “ดูไม่เป็นผู้ใหญ่”
ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงมองว่า มนุษย์จะมีรู้จักคิดและตัดสินใจ รวมถึงควบคุมพฤติกรรมในแบบของ “ผู้ใหญ่” ได้จริง ๆ ก็ต่อเมื่อผ่านช่วงวัยที่สมองพัฒนาอย่างเต็มที่ไปแล้ว คือ วัยประมาณ 30 ปี หรืออย่างเร็วที่สุดก็ประมาณ 25 ปี

















