หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อวสานกุหลาบแวร์ซาย มองมีดกิโยคินตัดพระศอพระนางเอง!

โพสท์โดย stampchan

สวัสดีครับ ในกระทู้จะขอแบ่งปันบทความ 'อวสานกุหลาบแวร์ซาย' มาให้อ่านกันนะครับ

 

อวสานกุหลาบแวร์ซาย มองมีดกิโยคินตัดพระศอพระนางเอง!

เป็นการบั่นคอที่เจ็บปวดที่สุด คือ การถูกจับให้หงายตัวขึ้นมองมีดที่ร่วงลงมาบั่นพระศอตนเอง!!!

เราได้ยินเรื่องของพระนาง มารี อองตัวเน็ตต์ มาเนิ่นนาน โดยเฉพาะวรรคทองที่ทำให้พระนางถูกดูแคลนจากคนหลายคนบนโลกใบนี้คือ “ไม่มีขนมปังก็กินเค้กแทนสิ” ในช่วงที่ราษฎรชาวฝรั่งเศสของพระนางกำลังอดอยากหิวโหย

ซึ่งที่จริงก็ไม่มีใครที่พิสูจน์ได้ว่าคำกล่าวนี้ มาจากพระโอษฐ์ของพระนางจริงๆ หรือเป็นเพียงเกมการเมืองกลั่นแกล้งกันจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกันแน่

แต่เอาเถิด เรื่องราวของพระนางก็ผ่านมานานแสนนาน จนหลายคนก็เกือบลืมไปแล้วว่า วันนี้เมื่อ 225 ปีก่อน หรือตรงกับ วันที่ 16 ต.ค.2336 คือวันที่ พระนางถูกสำเร็จโทษ โดยการบั่นพระเศียรด้วยกิโยติน ในพระชนมายุเพียง 38 พระชันษาเท่านั้น

และเป็นการบั่นคอที่เจ็บปวดที่สุด คือ การถูกจับให้หงายตัวขึ้นมองมีดที่ร่วงลงมาบั่นพระศอตนเอง!!!

มาถึงตรงนี้ หากใครอยากรู้ว่า เหตุใด บุคคลในระดับสูงถึงเป็นเจ้าชีวิตผู้คนอีกมากมาย ถึงต้องมีชะตากรรมลงท้ายเช่นนี้ ก็ลองมาอ่านเรื่องราวพระประวัติของพระนางกันดู

โดยเป็นการรวบรวมจากหลายแหล่ง ซึ่งต้องละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า ทั้งหมดนี้อาจมีบางเรื่องจริง และบางเรื่องไม่จริง ซึ่งต้องใช้วิจารณญานในการวิเคราะห์กันไป

พระนาง Marie Antoinette (ชื่อในภาษาฝรั่งเศส) มีพระนามประสูติว่า Maria Antonia Josepha Johanna ประสูติเมื่อวันที่ 2 พ.ย. พ.ศ.2298 (ค.ศ. 1755)

พระนางเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี (ราชวงศ์ลอแรน) กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา แห่งฮังการีและโบฮีเมีย อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย (ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) โดยสรุปคือ พระนางเป็นชาวออสเตรีย

เป็นพระธิดาองค์ที่ 14 ในจำนวน 16 พระองค์ของพระบิดาและพระมารดา และเมื่อพระนางมีพระชนมายุได้ 14 ชันษา พระนางได้ถูกสู่ขอให้ไปอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในเวลาต่อมา เนื่องจากแต่เดิมฝรั่งเศสและออสเตรียเป็นปฏิปักษ์กัน การแต่งงานนี้จึงมีขึ้นหมายจะสานสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

แต่ปัญหาก็เริ่มตั้งแต่นั้นด้วยซ้ำ เพราะฝ่ายฝรั่งเศสที่เคร่งศาสนา ทำการคัดค้านการอภิเษกสมรสครั้งนี้ และมีการเรียกพระนางว่า “ผู้หญิงออสเตรีย” ซึ่งชัดเจนว่าเป็นคำสบประมาท

หากเจ้าหญิงคนสวยมีดีกว่าที่ชาวฝรั่งเศสคิด เพราะมีเรื่องเล่ากันว่า วันเดินทางไปถึงฝรั่งเศส มีการจัดขบวนต้อนรับเจ้าสาว ซึ่ง “คาร์ดินัล เดอ โรออง”เป็นหัวหน้าคณะกล่าวต้อนรับ

หากโรอังได้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นภาษาทางการของออสเตรีย แต่เจ้าหญิงทรงตรัสตอบว่า “ใช้ภาษาฝรั่งเศสกับเราก็ได้ เพราะเราพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดีเท่าพวกท่าน”

ว่ากันว่า นั่นเป็นเหมือนความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกัน ระหว่างเจ้าหญิงกับประชาชนชาวฝรั่งเศสกันเลยทีเดียว

ที่สุด วันที่ 16 พ.ค. 2313 (ค.ศ. 1770) พระนางได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซาย

แต่โลกไม่ได้สวยงามอย่างที่ฝัน เพราะชีวิตของพระนางหลังจากนั้น ก็มิได้ราบรื่น เนื่องจากความแตกต่างระหว่างธรรมเนียมออสเตรียกับฝรั่งเศส

และยังเรื่องราววุ่นวายของผู้คนในพระราชวังที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า ไม่มีความจริงใจ ไหนจะการต้องอดทนต่อการปรับตัวเข้ากับพระราชพิธี และขนบประเพณีแบบฝรั่งเศสมากมาย

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16

ที่สำคัญ ว่ากันว่า แม้แต่พระสวามีอย่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เอง ก็มิได้สนใจไยดีพระนางอย่างที่สามีควรปฏิบัติต่อภรรยา พระองค์มักหนีไปออกป่าล่าสัตว์ ตามประสาชาย กว่าที่จะเริ่มมีสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาอย่างแท้จริง ก็ย่างเข้าในปีที่ 3 หลังการอภิเษกสมรส

ที่สุด เจ้าหญิงน้อย ในวัยเพียงยังไม่ก้าวถึงเลขสองจึงไม่แปลกที่พระนาง จะใช้ชีวิตอย่างอิสระ และสนุกไปวันๆ จัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือย อย่างมิได้รับรู้เหตุบ้านการเมืองเลยแม้แต่น้อยว่า ฝรั่งเศสนั้นวิกฤติหนักถึงขั้นราษฎรรอดตายกันไปจำนวนมากเป็นเวลานานแล้ว

กระทั่งวันที่เริ่มต้นของจุดเปลี่ยน ก็เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2317 (ค.ศ. 1774) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคต ซึ่งหมายความว่า พระนางมารี อองตัวเน็ตต์ ได้ทรงขึ้นเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

ว่ากันว่า แม้จะขึ้นเป็นราชินีแล้ว แต่พฤติกรรมของพระนางก็ยังเหมือนเดิม โดยตั้งแต่ปี 2320 (ค.ศ. 1777) เป็นต้นมา กระแสต่อต้านพระนางเริ่มแพร่สะพัด หลังจากทรงคบหากับพระสหายสนิทจำนวนหนึ่งที่ชวนการจัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือย ใช้ชีวิตอย่างสำราญ มีการพนันที่เดิมพันเงินจำนวนมหาศาล

ระหว่างนั้น ช่วงวันที่ 19 ธ.ค. 2321 (ค.ศ. 1778) มารี อ็องตัวแน็ตได้มีประสูติกาลพระธิดาองค์แรก ที่มีพระนามว่า มารี-เตแรสแห่งฝรั่งเศส (ชาตะ พ.ศ. 2321 - มรณะ พ.ศ. 2394) หรือมีชื่อเล่นว่า “มาดามรัวยาล” และเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ก็ถึงคราวให้กำเนิดเจ้าชายหลุยส์-โจเซฟ มกุฎราชกุมาร แต่ประสูติกาลเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลดีแก่พระนางมารี อ็องตัวแน็ต เนื่องจากมีผู้กล่าวหาว่าโอรสธิดานั้นไม่ได้มีเชื้อสายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางได้หันกลับมาใช้ชีวิตที่สนุกสนานเช่นเดิมอย่างรวดเร็ว และได้เฝ้าดูการก่อสร้างหมู่บ้านชนบทที่พระราชวังแวร์ซาย ให้เป็นฟาร์มขนาดเล็กที่พระนางเชื่อว่าทำให้ได้ค้นพบชีวิตชาวนาอันผาสุก ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มี.ค. พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) พระนางได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์ที่สอง มีพระนามว่าเจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล ดำรงตำแหน่งดยุกแห่งนอร์มงดี

ขณะที่ข้อมูลบางส่วนระบุถ้าในทางการเมืองแล้ว พระนางยังมีการแต่งตั้ง โยกย้าย ปลดขุนนางตามอำเภอใจเป็นว่าเล่น หากแต่ขอมูลบางแหล่งกลับบอกว่า บทบาททางการเมืองของพระนางค่อนข้างจำกัดมาก และแทบไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ เองเลย

หนึ่งในเรื่องอื้อฉาวคือ คดีสร้อยพระศอ ที่ในเดือนก.ค. 2328 (ค.ศ. 1785) มีช่างเพชรคนหนึ่งได้เรียกร้องเงินจำนวน 2,000,000 livres (ตีเป็นประมาณ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2015) จากองค์ราชินี เป็นค่าสร้อยคอเพชร ที่พระคาร์ดินัล เดอ โรออง เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำขึ้นในนามของราชินี มารี อองตัวเน็ตต์ ทว่าพระนางมิได้ทรงรู้เรื่องมาก่อน และพระนางก็ปฏิเสธไม่ยอมซื้อมันเสียด้วย ทำให้ชื่อเสียงของพระนางเสื่อมเสียเป็นอันมาก

อย่างไรก็ดี ที่สุดมีการไต่สวนจะพบผู้ทำผิดครั้งนี้ ซึ่งพระนางเป็นผู้บริสุทธิ์และผู้เสียหายในคดีนี้ แต่ทว่าข่าวคราวที่ออกไปถึงประชาชน กลับเป็นข้อมูลคนละด้าน ประชาชนไม่เชื่อและมองว่าราชินี มารี อองตัวเน็ตต์ มีความผิดจริง

จนกระทั่งการปฏิวัติฝรั่งเศสปะทุขึ้น ซึ่งไม่ว่าพระนางจะพยายามตอบแทนให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้ โดยเงินส่วนพระองค์ และยังคอยรับอุปการะเด็กกำพร้ามากมาย แต่ก็มิอาจสู้กระแสความเกลียดชัง ที่พวกปฏิวัติสรา้งชุดข้อมูลมากรอกหูประชาชนทุกวี่ทุกวันได้

ที่สุด เมื่อประชาชนลุกฮือเข้าวัง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนาง ถูกคณะปฏิวัติจับตัวได้ในที่สุด และเริ่มมีการสำเร็จโทษตามลำดับเวลาดังนี้

26 ธ.ค. สภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้ลงมติให้ประหาร พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยถูกประหารเมื่อวันที่ 21 ม.ค.2336 (ค.ศ.1793)

27 มี.ค. มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ได้เรียกร้องกับสภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ให้จัดการกับราชินีอีกพระองค์ด้วย

13 ก.ค. องค์มกุฎราชกุมาร (พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 ในอนาคตแต่ก็เป็นเพียงแค่ในนาม)ก็ถูกลักพาตัวไปจากพระมารดาและถูกมอบให้อยู่ในความดูแลของอองตวน ซิมง ช่างทำรองเท้า

2 ส.ค. พระนางมารี อ็องตัวแน็ต ถูกพรากจากเหล่าเจ้าหญิงและนำตัวไปยังทัณฑสถานกรุงปารีส การไต่สวนพระนางจะเริ่มต้นในวันรุ่งขึ้น

ข้อมูลบางแหล่งระบุว่า พระนางพยายามขอร้องไม่ให้พรากบุตรชายของพระนาง จนสาเหตุที่ทำให้พระนางยอมปล่อยมือก็คือ พวกปฏิวัติขู่ว่าจะฆ่าพระธิดาองค์โตของพระนางอีกคนถ้าไม่ยอม

แน่นอนในระหว่างการไต่สวน มีการบันทึกว่าเป็นข้อหากบฏ แต่แน่นอนพระนางให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ราวกับจะทรงรู้ว่า ระบบการตัดสินของคณะลูกขุนปฏิวัติขณะนั้น ไม่มีแม้แต่การให้เบิกที่ปรึกษาด้านกฎหมาย บ้างแหล่งระบุว่า มี แต่ทนายของพระนางเป็นพวกอ่อนด้อยประสบการณ์ทำอะไรไม่เป็น

มีเรื่องหนึ่งที่บางแหล่วได้บันทึกเอาไว้ว่า ในวาระสุดท้ายที่พระนางกำลังเดินขึ้นสู่แท่นประหาร พระนางเผลอสะดุดเท้าของเพชฌฆาต และพระนางได้กล่าวบางอย่าง ที่่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า

“Pardon me, sir, I meant not to do it”,” (ขอโทษด้วย ฉันไม่ได้ตั้งใจ) ซึ่งว่ากันว่านั่นคือคำพูดสุดท้ายของพระนาง

และเมื่อพระนางเสด็จขึ้นแท่นประหาร พระนางยังทรงปฏิเสธที่จะสารภาพบาปกับบาทหลวงที่ทางคณะปฏิวัติจัดหาให้ และทรงน้อมรับวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างมิเกรงกลัว

ข้อมูลบางแหล่งระบุว่า เขาจับพระนางมัดกับกระดาน เสร็จแล้วกระดกให้นอนหงายขึ้นมองมีดกิโยตินตัดพระศอพระนางเอง อันเป็นท่าที่เจ็บปวดทารุณมากที่สุด

แถมยังเล่ากันว่าเมื่อตัดพระเศียรแล้วทุกคนมองเห็นว่า พระเศียรนั้นมีการขยับพระเนตร น้ำพระเนตรไหล) สิ้นพระชนม์เมื่อเวลาสิบสองนาฬิกาสิบห้านาที วันที่ 16 ต.ค.2336 ในพระชนมายุเพียง 38 พระชันษาเท่านั้น

และยังว่ากันว่าทั้งศีรษะและพระศพของพระนางถูกนำไปทิ้งไว้ในป่าอย่างน่าสังเวชทั้งอย่างนั้น!!

หากแต่ยังมีชาวบ้านมาพบและได้จัดทำหลุมฝังพระศพให้ ที่ ลา มาเดอเลน บนถนนอองจู-ซังต์-ตอนอเร ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2358 (ค.ศ. 1815) พระศพของพระนางถูกขุดขึ้นมา และถูกย้ายไปฝังไว้ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี เมื่อวันที่ 21 มกราคม โดยอพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องการฟื้นฟูราชวงศ์ จึงได้ค้นหาหลุมศพของพระนางและพระสวามีจนพบและย้ายไปฝังในวิหารเซนต์เดนิสนั่นเอง

อนึ่งสำหรับ วรรคทองที่ว่า ให้กินเค้กแทนขนมปังนั้น ภายหลังมีข้อมูลแย้งว่า ไม่เป็นความจริง พระนางมิได้กล่าวเช่นนั้น หากแต่มีการเล่ากันปากต่อปากจนเพี้ยนมาจนถึงบัดนี้

 

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะครับ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ แล้วพบกันกระทู้หน้าครับ

โพสท์โดย: stampchan
อ้างอิงจาก: https://www.komchadluek.net/today-in-history/348155
และวิกีพีเดีย
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
stampchan's profile


โพสท์โดย: stampchan
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: sakura1569, thecrow
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เกร็ดความรู้นิสัยคุณ 10 ข้อที่ทำร้ายสมองหมูเด้งอาจต้องโบกมือลาเขาเขียว แฟนคลับใจหาย แต่เข้าใจเหตุผลครูเบญ ก้าวต่อไปบนเส้นทางชีวิต หลังเผชิญมรสุมผลสอบภาค ก. และ ข.ฉายา 'ญาญ่า 100 ชุด' สมฐานะนางเอกละครหนึ่งในร้อย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
โจรตีเนียนยืมเงินเเม่ค้าเติมน้ำมัน บอกเป็นอาจารย์ มาซื้อของแถวนี้บ่อย ๆ แถมยังหยิบเงินแม่ค้าไปนับเองหน้าตาเฉยแดดเผาเด็กน้อยจนกลายเป็นภาพสยองขวัญ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
วัวทองสัมฤทธิ์​ นั่งรักษาทะเลสาบคุนหมิง​มาเกือบ 300 ปี‼️เกร็ดความรู้นิสัยคุณ 10 ข้อที่ทำร้ายสมองตำนาน "ชายรักชาย 300 นาย" แห่งทหารกรีกโบราณmeaningfully: อย่างมีความหมาย
ตั้งกระทู้ใหม่