ในปี 2567 ที่กำลังจะผ่านไป โลกของเราค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ๆ หรือข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับสัตว์อะไรบ้าง ทั้งในและต่างประเทศ
ในปี 2567 นี้โลกของเราได้ค้นพบสัตว์พันธุ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นหลายพันธุ์เลยทีเดียว โดยการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนี้ รวมถึงรายละเอียดการค้นพบต่างๆ ที่น่าสนใจ มีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ เริ่มต้นที่การค้นพบ สัตว์สายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย อันได้แก่ 1. จรเข้หน้าเ...้ย โดยจระเข้หน้าเ...้ย หรือชื่อวิทยาศาสตร์ วาราโนซูคัส สกลนครเอนซิส นับเป็นจระเข้ดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ชนิดที่ 12 ของประเทศไทย เป็นงานวิจัยร่วมระหว่างทีมวิจัยฝรั่งเศส - ไทย นำโดย Yohan Pochat-Cottilloux จาก Université Claude Bernard Lyon 1 ร่วมกับพิพิธภัณฑ์สิรินธร และมหาวิทยาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบจากแหล่งภูสูง จ.สกลนคร ในหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น 2. ชะมดดึกดำบรรพ์ โดยชะมดดึกดำบรรพ์ หรือ เซมิเจเน็ตตา (Semigenetta) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ชะมดและอีเห็น (vivirridae) ซึ่งกระจายตัวไปตามทวีปยูเรเชีย (Eurasia) ในยุคไมโอซีน (Miocene) โดยแบ่งเป็นในยุโรป 5 ชนิด และในเอเชีย 3 ชนิด ก่อนจะมีการค้นพบเซมิเจเน็ตต้า ไทยแลนดิคัส (Semigeneta thailandicus) ในแอ่งแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยก่อนหน้านี้ก็เคยมีการค้นพบและตั้งชื่อเซมิเจเน็ตต้าที่ไทยไปแล้วแต่ถูกคัดค้านไปเนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ แต่ตัวอย่างใหม่นี้ที่พบเป็นกราม 2 ชิ้นที่มีลักษณะที่แตกต่างมากพอที่จะตั้งเป็นชนิดใหม่ได้ และ การค้นพบ สายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ อันได้แก่ 1. ไทแรนโนซอรัส แมคเรเอนซิส (Tyrannosaurus mcraeensis) ไทแรนโนซอรัสตัวใหม่จากรัฐนิวเม็กซิโก 2. อิคธีโอไททัน เซเวิร์นเอนซิส (Icthyotitan severnensis) อิกธิโอซอร์ขนาด 30 เมตร สัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกตัวใหม่ที่อาจจะโตได้กว่าวาฬสีน้ำเงินเมื่อโตเต็มที่ และการค้นพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับสัตว์จากต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. นาโนไทแรนนัส กลับมาแล้ว หลังจากเป็นลูกทีเร็กซ์อยู่นาน แต่ดันไม่ใช่ไทแรนโนซอริดซะงั้นถูกย้ายไปเป็นญาติห่าง ๆ อย่างไทแรนโนซอรอยด์ (Tyrannosauroid) ที่มีลักษณะเก่าแก่ที่มีความโบราณและว่องไวกว่าแทน 2. ซอโรฟากาแน็กซ์ แท้จริงแล้ว เป็นคิเมรา หรือ มีการวมกันของสัตว์มากกว่า 1 ชนิด ส่วน Holotype ไม่ชัดเจนลักษณะคล้ายซอโรพอด และยังมีชิ้นส่วนของซอโรพอดนั้นยังระบุชนิดไม่ได้ แต่ส่วนที่เป็นอัลโลซอร์นั้นชัดเจนว่าไม่ได้ต่างจากอัลโลซอรัสมากนักเพียงแค่ตัวใหญ่ จึงได้ถือกำเนิดสายพันธุ์ใหม่ อัลโลซอรัส เอเเน็กซ์ 3. กิ้งกือยักษ์อาร์โทรพลูร่า มีตาเหมือนกุ้ง ซึ่งพบในเฉพาะสัตว์น้ำ ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าตัวอ่อนพวกมันอาจอยู่ในน้ำ 4. การพบมัมมี่ลูกเสือเขี้ยวดาบเป็นครั้งแรก ทำให้เรารู้รูปร่างหน้าตาของมันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยสนับสนุนข้อมูลเก่า ๆ ได้อย่างดี