วิธีคำนวณค่าไฟ เข้าใจง่ายๆ คำนวณได้ด้วยตนเอง ดูจากค่าต่าง ๆ อะไรบ้าง
คำนวณค่าไฟ มีวิธีการคำนวณอย่างไร ดูจากปัจจัยอะไรบ้าง คำนวณค่าไฟด้วยตนเอง รู้วิธีการเข้าใจได้ง่าย ๆ
ปัจจุบันค่าไฟเรียกได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ของทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน สำนักงาน บริษัท และห้างร้านต่าง ๆ ที่มีอัตราการใช้งานมากขึ้น ส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ หากเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนยิ่งมีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นแทบจะทุกครัวเรือน ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าสูงมากขึ้นไปด้วย ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณค่าไฟ เพื่อให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง รู้จักวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมไปถึงองค์ประกอบสำคัญสำหรับคำนวณค่าไฟ มาศึกษาวิธีการคำนวณค่าไฟไปพร้อมกันเลย
การคำนวณค่าไฟ มีวิธีคำนวณค่าไฟฟ้าที่สำคัญต่าง ๆ ที่ควรทราบ เพื่อให้เข้าใจวิธีการคำนวณมากขึ้น และวางแผนค่าใช้จ่ายของค่าไฟฟ้าได้ด้วย โดยขั้นตอนการคำนวณค่าไฟมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ทำความเข้าใจค่าไฟต่าง ๆ ที่ต้องใช้คำนวณ มีค่าใช้จ่ายสำคัญใดบ้างที่ใช้คำนวณค่าไฟ
เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าไฟต่าง ๆ ว่าองค์ประกอบของค่าไฟ มีค่าใช้จ่ายที่นำมาคำนวณค่าไฟฟ้ามีอะไรบ้าง โดยองค์ประกอบของค่าไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายสำคัญสำหรับคำนวณค่าไฟ ดังนี้
- ค่าพลังงานไฟฟ้า
เป็นส่วนของต้นทุน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า วิธีการจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าด้วย ซึ่งค่าพลังงานไฟฟ้าจะมีการประกาศอัตราคงที่เป็นประจำจากหน่วยงานของรัฐ
- ค่าบริการรายเดือน
จัดเป็นค่าใช้จ่ายการให้บริการดำเนินงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริการลูกค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจดหน่วยไฟฟ้า การจัดทำ ส่งบิลค่าไฟฟ้า และการชำระค่าไฟฟ้า
- ค่า Ft
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า Ft จะเป็นค่าเชื้อเพลิงสำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้า หากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าผันแปรไปตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามในช่วงเวลานั้น
- ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยค่าใช้จ่ายไฟฟ้าแต่ละเดือนตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าพร้อมทั้งค่า Ft ก็ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ด้วย เพราะภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เรียกเก็บตามกฎหมาย จึงมีส่วนสำคัญต่อการคำนวณค่าไฟ
2. เริ่มต้นคำนวณค่าไฟโดยเช็กเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ใช้งานเป็นประจำ
ก่อนจะเริ่มคำนวณค่าไฟ ควรสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านก่อนพร้อมทั้งระยะเวลาการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดในแต่ละวันด้วย ดังนั้น อันดับแรกต้องสำรวจดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมีอะไรบ้าง แต่ละชนิดใช้กำลังไฟเท่าใด รวมทั้งประเมินเวลาการใช้งานแต่ละวันให้ตรงตามความเหมาะสม คำนวณวัตต์ค่าไฟ เพื่อที่จะนำมาคำนวณค่าไฟได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด โดยมีตัวอย่างคำนวณค่าไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า
เช่น บ้านของ M มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งาน ได้แก่
หลอดไฟ ขนาด 36 วัตต์ จำนวน 5 หลอด ใช้งานวันละ 5 ชั่วโมง
เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง ใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง
ตู้เย็น ขนาด 150 วัตต์ ใช้งาน 24 ชั่วโมง
ทีวี ขนาด 90 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง ใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง
3. คำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าตามการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
การคำนวณค่าไฟตามหน่วยการใช้งานจากการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและการประเมินการใช้งานในแต่ละวันแล้วนั้น จะได้ปริมาณการใช้งานต่อวัน จึงนำใช้คำนวณค่าไฟตามอัตราหน่วยของการไฟฟ้า โดยมีสูตรคำนวณค่าไฟดังนี้
(กำลังใช้ไฟฟ้า (W) X จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า /1000) X จำนวนชั่วโมงที่ใช้งาน 1 วัน = หน่วยต่อวัน (ยูนิต)
ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟ ดังนี้ บ้านของ M มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งาน ได้แก่
หลอดไฟ (36x5)/1000x5 = 0.9 หน่วยต่อวัน
เครื่องปรับอากาศ (1200x2)/1000x8 = 19.2 หน่วยต่อวัน
ตู้เย็น (150x1)/1000x24 = 3.6 หน่วยต่อวัน
ทีวี (90x2)/1000x3 = 0.54 หน่วยต่อวัน
การคำนวณค่าไฟ สูตรข้างต้น จะเห็นได้ว่า บ้านของ M ใช้ไฟต่อวันทั้งหมดรวม หน่วย 24.24 หน่วย ถ้าคิดเป็น 30 วัน บ้านของ M จะใช้ไฟประมาณ 24.24x 30 วัน = 727.2 หน่วย
4. คำนวณค่าไฟฟ้าตามอัตราของการไฟฟ้า
การคำนวณค่าไฟฟ้าตามอัตราคำนวณค่าไฟ การไฟฟ้านครหลวง หลังจากคำนวณค่าไฟ watt ตามหน่วยการใช้เสร็จสิ้น ก็เข้าสู่การคำนวณค่าไฟตามอัตราคำนวณค่าไฟ กฟน โดยมีอัตราดังนี้
- 150 หน่วยแรก อัตราค่าไฟหน่วยละ 3.2484 บาท
- 250 หน่วยต่อไป อัตราค่าไฟหน่วยละ 4.2218 บาท
- เกินกว่า 400 หน่วยขึ้นไป อัตราค่าไฟหน่วยละ 4.4217 บาท
ดังนั้น ค่าไฟบ้านของ M มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนที่ 727.2 หน่วย วิธีคำนวณค่าไฟเท่ากับ (150X3.2484) + (250X4.2218) + (327.2X4.4217) = 2,989.49 บาท ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. คำนวณค่าไฟรวมทั้งหมดจากค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อคำนวณค่าไฟตามอัตราที่กำหนดแล้ว ยังต้องนำมาคำนวณค่าFt และภาษีมูลค่าเพิ่มไปด้วย ซึ่งการคำนวณค่าไฟจากมิเตอร์ มีวิธีคำนวณตามสูตรคำนวณค่าไฟฟ้า ดังนี้
ค่าไฟฟ้า = [ค่าไฟฟ้าที่คำนวณได้ + (ค่าFt x จำนวนหน่วย)/100] x 1.07
ดังนั้น ค่าไฟฟ้าบ้านของ M ที่ต้องจ่ายทั้งหมด มีวิธีคำนวณค่าไฟฟ้า จากมิเตอร์ คือ [2,989.49 + (39.72 x 727.2)/100] x 1.07 = 3,487.59 บาท
สรุปคำนวณค่าไฟง่าย ๆ รู้วิธีคำนวณก่อนจ่ายค่าไฟ
การคำนวณค่าไฟจะต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดบ้าง มีจำนวนกี่เครื่อง และประเมินการใช้งานแต่ละวัน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการคำนวณค่าไฟ กฟภ อีกทั้งยังต้องทราบถึงขั้นตอนการคำนวณค่าไฟต่าง ๆ เพื่อคำนวณอย่างถูกต้องได้ด้วยตนเอง มากไปกว่านั้นหากรู้วิธีคำนวณค่าไฟออนไลน์ ก็ยังนำมาใช้คาดการณ์ค่าใช้จ่าย และวางแผนการเงินในแต่ละเดือน เพื่อจัดสรรเงินเพียงพอต่อค่าไฟได้