ข้าวหมาก โพรไบโอติกภูมิปัญญาชาวบ้าน กับ 7 เรื่องราวที่บางคนอาจไม่เคยรู้
เชื่อว่าเกือบทุกคนคงเคยได้ลองลิ้มชิมรส ข้าวหมาก กันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะหารับประทานได้ยากสักหน่อย แต่ก็ยังพอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ต่อไปนี้คือเรื่องราวของข้าวหมาก 7 เรื่องที่บางคนยังไม่รู้ อันได้แก่ 1. ข้าวหมาก คือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยคนเฒ่าคนแก่มีการถ่ายทอดกันโดยเฉพาะเครือญาติที่สืบกันไปเท่านั้น 2. ข้าวหมาก คือ ขนมหวานชนิดหนึ่งที่ทำมาจากการนำข้าวเหนียวนึ่งมาหมักกับราและยีสต์ในรูปของแป้ง เพื่อให้ราและยีสต์เปลี่ยนเป็นน้ำตาล หรือเป็นแอลกอฮอล์เล็กน้อย ข้าวที่หมักได้จะมีรสหวาน ส่งกลิ่นหอม 3. ข้าวหมาก เป็นอาหารหมักพื้นบ้านของไทย ทำจากข้าวเหนียวขาวและดำ แต่ข้าวเหนียวดำมักไม่ค่อยเห็น ทั้งๆ ที่ข้าวเหนียวดำมีปริมาณสารแกมม่า-โอไรซานอล และสามารถสังเคราะห์สารแอนโทไซยานินได้มากกว่าข้าวขาวด้วยซ้ำ ข้าวขาวเป็นที่นิยมมากกว่า 4. ข้าวหมาก สามารถบำบัดอาการของโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ กินดี ขับถ่ายง่าย บำรุงธาตุ ต้านโรคอัมพฤกษ์ ต้านมะเร็ง ต้านโรคหัวใจ ต้านความดันโลหิต แก้ปัญหาวัยทอง ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ผิวพรรณดี ผิวใส 5.ข้าวหมาก เป็นอาหารที่คนโบราณคิดค้นกระบวนการหมักจนได้แบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ หรือโพรไบโอติก ที่นมเปรี้ยวในปัจจุบันนำมาเป็นจุดขายนั่นเอง บางทีที่เราชอบกินยาคูลท์ บีทาเก้น นั่นแหละข้าวหมักสรรพคุณเช่นเดียวกัน แต่มีมาแต่โบราณ 6. ข้าวหมาก ไม่จัดว่าเป็นของหวานมึนเมา แป้งข้าวหมากไม่ใช่เชื้อสุรา 7. คนที่ชอบทานและรู้จักข้าวหมาก ส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคนขึ้นไป หรือในเด็กบางกลุ่มที่ถูกเลี้ยงโดยคุณยายคุณย่า ก็อาจจะเติบโตขึ้นมาแล้วรู้จักข้าวหมาก แต่เด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตในกรุงจะกินไม่ค่อยเป็น หรือไม่รู้จักข้าวหมากเลยก็ว่าได้ อันนี้แล้วแต่สิ่งแวดล้อมสังคม ข้าวหมาก ภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยก่อน มีประโยชน์มากมาย อีกทั้งยังกินเข้าไปยังสามารถรักษาโรคได้ ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกายของเราอีกด้วย