ตำนาน"มะเมี๊ยะ"โศกนาฎกรรมความรักของเจ้าชายล้านนา
เดือนกุมภาพันธุ์ เป็นเดือนแห่งความรัก ซึ่งตามความเข้าใจของคนทั่วไปแล้ว ความรักนี้ก็คือความรักในเชิงชู้สาว เป็นความรักแบบเป็นแฟนกันฉันท์สามีภรรยา คู่รัก ไมได้เป็นความรักแบบทั่วๆ ไป ซึ่งแน่นอนว่าความรักนั้นย่อมมีทั้งสมหวังและผิดหวังเป็นธรรมดา ใครสมหวังได้เป็นคนรักครองคู่และรักกันจนแก่เฒ่าก็มีความสุข แต่ก็มีอีกหลายคู่ด้วยเช่นกันที่แม้จะรักกันปานจะกลืน ก็มีอุปสรรคมาขวางกั้นไม่สามารถอยู่ครองคู่กันได้อย่างที่ใจปรารถนา อย่างเช่น ตำนานความรักของเจ้าชายผู้สูงศักดิ์กับหญิงสาวพม่าแม่ค้าคนธรรมดาที่ชื่อ “มะเมี๊ยะ” จนกลายเป็นตำนานความรักอมตะของชาวล้านนาที่ถูกเล่าขานมาจนถึงปัจจุบัน
ตำนานความรัก “มะเมี๊ยะ”เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2441 หรือราวๆ 127 ปีก่อน โดยเจ้าน้อยสุขเกษม ซึ่งเป็นลูกของเจ้าแก้วนวรัฐอุปราชนครเชียงใหม่ ตอนที่เจ้าน้อยสุขเกษมอายุได้ 15 ปี ก็ถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์แพทริก เป็นโรงเรียนคาทอลิกที่เมืองมะละแหม่ง หว่างที่ศึกษาอยู่ในเมืองมะละแหม่งนั้น เจ้าน้อยสุขเกษมได้พบรักกับหญิงสาวพม่าชาวบ้านธรรมดานางหนึ่งที่มีหน้าสะสวยเหมือนเดือนส่องแสง โดยเธอนั้นมีอาชีพเป็นแม่ค้าขายบุหรี่ ทั้งคู่มีโอกาสเจอกันบ่อยครั้งจนถึงขั้นมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งเมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงรับรู้ก็ลงเอยด้วยกันให้ครองคู่ฉันท์สามีภรรยา แต่หลังจากอยู่กินกันได้ 5 ปีเจ้าน้อยสุขเกษมก็สำเร็จการศึกษาและจะต้องกลับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตอนที่เจ้าชายกลับมานั้น ก็แอบพามะเมี๊ยะโดยปลอมตัวเป็นชายมาอยู่กินด้วยเงียบ ๆ ที่นครเชียงใหม่ โดยตอนแรกนั้นเจ้าชายก็ให้คนสนิทปิดเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ แต่สุดท้ายเรื่องนี้ก็ไม่สามารถปิดเป็นความลับต่อไปได้ ความรักของทั้งคู่ก็เลยจบลงด้วยเหตุผลเชื้อชาติและทางการเมือง เพราะมะเมี๊ยะนั้น แม้จะเป็นคนพม่าก็จริง แต่ว่าถือสัญชาติอังกฤษ อีกทั้งตอนนั้นประเทศอังกฤษกำลังมีปัญหากับนครเชียงใหม่เพื่อหวังแทรกแซงและครองนครหวังผลยึดไม้สักที่ตอนนั้นเชียงใหม่มีไม้สักทองเยอะมาก ๆ หากทั้งสองได้ครองรักกันต่อไปอังกฤษก็จะใช้จุดเนี้ยมาเป็นการแทรกแซงเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจจะทำให้สยามไม่พอใจเป็นอัน ด้วยเหตุนี้เจ้าแก้วนวรัฐและแม่เจ้าจามมรีจึงเรียกเจ้าน้อยสุขเกษมมาพบและยื่นคำขาดให้เลิกกันกับมะเมี๊ยะ
เจ้าน้อยเกษมก็ไม่อาจที่จะขัดคำสั่งห้ามของพ่อแม่ได้ จำต้องตัดใจและพาส่งคืนมะเมี๊ยะกลับประเทศพม่าไป โดยเตรียมขบวนช้างส่งคืนอย่างสมเกียรติ์ โดยก่อนที่ทั้งคู่จะพรากพลาดจากกัน มะเมี๊ยะก็ก้มลงกราบที่เท้าเจ้าน้อยสุขเกษมแล้ว โดยใช้ผมยาว ๆ ของนางเช็ดถูตรงเท้าของเจ้าน้อยสุขเกษมเป็นการยืนยันว่าชาตินี้จะไม่มีชายอื่นใดนอกจากเจ้าชาย ส่วนเจ้าน้อยสุขเกษมก็ให้สัญญากับมะเมี๊ยะว่าจะสะสางเรื่องราวของตนเองให้สำเร็จก่อน มะเมี๊ยะเฝ้ารอการกลับมาของเจ้าน้อยสุขเกษมจนเวลาล่วงเลยไป 3 เดือนจนครบกำหนดที่เจ้าน้อยสุขเกษมรับปากไว้ แต่ไม่มีวี่แววว่าเจ้าชายจะกลับมา มะเมี๊ยะจึงตัดสินใจเดินเข้าทางธรรมโดยไปบวชเป็นชี เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจที่มีต่อเจ้าน้อยเกษม
"เจ้าบัวนวล" อดีตคู่หมั้นตอนที่เจ้าชายไปเรียนที่มะละแหม่ง
ส่วนเจ้าน้อยสุขเกษมก็ถูกเจ้าดารารัศมีเรียกตัวไปราชการที่กรุงเทพ ได้รับยศเป็นนายร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศลและได้แต่งงานกับเจ้าบัวชุม สาวในตำหนักของพระราชชายา เจ้าดารารัศมีนั่นเอง เมื่อมะเมี้ยะทราบข่าวเจ้าน้อบสุขเกษมแต่งงานก็เดินทางรอมแรมมาหาเพื่อต้องการถอนคำสาบานที่ได้ให้ไว้ต่อกัน เพื่อไม่ให้เจ้าชายรับกรรมตามคำสาบาน แต่เจ้าชายไม่กล้าออกมาพบเพราะตัวเองผิดคำสัญญาและสงสารมะเมี๊ยะ แต่ได้ส่งท้าวบุญสูงนำเงิน 800 บาทมอบให้แม่ชีมะเมี๊ยะเพื่อทำบุญและถอดแหวนทับทิมประจำตัวให้มะเมี๊ยะไปด้วย การที่ทั้งคู่เจอกันที่ประตูหายยา ในวันที่มะเมี๊ยะกลับมะละแหม่ง จึงเป็นวันสุดท้ายที่ทั้งคู่ได้พบกัน สำหรับเจ้าน้อยเกษมนั้นก็ตรอมใจ ดื่มสุราดับกลุ้มตลอดเวลา พอหลังจากแต่งงานได้เพียง 6 ปี ก็ถึงแก่ความตายด้วยพิษสุราในวัยเพียง 33 ปี ส่วนมะเมี๊ยะนั้นครองเพสเป็นชีจนถึงสิ้นอายุขัยในวัย 75 ปี เมื่อปีพ.ศ.2505
เรื่องราวความรักของเจ้าน้อยสุขเกษมกับมะเมี๊ยะ จึงเป็นตำนานความรักที่ถูกเล่าขานผ่านมาอย่างเนิ่นนานนับ100 กว่าปี และอดีตนักร้องนักแต่งเพลงคนล้านนาผู้ล่วงลับอย่างคุณจรัล มะโนเพชร ได้แต่งเพลงชื่อ “มะเมี๊ยะ”และขับร้องโดยคุณสุนทนรี เวชานนท์ จนโด่งดังมากเมื่อปี 2520 จะบอกว่าเพลงเพราะมากและเศร้ามากด้วยเช่นกัน ใครที่ยังไม่ได้ฟัง ไปหาฟังกันนะครับ
















