มะกันคว่ำบาตรเครือข่ายขนส่งน้ำมันอิหร่านไปจีน
กระทรวงการคลัง ของอเมริกากล่าวว่า "เราได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรใหม่ ต่อบุคคลและเรือบรรทุกน้ำมันบางส่วน ที่ช่วยเหลือในการขนส่งน้ำมันดิบของอิหร่าน หลายล้านบาร์เรลต่อปีไปยังจีน ซึ่งเป็นมาตรการที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อเตหะราน..."
มาตรการดังกล่าว ถือเป็นมาตรการคว่ำบาตรครั้งแรกของอเมริกา ต่อน้ำมันของอิหร่าน หลังจากที่ประธานาธิบดี "โดนัลด์ ทรัมป์" ผู้นำของอเมริกาให้คำมั่นเมื่อสัปดาห์นี้ว่า "ผมจะลดการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านลงเป็นศูนย์ เนื่องจากผมพยายามป้องกัน ไม่ให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์..."
กระทรวงการคลัง กล่าวว่า "น้ำมันดังกล่าวถูกส่งออกในนาม ของกองกำลังติดอาวุธของอิหร่าน และ บริษัทบังหน้าของอิหร่านอย่าง "เซเพียร์ เอนเนอร์จี" ที่อมเริกากำหนดไว้ในช่วงปลายปี 2023" และ "มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าว มีเป้าหมายไปที่บุคคลและบริษัทต่างๆ ในประเทศต่างๆ รวมถึงจีน อินเดีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์"
กระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า "เราได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตร เพื่อระงับการขนส่งเรือบรรทุกน้ำมัน "ซีเอช บิลเลี่ยน" ของปานามา และ เรือบรรทุกน้ำมัน "สตาร์ ฟอเรส" ของฮ่องกง เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้อง ในการขนส่งน้ำมันของอิหร่านไปยังจีน
อเมริกากล่าวว่า "เรือบรรทุกน้ำมันบรรทุกน้ำมันดิบ ของอิหร่านจากคลังเก็บในจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่เกี่ยวข้อง กับกองทหารอิหร่าน ซึ่งมุ่งหวังที่จะแสวงหากำไรจากการขายน้ำมัน" และ "มาตรการคว่ำบาตรปิดกั้นการเข้าถึง ทรัพย์สินใดๆของบุคคลและองค์กรในอเมริกา และ ห้ามไม่ให้อเมริกาให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ"
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ "แทมมี บรูซ" กล่าวเกี่ยวกับการคว่ำบาตรดังกล่าวว่า "เราจะใช้ทุกเครื่องมือที่มีอยู่ เพื่อให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อกิจกรรม ที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคง" และ "การใช้อาวุธนิวเคลียร์ คุกคามโลกที่เจริญแล้ว"
"พาเนอร์" อดีตหัวหน้าคณะสอบสวนมาตรการคว่ำบาตร ของสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ ของกระทรวงการคลัง กล่าวว่า "มาตรการคว่ำบาตรประเภทนี้อาจได้ผล แต่จะไม่ทำให้การส่งออกลดลงเหลือศูนย์"
"เฟอร์นันโด เฟอร์เรรา" หัวหน้าฝ่ายความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ของกลุ่มพลังงาน "ราพิดาน" กล่าวว่า "มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าว เป็นการเปิดฉากโจมตีจีนและอิหร่าน โดยออกแบบมาเพื่อแจ้งให้ปักกิ่งทราบ โดยไม่รบกวนการหารือในช่องทางหลังเวที เพื่อสำรวจศักยภาพของข้อตกลงนิวเคลียร์"






















