ภาพประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและชวนหดหู่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้
นับตั้งแต่ที่โลกเรามีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางรูปถ่าย เราก็มักจะได้เห็นเหตุการณืสำคัญ ๆ และเรื่องราวแปลก ๆ มากมายที่บางเรื่องเราก็ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้น หรือบางครั้งสิ่งที่รูปถ่ายบันทึกเอาไว้ก็เป็นเรื่องราวชวนหดหู่แบบไม่น่าเชื่อจนบางทีก็แอบสงสารเห็นใจและชวนอึ้งไปได้เหมือนกัน และนี่คือ 5 เรื่องราวของภาพถ่ายประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและชวนหดหู่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ จะมีภาพอะไรบ้างนั้นมาดูไปพร้อมกันเลย
1. แหวนแต่งงานหลายพันวงจากเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี 1945
เริ่มต้นด้วยเรื่องราวชวนหดหู่จากสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เราก็ทราบกันดีว่าฝ่ายอักษะได้จับชาวยิวและคนเป็นเชลยจำนวนมาก ซึ่งส่วนมากจะเสียชีวิตเพราะถูกทรมานแบบต่าง ๆ หรือถูกรมแก๊สผิษจนเสียชีวิตที่เราไม่ขอพูดถึงมาก และหนึ่งในความน่าหดหู่ที่มีการบันทึกก็คือภาพนี้ เมื่อกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรปลดปล่อยค่ายกักกันในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
พวกเขาได้ค้นพบความโหดร้ายที่ไม่อาจเข้าใจได้ของมนุษย์นักโทษที่ผอมโซ เตาเผาศพขนาดใหญ่ และสภาพความเป็นอยู่ที่ไร้มนุษยธรรม มาพร้อมกับเหยื่อของเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ถูกฆ่าตายในช่วงหลายเดือนและหลายปีก่อนที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมาถึง และสิ่งที่เราเห็นในรูปคือแหวนแต่งงานนับหมื่นวงถูกเทรวมกัน ลองคิดดูว่าต้องมีคู่สามีภรรยาที่เสียชีวิตไปกี่คู่จากค่ายกักกันค่ายนี้ค่ายเดียว
...................
2.ซากกองกะโหลกกระทิง ปี 1892
นอกจากความเลวร้ายที่มนุษย์ทำกับมนุษย์ด้วยกันแล้วยังมีความเลวร้ายที่มนุษย์ทำกับสัตว์ด้วย โโยรูปถ่ายนี้ถ่ายที่โรงงาน Michigan Carbon Works ในเมือง Rougeville ซึ่งเป็นโรงงานที่นำกะโหลกควายป่าจำนวนหนึ่งมาแปรรูป และนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระดูกไปทำเป็นกาว ปุ๋ย จำนวนกะโหลกควายป่าเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความชุกของควายป่าในสหรัฐอเมริกา และสาเหตุที่จำนวนควายป่าลดลงอย่างมาก ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ควายป่ามีอยู่มากถึง 30 ล้านถึง 50 ล้านตัว แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนควายป่าก็เพิ่มขึ้นเป็นพันตัว
และในปี 1902 ควายป่าเหลืออยู่ไม่ถึง 100 ตัว ความพยายามในการอนุรักษ์ทำให้ประชากรควายป่าฟื้นตัวขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ก็มีข่าวดีว่าล่าสุดสำนักงานประมงและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า ควายป่าไม่ได้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อีกต่อไป เนื่องมาจากความพยายามในการอนุรักษ์และฝูงควายป่าเชิงพาณิชย์จำนวนประมาณ 500,000 ตัว แต่เห็นแบบนี้ก็แอบหดหู่อยู่ดี
.................
3. เหลือแค่ซากติดกำแพงในฮิโรชิมา ปี 1945
กลับมาที่สงครามอีกครั้งที่คราวนี้จะเป็นเรื่องราวของภาพความรุนแรงของระเบิดปรมาณูตกลงมา ที่เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 70,000 คนในทันที (ย้ำว่าทันที) โดยระเบิดดังกล่าวได้ทำลายอาคารบ้านเรือนและทิ้งร่องรอยความเสียหายถาวรจากพลังของระเบิดไว้ให้กับอาคารต่าง ๆ และที่ติดตรงกำแพงที่เหมือนเงาบนขั้นบันไดของธนาคารซูมิโตโมเป็นเครื่องยืนยันถึงเหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
โดนเงานี้เกิดจากการถูกเผาไหมอย่างรุนแรงรวดเร็ว จนซากของคนที่นั่งตรงนี้กลายเป็นฝุยฝงติดตรงบันไดตรงนี้ โดยทางศาสตราจารย์ทางด้านรังสีวิทยา ดร.ไมเคิล ฮาร์ตชอร์น บอกกับ Live Scienceใ นปี 2023 ว่า เงาส่วนใหญ่จะถูกทำลายโดยคลื่นระเบิดและความร้อนที่ตามมา และคนที่เห็นเป็นเงาตามในรูปเขาอาจจะเสียชีวิตทันทีแบบไม่รู้สึกอะไรเลย แค่คิดก็หดหู่แล้ว
....................
4. Róża Maria Goździewska พยาบาลเด็กในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1944
พูดถึงเรื่องแย่ ๆ จากสงครามมาแล้วคราวนี้มาดูเรื่องดี ๆ ที่มีอยู่น้อยนิดกันบ้างอย่างเรื่องนี้ที่เป็นรูปถ่ายหนูน้อย Róża Maria Goździewska ซึ่งเธอเป็นพยาบาลเด็กในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ถ่ายขึ้นในปี 1944 ข้อมูลบอกว่าโรซ่า เป็นคนดื้อรั้นมาก เธอต้องการช่วยงานที่โรงพยาบาลจริง ๆ และเธอก็ช่วยได้ดีจริง ๆ เธอจะดูคนป่วยทั้งการให้น้ำแก่ผู้บาดเจ็บ ไล่แมลงวันซึ่งเป็นโรคระบาดร้ายแรง และทำให้พวกคนป่วยยิ้มได้
โดยตัวของเด็กสาวนั้นเสียพ่อแม่จากน้ำมือของ เกสตาโปโรซา มาเรีย กอซซิวสกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เด็กน้อยก็ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตายังยิ้มและให้กำลังใจทุกคน โดยมีรูปถ่ายนี้เป็นเครื่องยืนยัน ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด เธอทำงานเป็นพยาบาลที่วอร์ซอในปี 1944 จวบจนสงครามยุติ
...................
5.ถ่ายภาพกับศพ 1901
ปิดท้ายกับการถ่ายรูปกับศพซึ่งเป็นที่นิยมในอดีต โดยภาพนี้จะเป็นภาพแม่และลูกที่คนแม่ชื่อว่า ทิเลีย จานุสเซวสกา และ อเล็กซานเดอร์ ลูกชายของเธอที่เพิ่งเสียชีวิตไป ภาพนี้ยังแสดงถึงประเพณีในยุควิกตอเรีย ที่มักจะถ่ายภาพหลังการเสียชีวิตเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เสียชีวิตและแสดงความเศร้าโศก การถ่ายภาพดังกล่าวเป็นรูปแบบหนึ่งของแนวคิด memento mori หรือ “จงจำไว้ว่าคุณต้องตาย”
ซึ่งมีมาตลอดประวัติศาสตร์ ในช่วงยุคกลางความทรงจำเกี่ยวกับความตายของมนุษย์ถูกนำมาผสมผสานกับภาพวาด และด้วยการพัฒนารวมถึงการเข้าถึงภาพถ่ายที่มากขึ้น ทำให้รูปแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำไปใช้ในกระบวนการโศกเศร้า ภาพถ่ายไม่เพียงแต่เป็นเครื่องเตือนใจถึงความตายเท่านั้น แต่ยังช่วยรักษาความสัมพันธ์กับคนที่รักอีกด้วย
.....................
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 ภาพถ่ายที่ชวนหดหู่ต่าง ๆ ที่เป็นของจริงภาพจริงเรื่องราวจริง ๆ หวังว่ารูปเหล่านี้จะช่วยเตือนสติเราว่าสงครามนั้นน่าหดหู่ขนาดไหน และแม้ท่ามกลางความหดหู่ก็ยังมีดอกไม้เล็ก ๆ เบ่งบาน และการจดจำคนที่จากไปแล้วผ่านทางรูปถ่าย และถ้ามีโอกาสเราจะเอาเรื่องราวเหล่านี้มาพูดถึงอีก ติดตามเอาไว้ได้เลย