โปรตีน กินผิด ชีวิตเปลี่ยน
โปรตีนหนึ่ง ในสารอาหารหลักที่สำคัญต่อชีวิตคุณ อย่างไร
ความเชื่อเกี่ยวกับโปรตีน
1. กินโปรตีนมากไปไม่ดีต่อไต
2. กินโปรตีนมากไปไม่ดีต่อตับ
3. การกินโปรตีนจากพืชเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าหรือไม่
4. โปรตีนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวาน
5. โปรตีนแปรรูปเข้มข้ม คือ แหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับคนยุคใหม่
6. โปรตีนจากสัตว์ทำให้เป็นมะเร็ง
7. ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่น้อย
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ควรลดการบริโภคโปรตีนในปริมาณที่สูง
และนี่คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่จะทำร้ายสุขภาพคุณ ที่คุณอาจมองข้าม
รายการตรวจประเมินประสิทธิภาพการใช้โปรตีนในร่างกายคุณ
วิธีดูแลป้องสุขภาพแบบองค์รวมของคุณ เพื่อให้การกินโปรตีนได้รับประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายคุณ
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ
✧ ปิด!! ประตูรับโรค น้ำตาลและอินซูลิน ต้นเหตุสร้างโรคเรื้อรัง
✧ เคล็ดลับการป้องกัน โรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม
✧ สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง
✧ “สารก่อมะเร็งและสารพิษ” มีอยู่รอบตัว !! รู้ทันสาเหตุเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง
สรุป
รายการตรวจประเมินประสิทธิภาพ การใช้โปรตีนในร่างกาย
เรื่องน่ารู้:
⌜โปรตีน⌟ เป็นสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบหลักของทุกเซลล์ในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลากหลายในรูปแบบ เช่น
✓ เป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารหลักที่สำคัญ
✓ เสริมสร้างการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ
✓ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และเอนไซม์ที่สามารถทำลายสารพิษที่ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย
✓ เป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เป็นพาหนะนำพาสารอาหารจากผนังลำไส้และก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด และนำส่งไปทั่วร่างกาย
✓ โปรตีนธรรมชาติมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง การผลิตสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ที่จะป้องกันการทำงานระบบสมองและประสานทำงานผิดเพี้ยน ที่จะลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท อารมณ์แปรปรวน และอาการก้าวร้าวได้
⌜ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ⌟ สำหรับผู้ใหญ่ไทยทั้งชายและหญิง คือ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน และพลังงานจากโปรตีนเทียบกับพลังงานที่ควรได้รับทั้งวัน ควรอยู่ระหว่างร้อยละ 10-15
⌜โปรตีน แบ่งได้ 2 ประเภทจากแหล่งที่มา⌟ สำหรับอาหารที่คุณบริโภคอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่
⑴ โปรตีนจากแหล่งธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ วัว หมู ปลา อาหารทะเล ไข่ ถั่วเหลือง ต้นอ่อนทานตะวัน ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วลันเตา เป็นต้น
⑵ โปรตีนแปรรูปหรือโปรตีนสังเคราะห์ เช่น เนื้อสัตว์แปรรูปหรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านการทอดหรือผ่านกระบวนการความร้อนสูง เช่น เนื้อหรือโปรตีนสังเคราะห์ เนื้อแฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก ไก่ทอด ฮอทดอก แฮม เบคอน เนื้อกระป๋อง โปรตีนผง อาหารเสริมโปรตีน เป็นต้น
⌜7 ความเชื่อเกี่ยวกับโปรตีน⌟
① กินโปรตีนมากไปไม่ดีต่อไต
② กินโปรตีนมากทำลายตับ
③ กินโปรตีนจากพืชเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดหรือไม่
④ โปรตีนสูงทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน
⑤ โปรตีนแปรรูป แหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับคนยุคใหม่
⑥ โปรตีนจากสัตว์ทำให้เป็นมะเร็ง
⑦ ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่น้อย
✓ เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่ รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น PM 2.5
✓ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
✓ กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs อื่นๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
✓ เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงจากผัก ผลไม้ ได้รับโปรตีนเพียงพอทั้งโปรตีนจากพืชและจากสัตว์อย่างเพียงพอ โดยเน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีความหลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารที่เพียงพอ
✓ เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเน้นอาหารจากธรรมชาติ หรือผ่านกระบวนการแปรรูปให้น้อยที่สุด เพื่อสุขภาพหลอดเหลือดและหัวใจ เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี และหากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อช่วยลดระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ต่อต้านสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคระบบเผาผลาญพลังงานเสื่อม โรคมะเร็ง โรคหัวใจ สนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
✓ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
✓ ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแรงต้านเข้มข้น (HIIT) การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น
✓ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
✓ หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง
✓ หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำปี