"เทือกเขาอันนัม" เทือกเขาปราการธรรมชาติ ที่คอยปกป้องประชาชนชาวลาวชาวไทยจากลมพายุร้ายแรงต่างๆ มาตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบัน
"เทือกเขาอันนัม" นอกจากจะเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เทือกเขาอันนัมยังทำหน้าที่เสมือนกำแพงธรรมชาติ คุ้มครองประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น พายุ ไต้ฝุ่น และอุทกภัยต่างๆที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ
เทือกเขาแห่งนี้ยังเป็นเทือกเขาที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญที่เกิดจากเทือกเขาอันนัมและมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาค เทือกเขาอันนัมนี้เป็นเทือกเขาในภูมิภาคอินโดจีน มีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร (680 ไมล์) เป็นชายแดนตลอดแนวทิศตะวันตกของประเทศเวียดนามต่อกับลาวและทางตอนเหนือของกัมพูชา มีชื่อเรียกในภาษาเวียดนามว่า "สายเจื่องเซิน" (Dãy Trường Sơn) และ "สายภูหลวง" (ພູຫລວງ) ในภาษาลาว
เทือกเขาอันนัมประกอบด้วยภูเขาและยอดเขาเป็นจำนวนมาก โดยยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ภูเบี้ย ที่ความสูง 2,819 เมตร และยังเป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย
เทือกเขาแห่งนี้ยังเปรียบเสมือนห้องสมุดธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่เก็บรวบรวมสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดไว้มากมาย ตั้งแต่พืชพันธุ์นานาชนิด ไปจนถึงสัตว์ป่าหายาก เช่น ซาวลา ซึ่งเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เพิ่งค้นพบใหม่ในศตวรรษที่ 20 อีกด้วย ซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิดเป็นการค้นพบใหม่หรือไม่ได้มีศึกษาทางสัตววิทยามาก่อนจำนวนมาก อาทิ ซาวลา (Pseudoryx nghetinhensis), เก้งยักษ์ (Muntiacus vuquangensis), เก้งเจื่องเซิน (M. truongsonensis), หมูป่าอินโดจีน (Sus bucculentus) เป็นต้น โดยตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา มีการค้นพบผีเสื้อ 2 ชนิด, งู 1 ชนิด, กล้วยไม้ 5 ชนิด และพืชชนิดอื่น ๆ อีก 3 ชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่พบนี้ไม่มีสีเขียวหรือไม่มีคลอโรฟิลล์สังเคราะห์ด้วยแสงแต่ดำรงชีพด้วยการกินอินทรีย์สารที่เน่าเปื่อยเป็นอาหารคล้ายพวกฟังไจแทน
อย่างในตอนนี้ก็มีพายุหนักเข้าฝั่งที่ประเทศเวียตนาม ซึ่งพายุเหล่านี้ก็จะปะทะกับเทือกเขาแห่งนี้ แล้วอ่อนกำลังลงก่อนที่่จะมาถึงประเทศไทย และ ประเทศลาวในภายหลังนั่นเอง...