วิธีผ่อนคลายอาการ ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) บอกลาอาการปวดหลัง
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ มักจะมีอาการ ปวด หรือ ชา จากการอักเสบของ เนื้อเยื่อ และ เส้นเอ็น ซึ่งอาการปวดมักจะเริ่มจากจุดหนึ่ง ค่อย ๆ ลามไปยังส่วนอื่น ๆ สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มวัยคนทำงานโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือ คนที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน
การที่ใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน และ การนั่งท่าที่ไม่เหมาะสม ไม่รองรับกับสรีระร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง หรือ ยืดค้างในรูปแบบเดิมจนทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือ อาการปวด เช่น การนั่งพิมพ์งานเป็นเวลานาน และ การนั่งไขว่ห้าง
อาการของ ออฟฟิศซินโดรม
1.ปวดศีรษะ ปวดศีรษะจากภาวะออฟฟิศซินโดรมมักจะมีการลุกกลามมาจากปัญหากล้ามเนื้อบริเวณไหล่ บ่าที่ตึง ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงบริเวณศีรษะได้สะดวก บางคนอาจจะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย
2.ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ การใช้งานกล้ามเนื้อในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อ และ เส้นเอ็น มีการเกร็งตัวและยืดตัว จนทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เช่น การนั่งพิมพ์งานตลอดทั้งวัน หรือ ท่ายืนที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
3.ปวดตา สายตาเบลอ ตาแห้ง เพราะจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีช่วงเวลาพักสายตาจนทำให้ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ ทั้งนี้อาการปวดตามันมาควบคู่กับอาการปวดศีรษะ
4.ปวดขา เหน็บชา นั่งทำงานนาน ๆ ไม่ได้ลุกขึ้นเดินระหว่างวันมากนัก ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการเหน็บชา
5.ปวดข้อมือ เอ็นข้อมืออักเสบ กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกเกิดการอักเสบ จากการนั่งจับเมาส์ในท่าเดิมนาน ๆ ส่งผลให้ปวดข้อมือ ปวดแขน ข้อศอก
6.ปวดนิ้ว นิ้วล็อค ภาวะที่มักพบกับผู้ที่ต้องออกแรงที่นิ้วมือมาก ๆ และ บ่อยครั้ง เช่น การพิมพ์งาน การคลิกเม้าส์ รวมไปถึงเหล่าแม่บ้านที่ต้องดูแลบ้านให้สะอาด กวาดบ้าน บิดผ้า ทำให้เกิดการเสียดสีจนปลอกหุ้มเอ็น และ เส้นเอ็นของนิ้วมือเกิดการอักเสบ
7.ปวดกล้ามเนื้อ พบได้บ่อยมากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม โดยมักจะมีอาการปวดบริเวณคอ ไหล่ บ่า หลัง และ สะโพก มักจะมีอาการปวดเรื้อรังไม่หายขาด
8.พังผืดทับเส้นประสาท จะรู้สึกชาที่บริเวรฝ่ามือ นิ้วมือ และ แขน เป็นต้น เนื่องจากมีพังผืดที่ฝ่ามือทำให้เส้นประสาทบริเวณฝ่ามือถูกกดทับ
วิธีผ่อนคลายอาการ ออฟฟิศซินโดรม
1.ปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสม เช่น แสงไฟในที่ทำงานไม่ควรมืดและสว่างเกินไป เพราะจะส่งผลต่อดวงตาโดยตรง ทำให้ดวงตาทำงานหนักกว่าปกติ รู้สึกไม่สบายตา ตาแห้ง และ ปวดตาได้ นอกจากนี้ควรใช้โต๊ะและเก้าอี้ทำงานที่รองรับสระรีที่เหมาะสม เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และ หลัง
2.เปลี่ยนท่าทางระหว่างวัน พยายามเปลี่ยนท่าทาง ยืดเส้นยืดสายเพื่อคลายกล้ามเนื้อ และ ลุกขึ้นเดิน หรือ เดินออกไปสูดอากาศในระหว่างวันบ้าง
3.ไม่นั่งหลังค่อม หรือ นั่งเองหลัง เพราะ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความล้า การปรับอิริยาบถให้ถูกหลักสรีรศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การนั่ง นอน หรือ เดิน นอกจากจะช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังช่วยลดอาการปวดหลัง ช่วยให้สุขภาพหมอนรองกระดูกดีขึ้น ป้องกันโรคข้อต่าง ๆ ช่วยให้ออกซิเจนในร่างกายไหลเวียนได้ดี และ ช่วยเสริมสร้างให้บุคลิกภาพดูดี หากต้องยกของหนักควรยกให้ถูกท่า
4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เสริมสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ และ ยังช่วยป้องกันภาวะเส้นเอ็นและข้อยึด ผ่อนคลายความเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เดิน
5.พักผ่อนให้เพียงพอ ปรับพฤติกรรมการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากในระหว่างที่นอนหลับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและตึงของข้อต่อได้
6.รักษาด้วยการใช้ยา คนที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมที่เริ่มรุนแรงขึ้นแล้ว อาจต้องได้รับยาในการรักษา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายเครียด โดยยาเหล่านี้ควรผ่านการพิจารณาสั่งโดยแพทย์ผู้วินิจฉัยเท่านั้น
อาการออฟฟิศซินโด เป็นภาวะที่ไม่ได้อันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ สร้างความรำคาญ และ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำกิจกรรมบางอย่าง ทำให้กลายเป็นการปวดเรื้อรังที่สร้างความรำคาญ ทรมาน ซึ่งการแก้ออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุด คือ การไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายหาสาเหตุที่แท้จริง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ควบคู่ไป กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดภาวะออฟฟิศซินโดรม