10 พฤติกรรมทาง "ศีรษะ" บอกอะไรในตัวคุณ!!
10 พฤติกรรมทาง "ศีรษะ" บอกอะไรในตัวคุณ!!
หนังสือ พจนานุกรมอ่านคนตั้งแต่หัวจรดเท้า (The Dictionary of Body Language) เขียนโดย Joe Navarro ได้ให้ความหมายจากพฤติกรรมที่แสดงออกผ่านร่างกายส่วน "ศีรษะ" ไว้ดังนี้
1. เครื่องประดับศีรษะ
นี่เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในทุกวัฒนธรรมด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป อาจช่วยให้คุณรู้จักใครสักคนหนึ่งมากขึ้น ไม่ว่าเขาจะมาจากชนชั้นไหน ภักดีกับอะไร มีฐานะอย่างไร เชื่อในสิ่งใด มองตัวเองเป็นอย่างไร หรือแม้แต่ต่อต้านจารีตประเพณีมากน้อยแค่ไหน
2. ผม
สิ่งที่วางตัวอยู่เหนืออวัยวะทั้งปวงนี้เผยให้เห็นอะไรมากมายที่เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด ผมสุขภาพดีเป็นสิ่งสิ่งที่มนุษย์ทุกคนอยากมีไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เพราะผมที่สกปรก ยุ่งเหยิงหลุดร่วง หรือไม่ได้รับการดูแลอาจบ่งบอกถึงสุขภาพที่ย่ำแย่หรือแม้แต่อาการป่วยทางจิต
3. เล่นผมตัวเอง
การเล่นผมตัวเอง (ทั้งมัวนผม ดึงผม และลูบผม) จัดเป็นพฤติกรรมสงบสติอารมณ์รูปแบบหนึ่งซึ่งมักทำกันในหมู่ผู้หญิง โดยอาจบ่งบอกว่าพวกเธอกำลังอารมณ์ดี
4. เล่นผมตัวเอง(หันฝ่ามือออกจากตัว)
แสดงถึงความสบายใจ ทั้งยังเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าพวกเธอกำลังรู้สึกดีและมีความมั่นใจ
5. เสยผม (สำหรับผู้ชาย)
แสดงถึงภาวะกำลังรู้สึกเครียด พฤติกรรมนี้ช่วยระบายอากาศให้หนังศีรษะเย็นลง รวมถึงกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณหนังศีรษะเวลากดนิ้วลงไป นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความกังวลหรือความไม่แน่ใจ
6. สยายผม (สำหรับผู้หญิง)
พฤติกรรมสงบสติอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยช่วยทั้งคลายร้อนและลดความเครียด ปกติผู้หญิงจะสะบัดผมด้านหลังคอ
7. ดึงผม
แสดงถึงอาการของโรคทริโคทิลโลมาเนีย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับความเครียด
8.ผงกหัว
อากัปกิริยาที่แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าเราได้ยินที่เขาพูด ซึ่งโดยทั่วไปมักสื่อถึงการเห็นฟ้องต้องกัน
9.ตบหลังหัวตัวเองเบาๆ
พฤติกรรมแสดงเมื่อเวลาที่เรางุนงงหรือสับสนกับความคิดที่อยู่ในหัว การทำแบบนี้ช่วยให้เราผ่อนคลายเพราะสัมผัสนั้นให้ความรู้สึกอุ่นใจ นี่เป็นพฤติกรรมสงบสติอารมณ์เช่นเดียวกับการใช้มือสัมผัสร่างกายส่วนใหญ่ ซึ่งช่วยคลายความเครียดหรือความกังวลได้
10. เกาหัว
พฤติกรรมที่ช่วยให้เราสงบลงได้ เวลารู้สึกเครียด กังวล หงุดหงิด หรือติดใจสงสัย ซึ่งพบได้ในคนที่ต้องพยายามจดจำข้อมูลหรือพบเจอเรื่องที่สร้างความสับสน
อ้างอิงจาก: หนังสือ พจนานุกรมอ่านคนตั้งแต่หัวจรดเท้า (The Dictionary of Body Language) เขียนโดย Joe Navarro