จริงหรือไม่? “ดวงจันทร์” แตกออกจากโลก
จริงหรือไม่? “ดวงจันทร์” แตกออกจากโลก
จากหนังสือ 100 คำถาม ที่ถูกถามบ่อยๆ แต่มักไม่มีคำตอบ (ฉบับความรู้วิทยาศาสตร์) เขียนโดย บก. ดวงธิดา ราเมศวร์ กล่าวว่า มีทฤษฎีอยู่หลายทฤษฎีด้วยกันเกี่ยวกับการถือกำเนิดของดวงจันทร์ เคยมีความเชื่อกันว่า ดวงจันทร์แตกออกมาจากโลก โดยเดิมทีส่วนที่เป็นมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นก็เป็นแผ่นทวีปเช่นกัน ต่อมาเมื่อโลกถูกอุกกาบาต ส่วนนั้นก็แตกออกมาแล้วกลายเป็นดวงจันทร์หมุนอยู่รอบโลกเพราะแรงดึงดูดของโลกไม่ยอมปล่อยดวงจันทร์ให้หลุดลอยไป
แต่ทฤษฎีนี้ไม่ค่อยจะมีใครเชื่อกันแล้ว ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่คล้ายกัน คือเชื่อว่าดวงจันทร์แตกตัวออกมาจากโลกเช่นกัน แต่แตกออกมาในช่วงที่โลกยังไม่แข็งตัว และยังเป็นเพียงกลุ่มก๊าซร้อนที่กำลังเริ่มรวมตัวกันอัดแน่นเพื่อก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ และต่อมาก็เกิดอุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งเข้าชนจนส่วนหนึ่งแยกตัวออกมาแล้วเกิดกลายเป็นดาวอีกดวง คือดวงจันทร์ขึ้น ซึ่งทฤษฎีนี้มีความเป็นไปได้มากกว่า และเป็นที่เชื่อถือกันอย่างมากในปัจจุบัน
ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการเชื่อถือมากไม่แพ้กัน กล่าวว่าดวงจันทร์ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกันกับโลก โดยเมื่อเกิดปรากฏการณ์ บิกแบง ขึ้นนั้น กลุ่มฝุ่นและก๊าซที่เกิดขึ้นจากการระเบิดครั้งนั้นสองกลุ่มลอยตัวอยู่ใกล้กัน จากนั้นต่างกลุ่มต่างก็ค่อยๆ ก่อตัวกลายเป็นดาวเคราะห์ขึ้นมาพร้อมๆกัน กลุ่มที่ใหญ่กว่าที่กลายเป็นโลก ส่วนอีกกลุ่มที่เล็กกว่าก็กลายเป็นดวงจันทร์ ดาวทั้งสองดวงจึงถือว่าเป็นดาวคู่แฝดกันโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วยกัน จากทฤษฎีนี้ ดวงจันทร์ จึงไม่นับเป็นบริวารของโลกอย่างที่เชื่อกัน แต่เป็นดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่เป็นดาวคู่แฝดกับโลก นอกจากนี้ดาวทั้งสองดวงยังโคจรในลักษณะต่างฝ่ายต่างก็โคจรรอบๆ ของกันและกันไปเรื่อยๆ อีกด้วย แต่เนื่องจากขนาดของโลกที่ใหญ่กว่าดวงจันทร์ จึงเห็นว่าดวงจันทร์นั้นเป็นฝ่ายโคจรรอบโลก สิ่งที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็คือขนาดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ที่มีความแตกต่างกันไม่มากนัก โลกมีขนาดที่ใหญ่กว่าดวงจันทร์เพียง 4 เท่าเท่านั้น ดวงจันทร์จึงไม่น่าที่จะเป็นดาวบริวารของโลก หากเทียบกับขนาดดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในระบบสุริยจักรวาลด้วยกัน ที่มีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างดาวเคราะห์กับดวงจันทร์บริวาร ด้วยเหตุนี้ดวงจันทร์จึงเหมาะจะเป็นดาวเคราะห์อีกดวงหรือเป็นดาวคู่แฝดของโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วยกันมากกว่า ????
อ้างอิงจาก: หนังสือ 100 คำถาม ที่ถูกถามบ่อยๆ แต่มักไม่มีคำตอบ (ฉบับความรู้วิทยาศาสตร์) เขียนโดย บก. ดวงธิดา ราเมศวร์