Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วัดพระศรีสรรเพชญ์ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

โพสท์โดย phoom198

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นอดีตวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณ อยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2035 โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

วัดพระศรีสรรเพชญ์ มีจุดที่น่าสนใจที่สำคัญคือเจดีย์ทรงลังกา จำนวนสามองค์ที่วางตัวเรียงยาวตลอดทิศตะวันออกและทิศตะวันตก สร้างขึ้นเป็นองค์แรกทางฝั่งตะวันออก เมื่อปี พ.ศ. 2035 โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชบิดา) ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ก็ทรงให้สร้างเจดีย์องค์ต่อมา (องค์กลาง) ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2) และในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ก็ทรงสร้างเจดีย์อีกองค์ในฝั่งทิศตะวันตกให้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชบิดาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร)) รวมเป็นสามองค์ตามปัจจุบัน

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดประจำวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา จึงกลายเป็นต้นแบบของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาในเวลาต่อมา

ประวัติ

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เมื่อปี พ.ศ. 2508

ภาพพาโนรามิกตามเส้น (Linear panoramic) พระเจดีย์ประธาน 3 องค์ซึ่งบรรจุพระบรมอัฐิสามารถเรียงจากซ้ายมาขวาได้ดังนี้ (1) เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (2) เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 และ (3) เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯ ให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการณ์สร้างวัดเดียวกันนั่นคือสร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2035 รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสถูปเจดีย์องค์กลางเพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ผู้เป็นพระเชษฐาหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2042 พระองค์โปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้น

ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และบรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระที่นั่งจอมทอง ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กำแพงทางด้านติดกับ วิหารพระมงคลบพิตร เพื่อให้เป็นสถานที่ให้พระสงฆ์บอกเล่าหนังสือพระสงฆ์ ราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหลวงแห่งนี้เป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าได้ดำเนิน การขุดสมบัติจากกรุภายในเจดีย์ พบพระพุทธรูป เครื่องทอง มากมาย และในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการบูรณะวัดนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจะมีบริการเครื่องโสตทัศนาจร สามารถฟังข้อมูลการบรรยายวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดไชยวัฒนาราม และวัดมหาธาตุ ได้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่าได้ที่จุดบริการใกล้ป้อมจำหน่ายบัตรของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยคิดค่าบริการเครื่องละ 150 บาท


           นักท่องเที่ยวสามารถเช่าจักรยานเพื่อปั่นชมรอบ ๆ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้ แล้วนำมาจอดหน้าวัดพระศรีสรรเพชญ์ ก็จะสะดวกกว่าการขับรถเข้ามาเที่ยว เพราะจะต้องหาที่จอดรถ ยิ่งถ้ามาในช่วงวันหยุด นักท่องเที่ยวจะพลุกพล่าน และหาที่จอดรถได้ยากมาก
          วัดพระศรีสรรเพชญ์เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.


          ค่าเข้าชมวัดพระศรีสรรเพชญ์ สำหรับคนไทย ผู้ใหญ่คนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่คนละ 50 บาท หรือจะซื้อบัตรรวมสำหรับการเข้าชมวัดต่าง ๆ โดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเลยก็ได้ คนไทยคนละ 40 บาท และชาวต่างชาติ 220 บาท ส่วนเด็ก นักเรียน นักศึกษา ไม่เสียค่าเข้าชม
          หากมาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะชมความสวยงามยามค่ำคืนของที่นี่ โดยทางอุทยานจะเปิดไฟตั้งแต่เวลา 18.30-21.00 น. แสงสีทองจะส่องสว่างไปรอบวัดต่าง ๆ อย่างสวยงามอลังการ นักท่องเที่ยวสามารถที่จะชมได้จากด้านนอกของอุทยานเท่านั้น เพราะอุทยานจะปิดให้เข้าชมเวลา 18.00 น.


         การมาเที่ยวชมวัดพระศรีสรรเพชญ์และโบราณสถานโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นักท่องเที่ยวต้องทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด อาทิ ไม่ปีนป่ายโบราณสถาน, ไม่หยิบจับวัตถุโบราณ, ไม่เหยียบย่ำบริเวณซากปรักหักพัง เป็นต้น เพราะนอกจากจะทำลายโบราณสถานแล้ว ก็ยังอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เข้าชมอีกด้วย


          ถึงแม้ว่าทางอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไม่ได้มีข้อบังคับในเรื่องการแต่งกาย แต่นักท่องเที่ยวก็ควรแต่งกายให้สุภาพ เหมาะสมกับสถานที่ หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น เสื้อสายเดี่ยว ฯลฯ นอกจากจะให้เกียรติกับสถานที่แล้ว ยังเป็นการป้องกันอันตรายจากแมลง เศษกิ่งไม้และเศษหิน อิฐ ปูน บริเวณโดยรอบโบราณสถานด้วย

การเดินทางมายังวัดพระศรีสรรเพชญ์
          - โดยรถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ขับรถมาตามถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 32) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอยุธยา ขับไปเรื่อย ๆ ผ่านวงเวียน ข้ามสะพานปรีดีพนมยงค์ ตรงไปจนถึงถนนศรีสรรเพชญ์ เลี้ยวขวา แล้วขับเลยวงเวียนไปสักพักจะเจอกับทางเข้าวัดพระศรีสรรเพชญ์
          - โดยรถประจำทาง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะนั่งรถตู้ประจำทางมาลงที่ตัวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยาได้ แล้วเช่ารถตุ๊กตุ๊กแบบเหมาพาเที่ยวทั้งวัน แต่ถ้าใครสามารถขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ได้ ก็จะมีร้านให้เช่ามอเตอร์ไซค์อยู่บริเวณท่ารถและหน้าสถานีรถไฟ         

- โดยรถไฟ การเดินทางด้วยรถไฟเป็นอีกหนึ่งวิธีที่นักท่องเที่ยวเลือกเดินทางจากกรุงเทพฯ เพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว และยังได้ชมบรรยากาศสองฟากฝั่งระหว่างทางได้อีกด้วย โดยนักท่องเที่ยวสามารถที่จะมาขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง มีรถไฟให้บริการทุกวัน แล้วลงที่สถานีรถไฟอยุธยา จากนั้นจะเช่ารถตุ๊กตุ๊กให้พาเที่ยว หรือจะเช่ารถมอเตอร์ไซค์เที่ยวเองก็ได้เช่นกัน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0 3524 2284, 03524 2286

โพสท์โดย: phoom198
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
phoom198's profile


โพสท์โดย: phoom198
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
มาเป็นคนแรกที่ VOTE ให้กระทู้นี้
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นักเรียนดับเจ็บอื้อ หลังคนขับรถคลั่งพุ่งชนคนแบบตั้งใจ หน้าโรงเรียนประถมเกิดเหตุสะพานข้ามแม่น้ำจีนถล่ม หลังเกิดเหตุไฟไหม้การออกกำลังกายหนักไปอาจไม่ใช่เรื่องดี กับ 7 อาการที่ร่างกายบ่งชี้ว่า “กำลังออกกำลังกายหนักเกินไป”ค่าจ้างขั้นต่ำของภูฏาน ยังห่างไกลจากเกณฑ์ มาตรฐานโลกมากนัก"มาร์ติน บราโว่" หนุ่มสเปนผู้รักไทย เข้าพรรษาชั่วคราว เลิกวิ่งกินหมูกรอบ! อุปสมบทที่วัดพระธาตุนาดูนทรัมป์ลดภาษี? จีนกลับหัวเราะเยาะ!” – เกมการค้ากำลังเปลี่ยนขั้ว?สำรวจความหลากหลายชาติพันธุ์ในประเทศไทยที่คนไทยหลายคนอาจไม่เคยรู้จักทัวร์ลงไม่ยั้ง! ดราม่าตลกใส่บิกิuี่ขึ้นชกมวยไทย เสี่ยโบ๊ทชี้ล้ำเส้นไม่ให้เกียรติรวมภาพขำๆ ฮาๆ ทะลึ่งกวนๆ ประจำวัน 24/4/68 จ้า!!เพจดัง!! โพสต์ภาพ นี่เขตสีเขียว แต่อนุญาตสร้างโรงงานได้หรือรีวิว Venom Bucket Set ถังใส่ป๊อปคอร์งานสวยที่เราอยากเอามาโชว์นักวิจัยค้นพบสัตว์ประหลาดใต้ทะเลเพียบ!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
8 ต้นไม้มงคลเรียกทรัพย์ – ปลูกไว้ เงินไหลมา ความเฮงไม่หนีไปไหน“ไข่หอยเชอรี่” กินได้หรือไม่?เป๊ะมาก! "ก้อง ห้วยไร่" ทำผมทรง "แจ็คสัน หวัง"..งานนี้แฟนคลับคอมเมนต์แซวสนั่นหัวใจสลาย! ตั๊ก บริบูรณ์ ร่ำไห้กลางรายการ หลังสูญเสีย 2 คนรักจนคิดปิดบริษัทนักวิจัยค้นพบสัตว์ประหลาดใต้ทะเลเพียบ!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
“ซีเรียลอาหารเช้า...ดีจริง หรือแค่หวานเกินจริง?นักวิจัยค้นพบสัตว์ประหลาดใต้ทะเลเพียบ!ความผันผวนของราคาทองวันที่ 24 เมษายน 2568มีด้วยหรือฝนดาวตกคนคู่
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง