เกวียน เส้นทางเกวียน
วิถีชีวิตคนชาวอีสานส่วนให้ใช้ขนสิ่งของคมนาคมกันในอดีตนิยมใช้เกวียน พื้นที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ต่างจากภาคกลางเป็นที่ลุ่มแม่น้ำนิยมใช้เรือการสัญจรไปมา เกวียนทางภาคอีสานส่วนใหญ่จะทำขึ้นจากไม้ทั้งหมด ใช้วัวควายในการลากจูง จะมีขนาดไม่ใหญ่นักส่วนใหญ่จะใช้วัวความลากจูง2ตัว ใช้ขนผ้าสิ่งของเครื่องใช้หรือพืชพันธุ์ทางการเกษตร นิยมเดินทางในหน้าแล้ง เส้นทางในการเดินทางจะเรียกโสก โสกทางเกวียน โสกทางไปนา
จะแบ่งเส้นทางตามสมัยอดีตไว้ดังนี้ ตั้งจุดศูนย์กลางที่จังหวัดนครราชสีมา(โคราช)
1 มุ่งหน้าบัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดร(มีแยกไปสกลนคร นครพนม) หนองคาย
2 มุ่งหน้าประทาย พยัฆภูมิพิสัย ร้อยเอ็ด ยโสธร
3 มุ่งหน้าบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ อุบลราชธานี
4 มุ่งหน้าชัยภูมิ ภูเขียว ชุมแพ เลย
จากเส้นทางโสกทางเกวียนเก่าบางเส้นทางอาจสอดคล้องกับเส้นทางปัจจุบัน แต่บางเส้นทางอาจไม่มีเพราะเป็นเส้นทางตัดขึ้นมาใหม่
อ้างอิงจาก: Isan insight