แร้งคอยกินศพ ภาพประวัติศาสตร์ ณ วัดสระเกศเมื่อ(พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) หรือ 119 ปีที่แล้ว
"แร้งคอยกินศพ"ภาพประวัติศาสตร์ ณ วัดสระเกศเมื่อ(พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) หรือ 119 ปีที่แล้ว
เราก็จะมานำเสนอบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อีแร้งวัดสระเกศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการทำให้ศพเน่าเปื่อยลงไปอยู่ในท้องและรักษาสภาพแวดล้อมโดยธรรมชาติของอีแร้งที่ชอบกินซากสัตว์ต่างๆนั่นเองและอีแร้งวัดสระเกศจะมีบทบาทอย่างไรในยุคโบราณสำหรับกรุงเทพฯนั้นเรามีรายละเอียดและบทความมานำเสนอครับ
หลักฐานยืนยันว่าแม้แต่ในกรุงเทพมหานคร ก็พบแร้งประจำถิ่นเป็นจำนวนมาก ในภาพเป็นอีแร้งเทาหลังขาว (White-rumped Vulture /Gyps bengalensis/)
ซึ่งเป็นแร้งประจำถิ่นที่มีจำนวนมากที่สุดในอดีตของสยาม อีก 2 ชนิด คือ พญาแร้ง และ อีแร้งสีน้ำตาล
จะเห็นว่าแร้งคอยเวลา ลงกินศพมนุษย์ที่อาจจะเสียชีวิตด้วยโรคระบาดหรือโรคเรื้อรัง ประเมินจากสภาพศพที่ผอมแห้ง และค่อนข้าง "เชื่อง" กับคน จากระยะห่างกับคนในภาพ อาจจะเป็นสัปเหร่อ
อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานระบุว่าสังคมสยาม ถือคติ ฝังฟ้า หรือ Sky burial เหมือนพิธีบริจาคศพให้เป็นอาหารของอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย และอีแร้งดำหิมาลัยในประเทศทิเบต
มันก็เป็นช่วงหนึ่งนะครับที่อาจจะมีการทำพิธีศพโดยให้นกแร้งกินเพราะบางทีมีคนตายมากๆไม่สามารวิธีรึฝังศพได้เพื่อความสะดวกรวดเร็วเลยใช้นกแร้งเป็นตัวช่วยกำจัดศพ
แต่ถ้าเป็นยุคสมัยนี้ปัจจุบันเข้ามาทำแบบนี้รับรองด้วยว่าคนที่พบเห็นคงสยดสยองพองขนกับซากศพที่โดนนกอีแร้งกินแน่นอนครับยุคสมัยมันเปลี่ยนไปอะไรๆมันก็เปลี่ยนไป..
ภาพจาก google search