สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
สัญญาณเตือน จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
สิ่งสำคัญที่ควรรู้ หากไม่อยากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
แนวทางการดูแลรักษาและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
สรุป
⌜ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)⌟ ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็น 1 ในโรค NCDs ที่ผู้คนทั่วโลกเป็นมากที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (โรค CADs) ที่มี 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน จึงไม่สามารถส่งสารอาหารและเกิดภาวะพร่องออกซิเจนต่อระบบการทำงานของหัวใจและสมอง ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองแตกได้
⌜ระดับคอเลสเตอรอลปกติตามช่วงอายุ⌟
❈ อายุไม่เกิน 19 ปี
● คอเลสเตอรอลรวม = ต่ำกว่า 170 mg/dL
● Non-HDL คอเลสเตอรอล = ต่ำกว่า 120 mg/dL
● LDL = ต่ำกว่า 110 mg/dL
● HDL = สูงกว่า 45 mg/dL
❈ อายุ 20 ปีขึ้นไป
● คอเลสเตอรอลรวม = 125 ถึง 200 mg/dL
● Non-HDL คอเลสเตอรอล = ต่ำกว่า 120 mg/dLL
● LDL = ต่ำกว่า 100 mg/dL
● HDL = เพศชายตั้งแต่แรกเกิด: 40 หรือสูงกว่า / เพศหญิงตั้งแต่แรกเกิด: 50 หรือสูงกว่า
⌜สัญญาณเตือน⌟ จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดาวะไขมันในเลือดสูง
⟴ การแสดงอาการเด่นๆ จากภาวะโรคไตร์กลีเซอร์ไรด์สูง เช่น ลักษณะผื่นตุ่มไขมันคล้ายขนลุกตามลำตัว แขน ต้นขา สะโพก ที่มีสีเหลืองอมส้ม หรือผื่น หรือรอยนูนตามลายฝ่ามือ ตุ่มนูนนุ่มไม่เจ็บจะพบที่ข้อผับ ศอก เข่า รอบตาดำมีแถบสีเทาหรือขาวล้อมรอบ และรอบหนังตามีผื่นนูนหรือผื่นไขมัน
⟴ เจ็บหน้าอก หายใจลำบากและถี่
⟴ อ่อนเพลียหรือเวียนหัวเรื้อรัง หน้ามืด วูบ ตาพร่ามัวบ่อยๆ
⟴ เกิดอาการสับสน เพ้อ หรือตีความคำพูดและการได้ยินผิดเพี้ยน
⟴ อวัยวะส่วนปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้าเริ่มมีสีคล้ำหรือห้อเลือด
⟴ อุณหภูมิร่างกายแปรปรวน
⟴ มีอาการตะคริว หรือเหน็บชา
⟴ เกิดภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรงชั่วคราว
⟴ ร่างกายขับเหงื่ออย่างผิดปกติ
⌜กลุ่มเสี่ยง⌟ ต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
✧ ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์เป็นประจำและต่อเนื่อง
✧ ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารแปรรูป อาหารฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารขยะ หรืออาหารประเภทที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์จํานวนมาก
✧ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
✧ ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
✧ การนั่งหรือไขว้ห้างเป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน
✧ มีประวัติครอบครัวที่มีคอเลสเตอรอลสูง
✧ ผู้ที่รับประทานยา Beta-blockers ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยาต้านเชื้อ HIV และยาประเภทสเตียรอยด์
✧ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับอ่อน โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา โรคเอดส์ ภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรง ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง (โรคภูมิต้านตนเอง) ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะท่อน้ำดีอักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
⌜แนวทางการดูแลรักษาและลดความเสี่ยง⌟ ต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
✓ เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ
✓ กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs อื่นๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
✓ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
✓ ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
✓ เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมเน้นบำรุงหลอดเหลือด หัวใจ เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี
✓ หากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
✓ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
✓ ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น
✓ หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง
✓ หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ